5 ก.ย. 2553

การเปลี่ยนจาก "เกลียด" มาเป็น "หลงรัก" ในวิชานั้นๆ...


“กลางห้วงน้ำ ยังมีความเร้าร้อน
กลางเปลวเพลิง ยังมีความเยือกเย็น
สิ่งที่ไม่มีกลับเห็น สิ่งที่ไม่เห็นกลับมี”


สมัยผมเรียนระดับมัธยมปลายที่จังหวัดนครพนม ที่โรงเรียนได้แบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ มีทั้งหมด 8 ห้องเรียนในแต่ละระดับชั้น ได้แก่ 1.เด็กนักเรียนสายวิทย์-คณิตฯ 2.เด็กนักเรียนสายศิลป์ และ 3.เด็กนักเรียนอาชีวะ  เด็กนักเรียนทั้ง 3 กลุ่มอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน ซึ่งเป็นที่ทราบกันแน่แท้ก็คือ เด็กที่เรียนสายวิทย์ก็อาจจะไม่ชอบเรียนวิชาศิลปะหรือวิชาทางด้านภาษาต่างๆ ส่วนเด็กนักเรียนที่เรียนสายศิลป์หรืออาชีวะก็อาจจะไม่ชอบเรียนวิชาทางด้านคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์..  
     ผมเริ่มชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่สมัยเรียนระดับมัธยมและก็ชอบเล่นกีฬาเซปัก-ตะกร้อมากๆ ปี พ.ศ.2542 ผมได้เป็นตัวแทนเขตของตะกร้อระดับมัธยมศึกษา จ.นครพนม ผมเห็นเรื่องราวต่างๆ ที่อาจารย์หลายๆ ท่านได้ถ่ายทอดให้ตลอดมา ผมมี 2 กรณี ของคุณครู 2 ท่าน มายกเป็นกรณีตัวอย่าง ในการส่งเสริมให้ผู้เรียนอยากเรียนกับครู..
คนแรกเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิชาที่ "เด็กสายศิลป์" ทั้งหลายเกลียดชังที่สุด
พอเข้าห้องมาครูก็ถามว่า "ใครไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์บ้าง" ทั้งห้องครับ! ครูหัวเราะด้วยความเคยชิน
"ครูมีหน้าที่ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ส่วนเธอมีหน้าที่ทำความเข้าใจกับเรื่องง่ายๆ ที่ครูสอน"
จากนั้นก็เริ่มการเปรียบเทียบข้อต่างระหว่างเด็กที่เรียนสายวิทย์กับเด็กที่เรียนสายศิลป์
"อย่าไปสนใจพวกเด็กๆ ที่เขาเรียนสายวิทย์เลยนะ เขาอาจทำข้อสอบเสร็จทั้งที่เธอยังไม่เขียนอะไรเลย ครูไม่ต้องการให้เธอเก่งขนาดนั้น แต่ต้องการให้สามารถคุยกับพวกเขาพอรู้เรื่องบ้าง แต่ถ้าเขาคุยอะไรลึกมากๆ เราก็เดินหนีอย่าไปคุยด้วย" นี่คือจิตวิทยาที่แสดงให้เห็นว่าครูอยู่พวกเดียวกับนักเรียน แค่นี้วิชาคณิตศาสตร์ก็น่าเรียนขึ้นแล้วสำหรับเด็กสายศิลป์ เพราะแสดงว่าครูเข้าใจพื้นฐานของนักเรียนดี..


ส่วนอีกกรณีนะครับเป็นครูสอนวิชาพลศึกษาชื่อ ครูอภิชาติ สอนเซปัก-ตะกร้อ วันแรกของการเรียนครูอภิชาติถามนักเรียนแบบเดียวกับครูสอนคณิตศาสตร์ "ใครไม่ชอบเล่นตะกร้อบ้าง" ทั้งห้องครับ! แทนที่ครูอภิชาติจะโกรธเขากลับหัวเราะ "ครูไม่มีหน้าที่ถามว่าทำไมเธอถึงไม่ชอบเล่นตะกร้อ แต่ครูมีหน้าที่ทำให้เธอชอบตะกร้อ และเล่นตะกร้ออย่างมีความสุข" แค่นี้เด็กก็เทใจไปครึ่งหนึ่งแล้ว ครูอภิชาตเริ่มบอกถึงเป้าหมายของการสอนว่าเขาไม่สนใจว่าเด็กจะเล่นตะกร้อด้วยวิธีการไหน เดาะตะกร้อได้กี่ลูก ไม่สนใจว่าใครจะเล่นผิดกติกากี่ครั้ง แต่เขาต้องการให้ทุกคนเล่นตะกร้อด้วยความสนุก
"นักตะกร้อทีมระดับเขตเขายังขึ้นตบลูกตะกร้อติดตาข่าย บางคนยังเสริฟไม่ข้ามตาข่ายด้วยซ้ำ นักกีฬาที่เข้าแข่งขันรายการต่างๆ ยังเล่นผิดกติกากันเยอะแยะ เราไม่ได้เล่นเพื่อติดทีมชาติเพื่อไปแข่งขันตะกร้อระดับโลก ขอเพียงสนุกเท่านั้นก็เป็นพอ" แค่ฟังเด็กๆ ที่เคยเกลียดการเล่นตะกร้อก็ชักอยากเล่นตะกร้อกับครูผู้สอนคนนี้กันแล้ว
"วันแรกที่เล่น เธออาจจะเล่นลูกตะกร้อ แล้วบางครั้งอาจจะเจ็บตัวบ้างกับการเล่น ทุกคนที่เรียนรู้อะไรกับเรื่องราวใหม่ๆ จะรู้สึกทำอะไรก็ไม่ค่อยถูก ต้องได้รับการฝึกฝนทักษะเรื่อยๆ แต่ถ้าเรียนจบแล้ว พวกเธอสามารถเล่นตะกร้อได้ดีกว่าเดิม มีทักษะการเล่นเพิ่มมากขึ้น ก็แสดงว่าเธอเล่นดีขึ้น มีพัฒนาการขึ้น"
ยังไม่ทันเล่นตะกร้อเลย นักเรียนเกือบทั้งห้องเปลี่ยนจากเกลียดมาเป็นหลงรักกีฬาชนิดนี้แล้ว เพราะพลศึกษากลายเป็นวิชาที่สนุกขึ้นมาทันที ทั้งที่รูปแบบของเกมยังเหมือนเดิม..

เพียงแต่ทัศนคติของครูเน้นให้เด็กรู้สึกสนุกที่จะเรียน จุดเริ่มต้นที่ความสนุกจะทำให้เด็กกระหายที่จะเล่นและเรียนรู้ เมื่อเด็กพร้อมที่จะเรียนรู้แล้วสิ่งที่จะตามมาสำหรับการเล่นและเรียนรู้ของเด็กนักเรียนก็คือ "ความเข้าใจ"

2 ความคิดเห็น:

  1. นาย ชวน บัวชื่น18 กันยายน, 2553 12:09

    สวัสดีครับครูป้อม

    แวะมาเยี่ยมชมครับผม

    เป็นเทคนิควิธีการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้คิดนอกกรอบได้อีกวิธีหนึ่ง ที่น่สนใจมาก นักเรียนได้แสดงออกอย่างมีความสุข มีจิตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ ขออนุญาตนำเทคนิควิธีการสอนแบบนี้ไปใช้กับนักเรียนที่รับผิดชอบด้วยเน้อ...

    ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
  2. สวัสดีฉันชื่อ RYAN CEANIC ผู้ให้กู้เงินกู้ที่ให้โอกาสเงินกู้ตลอดชีวิตคุณต้องการเงินกู้เร่งด่วนเพื่อล้างหนี้ของคุณหรือคุณต้องการเงินกู้เพื่อปรับปรุงธุรกิจของคุณหรือไม่? เรากำลังช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางการเงินที่ถูกปฏิเสธจากธนาคารและหน่วยงานทางการเงินอื่น ๆ ? ไม่ต้องค้นหาอีกต่อไปเพราะเราอยู่ที่นี่เพื่อทำให้ปัญหาทางการเงินทั้งหมดของคุณกลายเป็นอดีตไปแล้ว เราให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเงินในอัตราดอกเบี้ย 1% เราให้ความช่วยเหลือที่เชื่อถือได้และเป็นประโยชน์ สำหรับการสมัครและข้อมูลเพิ่มเติมโปรดส่งข้อความตอบกลับมาที่ ... E-mail address: ryanceanic@outlook.com
    Whatsapps: +441545360007

    ตอบลบ