วันที่ 1 กันยายน 2553
ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
พิธีกรถาม: ความสำเร็จของงานที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาอยู่ในขั้นฟูมฟักออกมาเป็นตัวหรือตัวเต็มวัยแล้ว?
ครูใหญ่ตอบ: แปดปีที่เราทำมาตอนนี้ผมเชื่อว่าใครก็ตามที่ไปสัมผัสเด็กๆ หรือเห็นโรงเรียนเรานะครับ จะรู้สึกหลงเสน่ห์ อันนี้เป็นเรื่องจริง และคำที่โปรยในหนังสือทั้งหมดนั้นทำจริงๆ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าเราปฏิเสธสิ่งที่มีอยู่ เราตั้งวัตถุประสงค์ที่สำคัญอันเดียวที่เราพยายามทำคือเป็นแบบอย่างในการจัดการศึกษาและถามว่าวันนี้เราประสบผลสำเร็จหรือยัง ผมไม่กล้าพูดได้เต็มปาก เพราะเรามีความหวังใหญ่กว่านั้น เราต้องการที่จะทำตัวอย่างการศึกษาเพื่อจะให้โรงเรียนทั่วประเทศทั่วหรือโลกมองเห็นอีกรูปแบบหนึ่งที่จะพัฒนาคนในศตวรรษในยุคใหม่ รูปแบบการจัดการศึกษาในรูปแบบของโรงเรียนมันอาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญทั้งหมดแต่มันคือสิ่งหลักเพราะมันมีจำนวนเยอะที่สุด แต่ถ้าเรายังใช้วิธีการที่ยังทำอยู่เราก็ไม่มั่นใจนักเพราะเราเห็นผลมาแล้ว เราน่าจะลองวิธีใหม่ แล้วก็คำพวกนั้นก็จะเป็นตัวกวนระบบให้กระอักกระกวนให้เสียสมดุลเพื่อจะมองหาทิศทางใหม่ แล้ววิธีการที่เราทำมาแปดปีก็ลงตัวและชัดเจน..(มีอะไรจะถามต่ออีกไหมครับ..ผมจะได้ต่อเลย)
พิธีกรถาม: ผมอยากทราบว่าตอนนี้มีนักเรียนจบไปกี่รุ่นแล้ว ที่จบไปๆ ต่อยอดทางการศึกษาได้ต่อจริงไหม? ถ้าไม่มีตัวชี้วัดที่ว่ามา
ครูใหญ่ตอบ: ไม่เชิงไม่มีตัวชี้วัด ในการทำการศึกษาถ้าเราทำแล้วโรงเรียนอื่นๆ เอาไปใช้ไม่ได้ สิ่งที่เราทำไม่มีประโยชน์ เพราะทุกอย่างยังอยู่ในบริบทในเจตนารมของ พรบ.การศึกษา เจตนารมของการปฏิรูปการศึกษาแบบจริงๆ อย่างตัวอย่างเช่น การไม่มีการสอบ เราทำจริงๆ เพราะเรารู้สึกว่าข้อบกพร่องที่เกิดจาการสอบมีเยอะมากๆ แล้วมีผลกระทบสูงต่อคนๆ หนึ่ง ต่อความเป็น Creative ด้วย ที่นี้ถ้าไม่มีการสอบเราทำยังไง ก็ต้องมีการประเมินวัดผลที่แยบยลและลึกซึ่งถึงตัวบุคคลได้นี้สำคัญ ไม่มีแบบเรียน เราก็มองว่าอย่างเรื่องการไม่มีแบบเรียนสิ่งต่างๆ ที่พิมพ์ลงในหนังสือที่เป็นแบบเรียนพอทำเสร็จมันล้าสมัยทันทีแล้วสิ่งเหล่นั้นก็ใช้สอนกันอยู่เป็นปีสองปีการจบแบบเรียนนั้นคือการจบเป็นความคิดที่ผิด ความคิด ความรู้เกิดขึ้นใหม่มากมายมหาศาล นิดเดียวสิ่งที่เรารู้ แต่สิ่งที่สำคัญคือไม่ใช่ทุกคนต้องรู้เหมือนกัน สิ่งที่มีความหมายต่อผมสิ่งที่จำเป็นต่อผม สิ่งที่มีความหมายต่ออีกคนหนึ่งไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งความรู้ที่จำเป็นสำคัญกว่าตัวความรู้ในแบบเรียน เราก็ทำให้ดูว่าการไม่มีแบบเรียนเราทำยังไง แล้วเราสอนสนุกมาก
พิธีกร: เดี๋ยวเราจะมีตัวอย่างให้อาจารย์สอนให้ดูครับ ว่าสอนให้สนุกสอนอย่างไร? เชิญอาจารย์ต่อเลยครับ
ครูใหญ่: ถ้ามองว่าเราทำสำเร็จหรือยังในส่วนของตัวโรงเรียนเราๆ ชัดเจนแล้วในเจ็ด แปดปี ในส่วนที่การขยายผลออกไปยังไม่พอใจนัก แม้ว่าตอนนี้จะมีโรงเรียนพยายามที่จะทำเหมือนเราประมาณสองร้อยโรง โรงเรียนที่ทำเหมือนเราเต็มรูปแบบก็มีส่วนหนึ่ง เราก็ยังมองว่าไม่มากพอ แต่ละวันก็จะมีคนไปอบรมไปดูงานที่นั้นทุกวัน ปีที่แล้วก็มีคนประมาณหมื่นกว่าคนที่ไปอบรมดูงานที่นั้น ก็ถูกรบกวนบางที แต่เรารู้ว่าเป็นหน้าที่ เราก็บอกต่อผู้ปกครอง ต่อครู ต่อเด็กๆ ทุกคนว่านี้คือหน้าที่เรา ถ้าเราไม่ทำใครจะทำ เราจะรอใครไม่ได้แล้วตอนนี้ เพราะเราเริ่มปฏิรูปการศึกษารอบสอง ถ้าไม่มีตัวกวนเข้าไปในระบบมันก็จะกลายเป็นแบบเดิมที่เรารู้ๆ กันอยู่ และผมเชื่อไม่ต้องถาม ไม่ต้องบอกออกมา แค่ตั้งคำถามว่าการศึกษาของเราบกพร่องขนาดไหน ทุกคนรู้อยู่แก่ใจ รู้อยู่แก่ใจ ไม่ต้องบอกออกมา แต่สิ่งที่เราพยายามทำคือ ต้องทำให้ดีกว่า
พิธีกรถาม: ปริมาณนักเรียนในโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาปัจจุบันมีจำนวนกี่คน?
ครูใหญ่ตอบ: ตอนนี้มี 240 คน เราเปิดตั้งแต่ชั้นอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นละประมาณ 32 คน ค่าเฉลี่ยของประเทศไทยจะอยู่ประมาณนี้ บางทีห้องหนึ่งก็ 40 คน แต่ห้องหนึ่งก็ 15 คน แต่ค่าเฉลี่ยโดยกลางๆ ก็จะอยู่ประมาณห้องละ 32 คน หรือ 30 คน ประมาณนี้ เราก็เลือกค่าที่มันใกล้เคียงกับสิ่งที่เราอยากให้เป็นตัวอย่าง เด็กของเรารับโดยวิธีการจับฉลากอย่างเดียว เพราะฉะนั้นจะได้มาแบบคละประชากรมาก คละฐานะด้วย และก็ปัจจัยในการเอาเข้าไปก็จะให้ใกล้เคียงกับโรงเรียนในชนบทให้มาก ค่าใช้จ่ายต่อหัวก็ใกล้เคียงกัน ครูก็ได้มาจากที่คล้ายๆ กัน แต่ด้วยระบบทั้งหมดที่มันโยงกันอยู่ที่เราพยายามพัฒนาให้เป็นตัวอย่างไม่ใช่แค่การเรียนการสอน เราพยายามทำทุกด้านในบริบทของโรงเรียน ระบบนั้นกลับช่วยเอื้อให้เรายกระดับความสามารถทักษะหรืออุปนิสัยหรือทัศนคติหรือจิตวิญญาณของเด็กขึ้นมาเป็นที่น่าพอใจ
พิธีกรถาม: ถ้าจะบอกว่า ณ วันนี้โรงเรียนนี้ประสบผลสำเร็จไหม ผมแค่บอกว่าโรงเรียนจะเป็นตัวอย่างให้กับอีกหลายหมื่นคนที่ไปดูงาน แค่นี้ก็ถือว่ามันเป็นความสำเร็จเบื้องต้นที่สามารถวัดได้แล้วนะครับ ว่าทำไม่คนทางด้านการศึกษาต้องเดินทางไปถึงบุรีรัมย์เพื่อไปดูโรงเรียนแห่งนี้ เพื่อจะเป็นต้นแบบให้เขาอีกมากมาย?
ครูใหญ่: ถ้าเอาเกณฑ์ทั่วๆ ไปวัดเช่น O-NET เราไม่พยายามจะไปสอบแต่ว่าก็ต้องสอบเพราะมันเป็นระเบียบ ถ้าเอาเกณฑ์แบบธรรมดาไปสอบเด็กเราก็สอบ ผลคะแนน O-NET ของเราปีที่แล้วปรากฏว่าค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเท่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นเด็กชนบทบ้านนอกธรรมดา บางคนไม่มีกินด้วยซ้ำไป ถ้าเอาแบบเดิมมาวัด แต่ที่จริงแล้วเราไม่อยากให้มองตรงนั้น สิ่งที่สำคัญที่เราทำเรื่องการศึกษาต้องมองเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า เป็นเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนามนุษย์มากกว่า
พิธีกรถาม: จุดเริ่มต้นของอาจารย์วิเชียรคิดที่จะทำโรงเรียนนอกกะลามาจากตรงไหน?
ครูใหญ่ตอบ: ผมอยู่ในโรงเรียนรัฐมาก่อนสิบปี เป็นทั้งครูและผู้บริหาร ผมรู้สึกว่าสิบปีที่ผ่านมามันไม่ได้อะไร อยู่ในช่วงของการปฏิรูปการศึกษาด้วยช่วงนั้นมันไม่ได้อะไรมากกว่าเดิม มันต้องแย่แน่ถ้าไม่มีทางเลือกอื่นให้โรงเรียนต่างๆ ได้เห็น พอมีโครงการนี้ขึ้นมา เราโชคดีมากนะครับมีชาวต่างประเทศคนหนึ่ง(คุณเจมส์ คลาก)มาอยู่เมืองไทยรักเมืองไทย เขาอยากตอบแทนแผ่นดิน เขาก็ให้ทุนมาเพื่อจะสร้างโรงเรียนขึ้นและค่าดำเนินการในช่วงแรกโรงเรียนเราเป็นเอกชนแต่เรียนฟรีนะครับ ผมมองเรื่องนี้สำคัญมากคือ ผู้ใหญ่ทุกคนควรจัดการศึกษาให้ฟรี ควรระดมสัพกำลังทั้งหลายทรัพยากรทั้งหลายเพื่อจัดการศึกษาให้รุ่นต่อมาฟรี ให้เขาเติบโตขึ้นมาในบรรยากาศของการให้เครื่องมือที่ดี ถ้าเขาอยู่ภายใต้บรรยากาศของการจัดการศึกษาเพื่อทำธุรกิจเพื่อหารายได้ลองนึกดูว่าเขาจะไปทำกับรุ่นต่อไปยังไง ไม่ต้องอะไรมาก พอคุณเจมส์ให้ทุนสนับสนุนเรื่องนี้ เราก็เริ่มทำมาผมก็สมัครมา ปีแรกผมก็มาอยู่คนเดียวอาคารก็ยังไม่สร้างเราก็มานั่งคิดกันใหม่ ห้องเรียนของเราก็หกเหลี่ยมไม่มีหน้าห้องหลังห้อง เวลาเด็กนั่งก็นั่งเป็นวงกลมคือ สิ่งที่เราทำทั้งหมด พอเราได้ครูรุ่นแรกมาสิ่งที่เราพูดเราคิดกันก็คือ อะไรที่เราไม่ชอบในโรงเรียนมาเล่าบอกกัน หนึ่งไม่ชอบเขาแถวตากแดดให้ครูบ่น เราก็ไม่มี แต่เราเข้าแถวเคารพธงชาติตามปกติ แต่ทำให้สั้นๆได้อารมณ์ความรู้สึก อะไรไม่ชอบอีกไม่ชอบหลังห้อง เราก็ไม่มี อะไรไม่ชอบอีกไม่ชอบที่ครูบอกว่าเปิดหน้านั้นแล้วเขียนลอกตาม เราจะไม่มีหนังสือ ไม่ชอบสอบเพราะสอบทีไรก็ไม่ได้ ไม่ชอบลำดับที่ ทุกอย่างจึงไม่มี เราก็เอาความรู้สึกของเรามาจับเรื่องของการศึกษา เพราะจริงๆ แล้วการศึกษาเป็นเรื่องของชีวิตทั้งมวล ทั้งมวลนะครับ ไม่ใช่แต่องค์ความรู้ ก็เอาสิ่งเหล่านั้นมาปรับใส่สิ่งที่เป็นโค๊ชคำ แต่มีนัยซ่อนอยู่ใต้บรรทัดหมดลึกกว่าที่คำนั้นบอก เบื้องต้นเอาเท่านี้ก่อนนะครับ
พิธีกรถาม: ครูใหญ่มีโรงเรียนต้นแบบหรือโรงเรียนในฝันหรือเปล่าที่เป็นแรงบันดาลใจให้เราออกขากระบบการศึกษาแบบเดิมๆ ออกมาค้นหาการศึกษาแบบใหม่ก่อนที่จะมีการสนับสนุนด้านเงินทุนเข้ามาเพิ่มเติม?
ครูใหญ่ตอบ: ไม่มี!
พิธีกรถาม: ไม่มีเลยหรือครับ แล้วอะไรทำให้อาจารย์คิดว่าการทำรูปแบบการศึกษาแนวใหม่อย่างที่อาจารย์กำลังทำอยู่มันใช่ และจะดีกว่ารูปแบบเดิมๆ ที่ทำกันอยู่?
ครูใหญ่ตอบ: ผมอาจจะต้องท้าวความออกไปยาวหน่อย ถ้าคนๆ หนึ่งมีความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ เราก็เชื่อว่าคนๆ นั้นจะเข้าใจความหมายของการเป็นอยู่ ความหมายอยู่และความหมายของการมีชีวิต พอมาทำเรื่องการศึกษา เราก็ไม่ได้มองว่ารูปแบบที่มีอยู่ใช้ไม่ได้ มีทฤษฎีมากมายที่คนพยายามคิด ทุกอย่างทำได้หมด แต่ว่ามาใช้กับบุรีรัมย์จะใช้อะไร เราจึงไม่ได้เริ่มที่ทฤษฎี เรากับคุณครูเราจึงเริ่มจากเรารู้สึกยังไงกับการศึกษา เราต้องการยังไงในมิติใหม่ พอเริ่มจากตรงนั้นก็จับต้นชนปลายสะเปะสะปะไป ปีแรกดูเหมือนเราไม่มีความสุขเลยกับสิ่งที่เราทำไปเพราะดูเหมือนว่ามันไม่ใช่ พอเริ่มปีที่สองมาเริ่มชัดเจนๆ ขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เราทำมาใหม่ในเรื่องการพัฒนาขึ้นมาใหม่เหมือนใช้ฐานเก่า แต่สุดท้ายจุดลงตัวที่ดีอันหนึ่ง แต่ว่ายังไงก็ต้องมีแก่นคือความฉลาดทางจิตวิญญาณเราพยายามทำเรื่องการศึกษาไม่ใช่ตัวความรู้ ที่ผ่านมาเรารู้สึกว่าปัญหาอุปสรรค์เยอะมาก รู้สึกโดดเดี่ยวโรงเรียนเอกชนทุกคนก็จะมองว่าเป็นโรงเรียนที่แสวงหากำไร แต่เราไม่ใช้อย่างที่บอกสำคัญมากเด็กรุ่นต่อๆ มาต้องเติบโตในบรรยากาศที่เขาไม่ได้ถูกเป็นผู้หาผลประโยชน์จาการศึกษา เพราะเข้าต้องรู้สึกเรื่องนี้และทำเรื่องนี้ต่อๆ ไปด้วยวิธีการแบบนี้ พอปัญหาอุปสรรค์เยอะบางครั้งก็นั่งร้องไห้ คุณครูผมก็มาด้วยนะครับ
พิธีกรถาม: อะไรคือปัญหาอุปสรรค์ที่เกิดขึ้น?
ครูใหญ่ตอบ: บอกไม่ถูก มันประเดประดังเข้ามา โอกาสยากมากที่เราจะทำถึงวันนี้ได้เรามองไม่เห็นเลยว่าเราจะทำอย่างนี้ได้ยังไง เรียนแบบไม่มีแบบเรียน ไม่มีการสอบเราจะทำได้ยังไง เรียนอะไรแบบนี้
พิธีกรถาม: แล้วผ่านจุดนั้นมาได้ย่างไร
ครูใหญ่ตอบ: แน่วแน่! มีบางเรื่องที่สอนเราอยู่ บางคนอาจจะเคยฟังเรื่องนี้ มีเรือสินค้าลำหนึ่งวิ่งออกจากฝั่ง ไปได้สักพักก็เกิดพายุเรื่อล้มทั้งหมดในเรื่อตายเหลือกัปตันคนเดียว กัปตันก็หย่อนเรือเล็กลงไปและรู้ว่าฝั่งอยู่ทางไหน เขาก็กางใบเรือออกและดูดาว และรู้ว่าเรือที่ลอยอยู่กำลังมุ่งสู่ฝั่ง เขาก็นอนรอว่าเมื่อไหร่จะถึง อาหารที่กินก็ค่อยๆ หมดไป ผ่านไปหลายวันอาหารหมดร่างกายก็ออกแรงแต่ก็มีความหวังเพราะเรือยังมุ่งไปในทิศทางเดิมอยู่ พอถึงวันที่ 14 วันที่ 15 จวนเจียนจะตายเกิดความคิดแวบหนึ่งขึ้นมาว่า อ๋อ!!หรือมันจะไม่ใช่ เขาจึงใช้แรงสุดท้ายที่มีเบี่ยงใบเรือออกไปอีกทิศทางหนึ่ง ทั้งที่ไม่กี่ร้อยเมตรก็ถึงฝั่ง Creative คุณจะยอดเยี่ยมสักแค่ไหนก็ตามถ้าคุณไม่มุ่งมั่นพอกับไม่มีความศรัทธาและไม่มีความเคลือบแคลง ทุกคนเจอปัญหาหมดแต่ว่าความมุ่งมั่น ความแน่วแน่พอไหม มากพอที่จะทำได้สำเร็จหรือเปล่า เช่นคำพูดบางคำพูด มากพอคือนี้คือสิ่งสุดท้ายในชีวิตที่จะทำ
พิธีกรถาม: ความทุ่มเทตรงนี้ได้มองมาถึงตัวเองบ้างหรือเปล่า?
ครูใหญ่ตอบ: อย่าลืมข้อแรกที่เราพูดกันว่า เป้าหมายของเราคือเป็นแบบอย่างในการจัดการศึกษา เราหวังอยากให้การศึกษาทั้งประเทศนี้เปลี่ยนมุม เรามีเด็กประมาณ 8 ล้าน มีครูประมาณ 4 แสน เรารู้ดีทุกคนว่าการศึกษาไม่ดียังไง มีข้อบกพร่องตรงไหน แต่ถ้าไม่เริ่มต้นสักอย่างอีกสิบปีเรารอ อย่างเช่น Play Save ทุกคนก็ประคับประครองพอเกษียรให้อยู่ไปแบบนี้ไม่ได้มันอยู่ไม่รอด มันอยู่ต่อไปได้ยาก
พิธีกรถาม: แล้ว Play ที่ไม่ Save แบบนี้จะอยู่รอดได้ไหม?
ครูใหญ่ตอบ: ปี 2557 คุณเจมส์ก็จะหมดงบประมาณที่จะให้เรา สิ่งที่เราพยายามทำคือโรงเรียนก็ต้องหาสตางค์เองด้วย แต่โดยบรรยายการศึกษาที่ให้ฟรี แต่สิ่งนั้นไม่สำคัญ ที่สำคัญคือระหว่างตอนนี้จนถึงปี 2557 ที่เราอาจจะไม่รอดเราทำอะไร นั้นคือสิ่งที่เราทำอยู่ เพราะฉะนั้นเราต้องทำงานหนักมากขึ้นเปิดโอกาสให้คนมาเรียนรู้มากขึ้น ขยายวิธีคิด วิธีปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมออกไปให้มากขึ้นเท่าที่ทำได้ เราถือว่าเราประสบผลสำเร็จ
พิธีกรถาม: แสดงว่าเป้าหมายไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนจะเดินหน้าไปได้หรืขยายใหญ่วงกว้าง?
ครูใหญ่ตอบ: ไม่มีประโยชน์ที่จะดีอยู่ที่เดียวเด็ก 8 ล้านคนควรได้รับประโยชน์ ที่จริงมันเป็นแค่วิธีคิดไม่ได้หมายถึงอะไรที่ยุ่งยาก วิธีคิดที่ครูจะต้องเปลี่ยนเช่น ทำอย่างไรที่จะมองดูเด็กในลักษณะที่เท่าเทียม เพราะความสามารถในการคิดมันขึ้นอยู่กับความรู้สึกเท่าเทียม ผมกับเด็กๆ สามารถที่จะเล่นล่อเลียน ยอกล้อกันได้
พิธีกรถาม: สร้างระเบียบวินัยให้เกิดขึ้นอย่างไร?
ครูใหญ่ตอบ: วินัยจะผ่านวิถีชีวิตที่โรงเรียนเราไม่มีระฆังไม่มีออด พอถึงแปดโมงเด็กทุกคนจะมารอเข้าแถว ทุกคนก็มาพอมาเข้าแถวคุณครูก็อยู่ ก็ไม่ต้องพูดอะไรพอทุกคนเงียบก็ร้องเพลงชาติ สวดมนต์ไหว้พระ ร้องเพลงแผ่เมตตา และก็ชื่นชมกันและกัน แล้วก็เข้าสู่การเรียนการสอน
พิธีกรถาม: ถ้ามีเด็กไม่มาเข้าแถวล่ะครับ?
ครูใหญ่ตอบ: ไม่มาก็ไม่เป็นไร เราก็รอจะมีครูที่รอ เราเชื่อเรื่องการสร้างวินัยผ่านวิถีชีวิตที่คงเส้นคงวา สม่ำเสมอไม่มีหยวน ใครไปที่นั้น ท่านยายกก็เคยไปนะครับ ก็จะไม่มีครูทิ้งเด็กออกมาต้อนรับ วิถีชีวิตของเด็กจะต้องผ่านสม่ำเสมอคงเส้นคงวา แล้ววินัยก็จะมาเอง ความรับผิดชอบต่อกันก็จะมาเอง เราฟังกันด้วยความเคารพมากคือ ความเท่าเทียมจะให้เกิดเคารพต่อกัน ครูก็เคารพต่อเด็กเวลาเด็กพูดอะไรเราตั้งใจฟัง สบตาเขาแล้วทุกคนก็ทำอย่างนั้น สิ่งพวกนี้ก็จะมา
(เด็กอนุบาลสองคนวาดภาพคน)
พิธีกร:
นี้เป็นเด็กเราปีแรกๆ ที่วาดภาพ ถ้าโดยทั่วไปสัญชาตญาณของครูก็จะตรวจให้ระดับทางซ้ายมืออาจจะให้ดาวเดียว ทางขวามืออาจจะได้สามดาว คนที่ได้ดาวเดียวเขาจะซุกดาวนั้นเก็บไว้และไม่ยอมให้แม่ดู ไม่เล่าเรื่องโรงเรียนให้แม่ฟัง แต่วันหนึ่งเขาจะเป็นแบบคนนั้นได้แน่นอน สิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ดูเหมือนไม่สำคัญแต่สำคัญ เพราะนั้นคือการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง สร้างภาพพจน์ที่ดีต่อตัวเองของคน คนๆ หนึ่งถ้ารู้สึกดีกับตัวเองจะรู้สึกดีกับสิ่งอื่นๆ แล้วสุดท้ายเขาจะทำทุกอย่างสำเร็จ เขาจะมีความมั่นใจ มั่นคงภายใน เหมือนกับการได้รับความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข แบบนี้จะทำให้มีจิตใจที่มั่นคงมาก ทรัพย์สินไม่ได้สร้างความมั่นคงให้กับจิตใจ เท่ากับความรักแบบไม่มีเงื่อนไข ลักษณะที่เราปฏิบัติกับเด็กทำไมเราไม่เปรียบเทียบระหว่างเด็ก เพราะเหตุผลเหล่านี้ ทำไมเราไม่ตรวจให้คะแนน เพราะเราอยากให้เด็กทุกคนที่อยู่กับเราทุกคน เรามีปณิธานครู 5 ข้อ ถ้าเป็นครูแล้วทำร้ายเด็กเราจะพึ่งใครในสังคม ผมก็ไม่ได้เชื่อว่าโรงเรียนจะมีอิทธิพลที่สุดต่อเด็ก ทุกคนที่เติบโตมาจากโรงเรียนเชื่อเลยว่าไม่เกิน 20% หลักสูตรซ่อนที่อยู่ภายนอกมีอิทธิพลต่อเรามาก แต่ว่าในปัจจัยไม่เกิน 20% นั้นในโรงเรียนที่ถูกก่อรูปขึ้นมาเราก็ควรที่จะทำให้ดีที่สุดให้มีอิทธิพลจริงๆ แล้ว Creative ถูกฆ่าด้วยครู ครูฆ่าตั้งแต่อนุบาล อนุบาลวาดเขาบอกว่าวาดนางฟ้า ครูก็บอกเส้นสองเส้นเป็นนางฟ้าได้ยังไง คำเหล่านี้คือ Creative ที่โรงเรียนที่เรามองที่เราพยายามทำก็คือก่อนที่จะมี Creative ได้ต้องมีจินตนาการก่อนเราเชื่อว่า Creative จะมาจากรากเหง้าของจินตนาการ ฉะนั้นโรงเรียนเราจึงบรรเจิดมากให้นักเรียนจินตนาการแบบไร้ขอบเขตเลยเพราะมันเป็นรากเง้าที่สำคัญ แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ก็ฆ่าสังหารจิตนาการด้วยกฏเกณฑ์อะไรบางอย่าง
พิธีกรถาม: มีแนวความคิดไหมว่าพอถึงปี 2557 จะทำอย่างไร?
ครูใหญ่ตอบ: ตอนนี้ครูเราก็พยายามทำธุรกิจ แต่พอพูดถึงเรื่องนี้ทีไร เหมือนกับเรามีสองแขน แขนหนึ่งก็พูดถึงเรื่องการศึกษาและพยายามพัฒนาคน มันเป็นเป้าหมายที่ดีงามมากๆ ส่วนอีกเป้าหมายหนึ่งพยายามทำธุรกิจพยายามเอากำไรให้มากๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายค่อนข้างโสมม พอมาอยู่ด้วยกันเราก็พยายามวางเรื่องนี้อย่างที่พูด เราไม่ได้สนใจว่าปี 2557 จะเกิดอะไรขึ้น แต่ช่วงนี้ไป 5 ปี 2557 เราทำอะไรอันนี้สำคัญมากกว่าแล้วเราหวังว่าจะมีอะไรดีขึ้นพอสมควร การศึกษาที่ดีต้องทำด้วยหัวใจ ผมเชื่อมั่นมากทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับการศึกษา ไม่ว่าในฐานที่เป็นพ่อแม่หรือที่เป็นสถาบันและผมเชื่อพลังเรื่องของการเปลี่ยนแปลงจากคนเล็กคนน้อย พอคนเล็กคนน้อยเปลี่ยนมันจะสานกันเป็นร่างแหใหญ่ แล้วสุดท้ายทุกอย่างก็จะเปลี่ยนเหมือนกันหมด ถ้าจะให้กำลังใจผมก็เชื่อว่าตัวท่านทุกคนก็เป็นผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้
พิธีกรถาม: ท่านเชื่อตัวท่านเองหรือไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงโลกได้?