18 ก.ค. 2557

เกม 24 และ 180 IQ

ก่อนเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ทุกๆ ชั่วโมงประมาณ 5-10 นาที ผมจะมีโจทย์ให้เด็กๆ แต่ละคนได้คิดก่อนเตรียมความพร้อมที่จะเรียนในเนื้อหานั้นๆ 

เช่น
*วิธีการเล่นเกม 24  : ผมจะกำหนดตัวเลขมาให้ 4 ตัว ให้เด็กๆ ใช้  บวก (+)  ลบ (−)  คูณ (×)  หาร (÷)  มาดำเนินการเพื่อที่จะหาคำตอบ โดยเลข 1 ตัว ใช้ได้เพียง 1 ใช้ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

2  8  7  4  

9  6  3  1

5  8  5  3

พอครูตั้งโจทย์ให้เสร็จแล้ว โจทย์ทุกข้อจะมีคำตอบ คือ 24  
เด็กๆ ทุกคนชอบกิจกรรมนี้มาก ทุกคนต่างมีสิทธิ์ได้ตอบ โดยการยกมือ คนที่ยกมือคนแรกจะได้อธิบายก่อน ครูก็จะช่วยจัดระบบข้อมูลให้เด็กๆ พร้อมกับค่อยตั้งคำถามกระตุ้นการคิดอย่างสม่ำเสมอ "ใครมีวิธีคิดที่แตกต่างจากนี้บ้างครัับ"
เด็กๆ ที่คิดเลขเร็ว คิดเลขได้ช้า ต่างก็มีสิทธิ์ในการอธิบายเท่ากัน
 หลายคนต่างกระตุ้นตัวเอง ผลักตัวเองขึ้นมาเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อที่จะหาวิธีคิดจากคำตอบ ทุกๆ คนได้จดจ่ออยู่กับการคิดนั้นจริงๆ 

** วิธีการเล่นเกม 180 IQ : จะเพิ่มเครื่องหมาย ยกกำลัง กับ รากที่ 2 เข้ามาเพิ่มในการคิดตัวเลขที่มีค่าเยอะๆ  เกมนี้จพท้าทายกว่าเกม 24 มากขึ้นครับ  กติกาเช่นเดียวกับเกม 24

3  9  5  6  2  =  57

5  6  9  3  6  =  31

7  2  6  4  1  =  53

มันเป็นเรื่องที่ผมยังไม่ได้สอน คือ รากที่ 2 แต่เด็กๆสนใจ เพราะพวกเขาจะได้นำมันมาใช้ในการหาคำตอบได้สะดวกขึ้น เด็กๆ ก็เลยเข้าใจเรื่องรากที่ 2 ไปโดยปริยาย และทบทวนเลขยกกำลังกันจนมองเห็นภาพชัดเจน

ทุกครั้งที่ตั้งโจทย์เสร็จ ผมสังเกตุเห็นการใคร่ครวญกับโจทย์แตกต่างกันออกไป..
บางคนใช้วิธีเขียนโจทย์ลงในสมุดทดคด แล้วคิดๆ ก่อนจะยกมือตอบครู / อธิบายวิธีคิดให้ครูและเพื่อนๆ รับฟัง
บางคนใช้วิธีจ่องมองตัวเลขทั้ง 5 ตัว แล้วคิดในใจ เพื่อให้ได้คำตอบ - วิธีการนี้จะเป็นอีกขั้นหนึ่งที่คนเข้าใจพื้นฐานการคิดมาแล้วระดับหนึ่ง มองเห็นภาพตัวเลขความสัมพันธ์ ก่อนโยงเข้าสู่ค่าของคำตอบที่ใกล้เคียง แล้วจึงขมวดให้ได้คำตอบที่ตรงค่านั้น 
  หลายๆ กิจกรรมทุกๆ โจทย์ถึงจะเป็นคนเดิมซ้ำๆ ที่ตอบ หรือเพื่อนๆ คนอื่นได้แชร์วิธีคิด : เพื่อนๆ ทุกคนได้ฝึกการสังเกตุ การตรวจสอบคำตอบของผู้อื่น กระบวนการจัดระบบข้อมูล และการรับฟัง

เด็กๆ มีความสามารถในการคิดทางคณิตศาสตร์ ทุกครั้งที่เด็กๆ มาส่งงานผมจะให้ทุกคนอธิบายสิ่งที่ทำมา หากยังไม่เข้าใจต้องไปเรียนรู้โจทย์ที่ทำมาส่งใหม่ ฝึกการเตรียมความพร้อมก่อนมาส่งงาน เช็คตัวเองให้ดีๆ ว่าเข้าใจเรื่องนั้นมากน้อยเพียงไร จะแก้ปัญหาในความไม่รู้เรื่องนั้นอย่างไร

สิ่งที่สะท้อนเห็นได้ชัดก่อนมาส่งงาน เพื่อนที่ส่งผ่านแล้วจะค่อนแนะนำเพื่อน(Peer Assist) ที่ยังไม่เข้าใจ ช่วยเช็คงานเพื่อก่อนจะนำมาส่งครูทุกๆ ครั้ง

เรื่องบังเอิญ เพลินให้ยิ้ม ตอน7 

9 ก.ค. 2557

Maths(1) - Funny

"ฉีกกะรดาษขนาด 3x3 นิ้ว ให้ตัวเราลอดผ่านได้"

เด็กๆ ทุกคนได้ร่วมกิจกรรม อย่างสนุกสนาน และได้ฝึกการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทุกคน


AAR กับเด็กๆ
- ได้คิดการวางแผนก่อนลงมือทำ เพราะบางคนเริ่มเลย ฉีกกระดาษแล้วนำปรับแก้ไม่ได้
- การออกแบบModel ของรูปร่างที่จะฉีกตามรอย
- การคิดแก้ปัญหา
- การใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์
- กิจกรรมสนุก ทุกคนได้เรียนรู้ในการฉีกกระดาษด้วยวิธีการที่หลากหลาย

* ทุกคนมีความตื่นเต้นกับวิธีการใหม่ๆ เด็กๆ หลายคน หากระดาษแผนเล็กๆ ลงเรื่อยๆ หาวิธีให้ตนเองและเพื่อนๆ รอดผ่านได้.. ถึงวันนี้ ยังคิดเรื่องนี้กันอยู่
ครูมองเห็นความต่อเนื่องของการเรียนรู้คณิตฯ อยู่กับการใคร่ครวญในปัญหาทุกวัน..

แต่ข้อนนี้ ผมให้ทุกคนคิด แต่วันแรกที่เรียน 1 9 1 9 = 10 ทุกคนก็ยังคิดอยู่ มาถามทุกวันๆ.. ลุ้นๆกันครับ ใครจะพบวิธีการ/คำตอบ ก่อนใคร..

วิเคราะห์ | เรียนรู้ | งอกงาม - Week 4 พี่ชาติ ม.1

สิ่งที่สะท้อนว่า พี่ชาติ (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้


แก่นเรื่อง : วางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน - สารอาหาคาโบไฮเดรต - ปลูกข้าว
ทักษะที่เกิดขึ้น 
- การทำงานร่วมกัน พี่ชาติได้ร่วมกันวางแผนการทำปฏิทินและเขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้กีบเพื่อนๆ ไดุ้บ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มของตนเองที่รับมอบหมาย - การสืบค้นข้อมูล ในสัปดาห์นี้เข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้ตามปฏิทิน เป็นเรื่องราวสารคาโบไฮเดรต พี่ชาติสืบค้นหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหารประเภทนี้ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น - การจัดการข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วพี่ชาติกับเพื่อนๆ ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันกับเพื่อนๆ เรียบเรียงข้อมูลเพื่อจะถ่ายทอดความเข้าใจ - การสังเกต / การติดตามผล พี่ชาติได้เรียนรู้เรื่องข้าวได้วย ในชั่วโมง PBL ครูจะให้ไปสังเกตการเปลี่ยนแปลงของข้าว แล้วนำมาบันทึกผลความคืบหน้ามาเล่าให้ครูฟัง - การแก้ปัญหา / ทักษะชีวิต พี่ชาติพบปัญหาจากการปลูกข้าวเมล็ดข้าวมีมากกว่า 4 เมล็ด เพราะตอนที่นำลงในท่อต้องการใส่ให้มากกว่า 4 เมล็ดเพื่อคัดสรรที่ดีที่สุดมาปลูก 4 ต้น

นิทานช่อง "คาร์โบไฮเดรต"

เด็กๆ เรียนรู้วิชาPBL ใน 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาเรียนรู้เกี่ยวกับการทดสอบใบไม้ที่มีคาร์โบโฮเดรต ระบบย่อยอาหาร การเผาผลาญพลังงาน และการเขียนโครงสร้างโมเลกุล


*ถ่ายทอดความเข้าใจผ่านการสร้างนิทานช่อง เล่าความรู้ที่ตัวเองมีเป็นเรื่องราวต่างๆ นานาๆ

เติมปุ๋ย - เพิ่มน้ำ : การปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด - ในพื้นที่จำกัด

ช่วงนี้เป็นระยะที่ข้าวเริ่มติดทุกคนแล้ว เด็กๆสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับ "วิธีการทำอย่างไรข้าวของพวกเราจึงจะแตกกอให้ได้มากที่สุด"


พูดคุยสะท้อนวิธีการกับเด็กๆ พบว่า..
- ต้นข้าวที่เริ่มแตกกอแล้วเหมาะกับสภาพดินที่มีน้ำปริมาณมาก ท่วมโคนต้นข้าวประมาณ 10 cm
- ต้นข้าวที่ยังไม่แตกกอแต่เริ่มติดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงดินบริเวณโดยรอบต้นข้าว อย่าให้โดนโดนต้นข้าวเยอะ รากข้าวอาจจะเน่าได้
- หากท่อข้าวมีน้ำขังแล้ว ถ้ามีปลาหรือใส้เดือน จะทำให้้ข้าวเจริญเติบโตได้เร็วกว่าดินเปล่าๆ