15 ธ.ค. 2556

กำลังใจนิดๆ ยามครูท้อ

ทุกครั้งที่ครูหมดกำลังใจหรือผิดหวังในความตั้งใจของตนที่ตั้งใจสอนเด็กๆ แต่เกิดอาการท้อถอยและคิดเอาตัวเองไปเปรียบเปรยกับใครๆ สุดท้านแล้วเรามองตนเองเมื่อยามหมดคนเปรียบเปรย ดังเรื่องนี้ที่ผมเคยเล่าให้เด็กๆ ฟังมาหลายชั้นที่สอน
    กบฟุ้งซ่านตัวหนึ่งนั่งอยู่ข้างกำแพงวัด ทุกเช้ามันเฝ้าดูพระออกเดินบิณฑบาตตั้งแต่เช้ามืด พอพระกลับมา ถึงวัดเพื่อฉันเช้า...
กบน้อยนึกในใจอยากเกิดเป็นพระ เพราะเป็นพระสบายดี มีคนถวายอาหารให้กินทุกวัน เมื่อพระฉันเสร็จก็นำอาหารที่เหลือมากมายนั้นไปให้เด็กวัดกินต่อ แล้วเด็กวัดก็กินกันอย่างเอร็ดอร่อย..
ตอนนี้..กบเปลี่ยนใจอยากเกิดเป็นเด็กวัดแล้ว เพราะสบายกว่าพระ มันเห็นเด็กวัดหลายคนตื่นสายได้และไม่ต้องออกตามพระไปบิณฑบาตก็ได้สบายกว่าเยอะเลย เมื่อเด็กวัดกินเสร็จก็โกยเศษอาหารที่เหลือทั้งหมดให้หมาวัดไปกินแล้วเด็กวัดทุกคนก็ไปช่วยกันล้างจาน..
ถึงตอนนี้..กบเปลี่ยนใจอยากเกิดเป็นหมาวัดแล้ว เพราะไม่ต้องล้างจานเหมือนเด็กวัด สบายกว่า พอหมาวัดกินอาหารเสร็จก็แยกย้ายไปทำหน้าที่เฝ้าบริเวณวัด คอยเห่าคนแปลกหน้า ฝูงแมลงวันก็บินมาตอมและกินเศษอาหารต่อจากหมาวัด..
ถึงตอนนี้..กบเปลี่ยนใจ(อีกแล้ว) อยากเกิดเป็นแมลงวัน เพราะสบายที่สุดไม่ต้องทำอะไรเลย หนำซ้ำยังมีกองอาหารให้กินไม่มีหมดด้วย ขณะที่เจ้ากบฟุ้งซ่านกำลังคิดเพลินๆอยู่นั้น พอดีหันมาเห็นแมลงวันบินมาใกล้ๆ จึงใช้ลิ้นตวัดเอาแมลงวันเข้าปากตัวเองกินโดยสัญชาตญาณ ..
ถึงตอนนี้.. กบฟุ้งซ่านจึงบรรลุธรรมฉับพลันคิดได้ว่า..
เอ้อ!! เป็นตัวของเราเองนี่แหละดีที่สุดเลย(The best to be yourself)

หลายหนที่เคยหมดกำลังใจ หันกลับมามองเรื่องเล่าที่เคยสอนแง่คิดกับเด็กๆ ก็ยิ่งรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้กลับมาย้อนดูเรื่องที่เราสอนคนอื่น.

5 ธ.ค. 2556

การศึกษา กับประสบการณ์(เดิม)

"การศึกษา" เพื่อปลดปล่อยผู้คนให้เป็นอิสระ

จิตวิญญาณอิสระ
จิตวิญญาณของเราทุกคนมีความเป็นอิสระแล้วตั้งแต่ต้น
เราปรากฏขึ้นมาในจักรวาลพร้อมกับความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ไม่มีความรู้สึกว่าสิ่งใดดีไม่ดี ไม่มีสิ่งใดชอบหรือไม่ชอบ
ปราศจากการรับรู้ว่าสิ่งใดมีอยู่หนือไม่มีอยู่ ไม่มีแม้แต่เจตจำนงใดๆ
-ปาฏิหาริย์การศึกษา (หน้า5)


นักเขียนที่ผมชอบมากที่สุดในชีวิต "วินทร์ เลียววาริณ"
ได้เขียนเรื่องเดินเท้าไปโรงเรียน (18 พฤษภาคม 2556) ผมอ่านเมื่อ 6 เดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งบางมุมในเรื่องนี้ใกล้เคียงกับชีวิตของผมตอนเป็นเด็กๆ ช่วงเรียนประถมศึกษา และมัธยมตอนต้น จ.นครพนม
ความลำบากบางครั้งเป็นทักษะที่ไม่สามารถหาซื้อมาได้จากใครๆ 
ประสบการณ์เดียวกัน อาจจะสอนคนแต่ละคนต่างกัน

อับราฮัม ลิงคอล์น วัยสิบขวบ เดินเท้าระยะทาง 6 กิโลเมตรครึ่งเพื่อไปโรงเรียนทุกวัน ค่าเรียน 2 ดอลลาร์ต่อปีจัดว่าไม่น้อย แต่ในสายตาของชาวบ้านหลายคน การเดินทางไกลเพื่อไปรับการศึกษาเป็นเรื่องเสียเวลาเปล่า เพราะท้ายที่สุดพวกเขาก็ยังคงต้องทำไร่ทำนา

การศึกษานั้นนำพา อับราฮัม ลิงคอล์น ไปถึงทำเนียบขาว!

ระยะทาง 6 กิโลเมตรในพื้นที่ป่าจัดว่าไกลและลำบากเอาการสำหรับการเดินเท้าไปกลับทุกวัน แต่มันอาจเทียบไม่ได้กับระยะทางที่เด็กอื่นๆ ทั่วโลกเดินกัน

ปัจจุบันเด็กๆ ชาวอัฟริกาใต้กว่าเก้าล้านคนเดินเท้าไปโรงเรียน ในจำนวนนี้สามล้านคนต้องเดินนานกว่าหนึ่งชั่วโมง ในชนบทบางท้องที่ เด็กต้องเดินถึงสี่ชั่วโมงเพื่อไปเรียนหนังสือ ในขณะที่เด็กอัฟริกันเดินฝ่าทุ่งร้อน เด็กชาวหิมาลัยเดินฝ่าทุ่งน้ำแข็งอันตรายเพื่อไปโรงเรียน และเด็กไทยในชนบทเดินฝ่าดงดอยหลายกิโลเมตรไปหาวิชาความรู้

ในท้องที่ห่างไกลความเจริญและด้อยโอกาส การได้ไปโรงเรียนถือว่าเป็นของขวัญที่สวรรค์ประทาน มันเป็นหนังสือเดินทางไปสู่ความหวัง ความสำเร็จ และการลืมตาอ้าปากได้ พวกเขาเชื่อว่าการศึกษาจะสร้างความแตกต่างให้ชีวิต ดังนั้นไม่มีใครบ่นเรื่องเดินเท้าไปเรียน

เด็กพวกนี้จัดว่าโชคดี เพราะแม้โลกหมุนมาถึงศตวรรษที่ 21 แล้ว เด็กหลายร้อยล้านคนทั่วโลกยังไม่มีโอกาสเล่าเรียนหนังสือ จำนวนมากกลายเป็นแรงงานเด็ก มิพักเอ่ยถึงเด็กหญิง โอกาสที่จะได้เรียนหนังสือน้อยกว่าน้อย เพราะพ่อแม่เห็นว่าเรียนไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร โตเป็นสาวก็แต่งงานมีเหย้ามีเรือน งานของผู้หญิงคือทำงานบ้าน เลี้ยงลูก ปรนนิบัติสามี ไม่ใช่อ่านหนังสือ

ระยะทางจากบ้านไปโรงเรียนนับสิบหรือหลายสิบกิโลเมตรเป็นเพียงขั้นแรกของการเดินทางไกลสู่ความฝัน เป็นการสร้างความแตกต่างให้ชีวิต

สำหรับคนด้อยโอกาส การสร้างความแตกต่างใดๆ ให้ชีวิตเป็นเรื่องที่สมควรทำ!

ระยะทางจากบ้านไปโรงเรียนของ พรทิพย์ ปานอินทร์ มิเพียงไกลอย่างยิ่ง มันยังผ่านโรงรับจำนำ การกู้ยืม การขอทุน ทุกครั้งที่โรงเรียนเปิดเทอมเป็นฝันร้ายของพ่อแม่ มันหมายถึงการหาข้าวของบางชิ้นไปที่โรงรับจำนำ
พรทิพย์ ปานอินทร์ 


พรทิพย์เกิดในสลัมคลองเตย ในครอบครัวที่รายได้แทบไม่พอยาไส้ พี่ชายกับพี่สาวมีโอกาสเรียนแค่ชั้น ม. 3 ก็ต้องออกจากโรงเรียนมาหางานทำ ในฐานะลูกคนสุดท้อง ครอบครัวอยากให้เธอเรียนให้จบ เพราะยังเชื่อว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือเดียวที่น่าจะสร้างความแตกต่างได้

แต่การไปโรงเรียนสำหรับคนที่คนเกิดและโตในสลัม หาเช้ากินค่ำเต็มไปด้วยอุปสรรค ในสายตาและความเชื่อของคนส่วนมาก สลัมมีภาพลักษณ์ของความล้มเหลวอยู่ในที ความยากจน การไม่มีโอกาสรับการศึกษา ยาเสพติด อาชญากรรม มันไม่ใช่ภาพจริงทั้งหมด แต่มันก็สะท้อนความจริงหลายภาพ ที่แน่ๆ คือที่นี่ไม่ใช่สภาพแวดล้อมซึ่งเอื้อให้เด็กมีโอกาสทางการศึกษา ย่อมไม่มีใครโทษใครสักคนที่นี่ว่าไม่เรียนหนังสือ

ชีวิตในชุมชนลำบาก น้ำท่วมซอยทุกครั้งเมื่อฝนตกหนักจนต้องลุยน้ำเข้าบ้าน รายได้หามาได้เท่าไรก็ดูเหมือนไม่เคยพอ เธอต้องเรียนหนักกว่าคนอื่นหลายเท่า ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายทุกอย่าง แต่เมื่อเลือกมาทางนี้ ก็ต้องไปให้สุดทาง

โลกคือการแข่งขัน ไม่ว่าจะอยากแข่งหรือไม่ เราก็ไม่มีทางเลือก เราทุกคนเป็นต้นไม้ในป่าใหญ่ ต้องเอาตัวรอดเอาเอง เป้าหมายของเกมแห่งชีวิตคือต่อยอดชูใบให้ถึงฟ้า

คนที่มีโอกาสย่อมพร้อมกว่าในการแตกรากชูใบถึงฟ้า คนที่ไร้โอกาสต้องดิ้นรนหนักกว่าหลายเท่า แต่มันเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมายเดียวกัน เหมือนต้นไม้ต้นเล็กๆ ที่ถูกขนาบด้วยเหล่าไม้ใหญ่พยายามจะงอกรากในพื้นที่แคบๆ เติบโตขึ้น แต่หากมองให้ดี จะพบเห็นช่องว่างของดินเพื่อหยั่งราก ช่องว่างของฟ้าที่มีแสงแดดเพื่อระบัดใบ

การศึกษาเป็นเครื่องมือ เป็นแสงแดด เป็นน้ำ เป็นปุ๋ย ไม่ว่าจะมีโอกาสเข้าห้องเรียนหรือไม่ เราทุกคนก็ต้องเรียน ไม่ว่าจะเรียนจากระบบโรงเรียน หรือเรียนเองจากการใช้ชีวิตจริง

คนฉลาดเลือกเรียนเมื่อมีโอกาสเรียน พวกเขาเชื่อว่าโอกาสนั้นไม่เคยมี เราต้องสร้างโอกาสของเราขึ้นมาเอง

น่าเสียดายที่คนมีโอกาสจำนวนมากทิ้งโอกาสทองของชีวิต ไม่เรียนหนังสือ หรือเรียนแบบขอไปที นักศึกษาจำนวนมากเรียนไปโดยไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไร ท่องจำเพื่อให้สอบผ่าน บางคนเรียนตามเพื่อน ฯลฯ

บางทีพวกเขาไม่เคยเห็นภาพเด็กเดินฝ่าทุ่งร้อน ทุ่งน้ำแข็งเพื่อไปโรงเรียน...

น่าเสียดายที่พวกเขาไม่เคยเห็นภาพเด็กเดินฝ่าทุ่งร้อน ทุ่งน้ำแข็งเพื่อไปโรงเรียน!

และนี่คือความแตกต่างระหว่างคนมีโอกาสที่ทิ้งโอกาสกับคนด้อยโอกาสที่สร้างโอกาส


เดือนเมษายนที่ผ่านมา พรทิพย์ ปานอินทร์ เรียนจบชั้นปริญญาเอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นดอกเตอร์คนแรกของสลัมคลองเตย ระยะทางเดินสองเท้าของเธอผ่านปริญญาตรีคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่งและการไปฝึกงานในต่างประเทศ

การเดินไปถึงปลายฝันของเธอบอกเราว่า เมื่อมีความฝัน มีแรงสู้ มีความอดทน ความสำเร็จย่อมไม่ใช่อุบัติเหตุ
www.winbookclub.com

ทุกๆเรื่องของคุณวินทร์ จะมาเรียบเรียงเป็นหนังสือเสริมกำลังใจ
ขอบคุณประสบการณ์ที่โหดร้าย ช่วงที่ผ่านมา..

3 ธ.ค. 2556

คำพูด เป็น พลังเสริมใจ

บางครั้งเราอาจจะยึดติดกับอารมณ์ของตนเองมากเกินไป
การที่เราใช้คำพูดกับใครๆ ไม่ว่าจะเป็นใกล้ชิด เพื่อนร่วมงาน หรือนักเรียน ผมเชื่อว่าครูเกือบทุกคนเคยหลุดการพูดจากับลูกศิษย์บางอย่างที่ตนเองไม่พึงประสงค์แน่ๆ 
แต่เมื่อเวลามันได้ล่วงเลยผ่านมาแล้ว เราไม่อาจจะกลับไปหวนกลับไปแก้ไขไม่ได้อีกแล้ว 
  ผมเคยเขียนโพสต์เรื่องนี้้ให้กับคนรักไว้ และเอามาเล่าสอนเด็กๆ 

"ปลาทูไหม้" 

....คืนหนึ่งหลังจากที่แม่ทำงานหนักมาตลอดทั้งวัน แม่กลับบ้านมาด้วยความเหนื่อยล้า และทำอาหารเย็นให้เราปกติ
ที่โต๊ะอาหาร แม่วางจานที่มีปลาทูไหม้เกรียม บนโต๊ะต่อหน้า พ่อ และทุกๆคน....

ผมรอว่าแต่ละคนจะว่าอย่างไร.....
แต่...พ่อไม่พูดอะไร และตั้งหน้าตั้งตา กินปลาทูไหม้ตัวนั้น และหันมาถามผมว่าที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง
คืนนั้นหลังอาหารเย็น ผมจำได้ว่า แม่ขอโทษพ่อที่ทอดปลาทูไหม้...
และผมไม่เคยลืมที่พ่อพูดกับแม่เลย "โอย...ผมชอบปลาทูทอดเกรียมๆ...อร่อยมากจ๊ะ...ที่รัก"
....คืนต่อมา ผมเก็บคำถามในใจ และไปกอดพ่อ และถามพ่อว่า พ่อชอบปลาทูทอดเกรียมๆ จริงๆ เหรอ
พ่อกอดผมไว้ และ ตอบว่า....
"แม่ของลูกทำงานหนักมาทั้งวัน... ปลาทูไหม้ 1 ตัวไม่เคยทำร้ายใคร แต่คำพูดว่ากัน ต่างหากที่จะทำร้ายกัน"
ชีวิต เต็มไปด้วยความไม่สมบูรณ์แบบ และแต่ละคนก็ไม่ได้เกิดมาสมบูรณ์แบบ ตัวผมเองก็ไม่ได้มีอะไรดีกว่าใครๆ
ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ลืมวันเกิดภรรยา วันครบรอบวันแต่งงาน เหมือนกับคนอื่นๆ
...แต่สิ่งที่ผมเรียนรู้ ในช่วงชีวิตคือ.....
การเรียนรู้ที่จะยอมรับความผิดของคนอื่น และการเลือกที่จะยินดีกับความต่างกันของแต่ละบุคคล
เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างชีวิตครอบครัวที่มีความสุขและยืนยาว
ชีวิตสั้นเกินกว่า จะตื่นขึ้นมาพร้อมกับความเสียใจว่า เราทำผิดกับคนที่เรารัก และ รักเรา
ดูแล และทะนุถนอม คนที่รักคุณ และเข้าใจในคนที่ไม่ชอบคุณ
มีความสุขกับชีวิตนะครับ
เพราะ....มันมีวันหมดอายุ....

บางเรื่องที่ครูเล่า ไม่จำเป็นต้องตีความหมายของเรื่องราว
ผมเชื่อว่าเด็กๆ แต่ละคนจะได้เก็บประสบการณ์นี้ไปปรับใช้ในขณะหนึ่งของช่วงชีวิตของเขาเป็นแน่ครับ.

2 ธ.ค. 2556

โยคนอกกะลา

10 ปี โยคะโรงเรียนนอกกะลา|กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้

สุขวาระ

"ความสงบ..จะหายากกว่าน้ำสะอาด อาหารปลอดภัย และ อากาศบริสุทธิ์"

วุฒิภาวะของความเป็นครู

หนังสือเล่มนี้ (และเล่มอื่นๆ ของครูวิเชียร ไชยบัง) เป็นหนังสือชี้สัมมาทิฐิทางการศึกษา เพื่อเป็นแรงเล็กๆ แรงหนึ่ง ในการขับเคลื่อนระบบการเรียนรู้ของไทยออกจากมิจฉาทิฐิ


มิจฉาทิฐิที่ครอบงำวงการศึกษาไทยอยู่ในปัจจุบัน คือหลงวุ่นวายอยู่กับการสอน กลัวสอนไม่ครบตามที่หลักสูตรได้กำหนด ระบบการศึกษาจึงยึดกระบวนทัศน์ “เน้นการสอน” อย่างเหนียวแน่น ในขณะที่โลกเขารู้กันนานแล้วว่าต้องเปลี่ยนไปใช้กระบวนทัศน์ “เน้นการเรียน” เน้นทั้งการเรียนรู้ของศิษย์ และของครู

หนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกจากใจ เล่าความหมายและวิธีดำเนินการ “การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21” ด้วยเครื่องมือ PBL และ CLC เครื่องมือในการเรียนรู้ของศิษย์คือ PBL+ และเครื่องมือในการเรียนรู้ของครูคือ PLC +

ความสำเร็จของโรงเรียนนอกกะลาเกิดจากความกล้าที่จะออกไปอยู่นอกกะลา และมีโอกาสออกไปอยู่นอกกะลา เพราะเป็นโรงเรียนราษฎร์ และที่สำคัญ กล้าตั้งเป้าหมายที่แตกต่าง ดังที่ระบุในเรื่อง ความสำเร็จ....

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

1 ธ.ค. 2556

ความรู้สึกร่วม

"ชีวิต" ต้องลองชิมดูก่อน | ถึงจะรู้ว่าอร่อยไหม

จากผืนดิน l จนอิ่มท้อง

ข้าว:สายพันธุ์พืชมหัศจรรย์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคน


 เมล็ดพันธุ์เล็กๆ ที่โยงใย ชีวิต | ชีวิต เข้าด้วยกัน

เรียนรู้ จากความยาก

..เรียนรู้ จากความยาก..

-บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย

 นั่นล่ะ -PBL

พีน้อง999ตัวย้ายบ้าน

# เช้าวันหนึ่งกลางฤดูฝน ครูอนุบาลพาเด็กๆ เดินรอบโรงเรียน 50 ไร่ ครูชี้ชวนให้เด็กได้สังเกตตรงนั้นตรงนี้ เด็กๆ ก็โปรยคำตามไปตลอดทาง และทั้งหมดก็มาสะดุดหยุดอยู่ตรงคลองน้ำเล็กๆ ที่มีกบตัวเบอเริ่ม 2 ต้ว นอนแช่น้ำอยู่ หลายคนเพิ่งเคยเห็นบ้านกบจริงๆ ก็ตอนนี้ คำถามทั้งคำตอบพรั่งพลูออกมาจากเด็กๆ เมื่อเด็กเด็กเข้าห้องเรียนผมถือโอกาสเอานิทานเรื่อง พี่น้อง999ตัวย้ายบ้าน เพื่อความประทับใจและความเข้าใจเรื่องกบได้ตราตรึงเพิ่มขึ้นไปอีก
ขั้นต้นของการเรียนรู้ภาษา เด็กจะผ่านขั้นรับรู้และเข้าใจความหมายของเสียงจำนวนหนึ่งมาก่อนเข้าเรียน ขณะเริ่มเข้าเรียนอนุบาล 1 จะอยู่ในขั้นที่จะให้การเรียนรู้ที่จะเข้าใจภาพและสัญลักษณ์ แทนเสียงและแทนความหมาย เมื่อเด็กเริ่มเข้าใจว่าสามารถให้ภาพหรือตัวอักษรหงิกหงอแทนเสียงได้ เด็กจะค่อยๆ เรียนรู้การเขียนสัญลักษณ์แทนเสียง(ตัวอักษร)จากชื่อเล่นหรือสิ่งต่างๆ รอบตัวที่ครูติดคำไว้ หลังจากนั้นเด็กๆ จะสนุกกับการเทียบเคียงเสียงกับรูปคำอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ขั้นสุดท้ายคือแตกแขนงทางภาษาที่ต้องการให้เด็กสะกด ผสมคำเป็น และใช้คำให้ถูกความหมาย

เด็กแต่ละคนคือสิ่งพิเศษจำเพาะ

 
         เด็กแต่ละคนคือสิ่งพิเศษจำเพาะ

      เธอแต่ละคนจึงต้องการครูที่มีสายตาพิเศษ

เพื่อจะได้เห็นในสิ่งพิเศษจำเพาะนั้นๆ

ข้าวกับคน : เด็กหญิงอนุบาล

"กิจกรรมเกี่ยวข้าวโรงเรียน" จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี


   ความร่วมมือระหว่าง ผู้ปกครอง เด็กๆ คุณครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ปี่นี้ เริ่มตั้งแต่ เช้าวันศุกร์นี้ ขอเชิญทุกคนๆ ร่วมเกี่ยวข้าวอินทรีย์ ซึมซับบรรยากาศของท้องทุ่งโรงเรียนนอกกะลา