25 ธ.ค. 2555

ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน..อวกาศในอนาคต

เรียนรู้ผ่านการศึกษาลงมือทำ เข้าใจ - ซาบซึ้ง - * - ทำได้ --
แก้ปัญหา < < <

                                        > > เกิดการเปลี่ยนแปลง

23 ธ.ค. 2555

ถ่ายทอดสิ่งที่ได้ไปสำรวจ /ทดลอง

   เด็กๆ ป.6 ได้จัดเรียงรูปเล่มค้นคว้าอิสระ จัดเรียบเรียงเอกสารทุกหน้าเตรียมเข้ารูปเล่ม
หลายคนได้ให้คุณครูยิ้ม ครูแป้ง ครูฟ้า ครูเม ครูนุช และครูป้อม ช่วยกันดูตรวจเอกสาร
เขียนงานใหม่ๆ บางหน้าด้วยชิ้นงานที่สมบูรณ์และคุณภาพ


- เด็กๆ ขึ้นนำเสนอถ่ายทอดสิ่งที่ได้ไปสำรวจ /ทดลอง นำมาเล่ารายงานความคืบหน้าให้คุณครูชี้แนวทางต่อไป

18 ธ.ค. 2555

คุณครูคณิตศาสตร์ จากสิงคโปร์ Faisal Engku Aman มาช่วยแนะนำกิจกรรมการสอนที่ LPMP

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดีๆ จากคุณครู  Faisal Engku Aman
มาช่วยสอนวิชาพละศึกษาและคณิตศาสตร์ ชั้น ป.6 และ ม.2

ขอบคุณสื่อ/กิจกรรมการสอนดีๆ ครับ

9 ธ.ค. 2555

วิชาชีวิตครูต๋อย : "ฅนสอนคน"

วิชาชีวิตจากคุณครูต๋อยมาถ่ายทอดสู่พี่ๆ ป.6 เพื่อให้เด็กๆ ค่อยซึมซับวันละน้อยๆ

"นอกจากช่วงจิตศึกษาแล้วครูต๋อยก็จะพยายามเข้าไปในช่วงพิธีนมและช่วงอื่นๆ ที่พอมีเวลา เพื่อจะได้รู้จักพี่ ป.6 มากยิ่งขึ้น และช่วยบ่มเพาะคุณลักษณะที่ดีกับช่วงเวลาที่เหลือที่พวกเขาอยู่ที่นี้ร่วมกับครูฟ้าและครูป้อม
สิ่งที่ทำคาดหวังว่าเด็กจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น อาจจะขอให้คุณครูทุกท่านช่วยสังเกตและให้ข้อมูล"


ขอบคุณมากค่ะ
ครูต๋อย

5 ธ.ค. 2555

ค้นคว้าอิสระ 2555

นักเรียนชั้น ป.6 ได้ลงมือปฏิบัติทดลองในแต่ละเรื่องที่ตนเองสนใจ..

19 พ.ย. 2555

คณิต..ศิลป์...

พี่ๆ ป.6 ได้ลงมือสร้างงานศิลปะจากคณิตศาสตร์ ในสาระเรขาคณิต


ขอบคุณความตั้งใจของเด็กๆ

18 พ.ย. 2555

mathematics Skill "วงกลม"

ตอนนี้พี่ๆ ป.6 ขึ้น วงกลม - ทรงกระบอก - กรวย...
เลยสอนบูรณาการเข้ากับโรงงาน เกี่ยวกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ความยาวรอบรูป..



กิจกรรม ก็คือให้เด็กๆเข้าใจขนาดของอวกาศก่อน

โดยสมมุติว่าโลกมีขนาดประมาณ 1 เซ็นติเมตร แล้วเทียบอัตราส่วนว่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์อื่นๆจะมีขนาดสักเท่าไร (เช่นดวงอาทิตย์จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นประมาณ 110 เท่าของโลกดังนั้นขนาดมันตามอัตราส่วนก็จะประมาณ 1.1 เมตร)

จากนั้นก็ลองเปรียบเทียบว่าระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ต่างๆจะ เป็นกี่สิบกี่ร้อยเมตร
เด็กๆน่าจะเข้าใจขนาดเปรียบเทียบของระบบสุริยะ

จากนั้นก็บอกเด็กๆว่าดาวฤกษ์ที่อยู่ถัดออกไปอยู่ห่างประมาณ 4 ปีแสง (หรือแสงเดินทางใช้เวลา 4 ปี = ประมาณ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) และดาวที่เราถือว่าใกล้ๆหน่อยก็เป็นสิบปีแสงทั้งนั้น

เด็กๆอาจเห็นว่าเว็บนี้มีประโยชน์ครับ:

http://sciencenetlinks.com/interactives/messenger/psc/PlanetSize.html

น่าจะเชื่อมโยงได้หลายๆเรื่องเกี่ยวกับอวกาศ GSP ก็โยงเข้าสู่ระบบสุริยะได้ด้วย... และการเกิดบิกแบ๊กค์

ขอขอบคุณคำแนะนำ Pongskorn Saipetch

ครูป้อม

7 ต.ค. 2555

Lesson Study : BAR ขั้นสอน และ AAR , ครูนิคม ศาลาทอง (ครูสังข์)

Lesson Study การเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ PBL (Problem-based learning)

ชื่อกิจกรรม : พื้นที่สัมพันธ์ (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้สอน : นายนิคม ศาลาทอง (ครูสังข์)
เป้าหมาย : นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากตามทฤษฎีบทพีทาโกรัส และบทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัสได้อย่างถูกต้องและชัดเจนและนำความเข้าใจไปปรับใช้แก้ปัญหาได้
สื่อ / อุปกรณ์ : รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ตารางแสดงความสัมพันธ์ของพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เกิดจากด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก และใบงาน

ขั้นที่ 1 : พูดคุยก่อนถึงกิจกรรมที่จะให้คุณครูคณิตศาสตร์ทุกท่านไปสังเกตการณ์การสอน (BAR)
กิจกรรม(BAR) คุณครูผู้สอนเล่ากิจกรรมขั้นสอน และนำเสนอแผนการสอนแบบคร่าวๆ


ชง : ครูวาดภาพสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมให้นักเรียนสังเกต แล้วเล่าเรื่องเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน
เชื่อม : ครูให้นักเรียนต่อด้านของรูปสามเหลี่ยมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและหาพื้นที่
ใช้ : ครูให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันและดูความสัมพันธ์ของพื้นที่ทั้งสามด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

ข้อเสนอเพิ่มเติม จากทีมคณิตศาสตร์(BAR)
- ครูควรมีตารางแสดงความสัมพันธ์เพื่อจัดระบบข้อมูลให้นักเรียน
- ให้นักเรียนมองเห็นความสัมพันธ์ด้วยตนเองโดยที่ครูไม่ได้เป็นคนบอกสูตร
- ครูเตรียมรูปสามเหลี่ยมมุมฉากหลายๆรูปเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์
- ครูให้นักเรียนได้ลองวาดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจากด้านต่างๆของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก และหาพื้นที่ออกมา

ขั้นที่ 2 : ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน พร้อมกับคุณครูเข้าร่วมสังเกตการสอน
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ดังนี้
ขั้นนำ
ครูทบทวนการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ก่อนเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสอน
ชง : ครูวาดภาพสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมให้นักเรียนสังเกต และหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมทั้งสามด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
เชื่อม : ครูให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันและดูความสัมพันธ์ของพื้นที่ทั้งสามด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก แล้วเขียนลงในตารางแสดงความสัมพันธ์
ใช้ : ครูให้นักเรียนทำใบงานเพื่อตรวจสอบความเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของพื้นที่และความยาวของด้านต่างๆของสามเหลี่ยมมุมฉากด้วยวิธีการวัดและการคำนวณเพื่อเปรียบเทียบและเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยง
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนรู้ในวันนี้


สะท้อนบทเรียน (AAR)
-การเตรียมความพร้อมของครู
-มีคำถามกระตุ้นการคิดตลอดเวลา
-ใช้โจทย์ที่เหมาะสมและตรงกับสิ่งที่เรียนรู้
-การมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนทั่วถึงมากขึ้น
-กิจกรรมสร้างความเข้าที่มาของสูตรไม่ใช่การท่องจำ
-คำถามกระตุ้นการคิดที่ทั่วถึงทุกคน
-ตัวอย่างโจทย์ที่หลากหลาย และไม่ใช่สามเหลี่ยมมุมฉาก เพื่อให้เห็นความแตกต่าง และเข้าใจมากยิ่งขึ้น
-มีสื่อจริงได้ทดลองวัดจริงๆ
-ครูใช่คำถามไม่เร่งรีบในการสอนและทอดเวลาให้ได้คิด ทบทวนคำตอบของตัวเอง

 ครูน้ำผึ้ง ผู้บันทึกสังเกตการณ์สอน
ครูป้อม ผู้ตรวจบันทึ

23 ก.ย. 2555

Lesson Study : BAR ขั้นสอน และ AAR , ครูราชิต สุพร

Lesson Study การเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ PBL (Problem-based learning)

ชื่อกิจกรรม : “การหาขนาดของมุมภายในของรูปหลายเหลี่ยม” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้สอน : นายราชิต สุพร (ครูป้อม)
เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและสามารถสื่อสารอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับมุมแต่ละชนิด เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับการหาขนาดของมุมภายในของรูปหลายๆ เหลี่ยมได้ แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
อุปกรณ์/สื่อ : รูป 3 - 8 เหลี่ยม ไม้บรรทัด ครึ่งวงกลม GSP(โปรแกรมทางคณิตศาสตร์)

ขั้นที่ 1 : พูดคุยก่อนถึงกิจกรรมที่จะให้คุณครูคณิตศาสตร์ทุกท่านไปสังเกตการณ์การสอน (BAR) 
กิจกรรม(BAR) คุณครูผู้สอนเล่ากิจกรรมขั้นสอน และนำเสนอแผนการสอนแบบคร่าวๆ 
ขั้นสอน
ชง : ครูติดรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และหลายเหลี่ยม พร้อมกำหนดขนาดของมุมบ้างมุม แล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนคิดว่ารูปหลายเหลี่ยมต่อไปนี้มีมุมภายในเป็นเท่าไร นักเรียนมีวิธีคิดอย่างไร " ให้นักเรียนลองหาคำตอบพร้อมแสดงความคิดเห็น
เชื่อม : ครูให้นักเรียนออกมานำเสนอวิธีการคิดของตนเองหน้าชั้นเรียน แล้วครูช่วยจัดระบบข้อมูลให้นักเรียน ในแต่ละรูปหลายเหลี่ยม
ใช้ : ให้ทำใบงาน "วาดภาพรูปหลายเหลี่ยม แล้วหาผลรวมของมุมภายใน" ที่ครูกำหนดให้

ข้อเสนอแนะจากทีมคณิตศาสตร์นอกกะลา
- ครูควรสอนพื้นฐานการหามุมภายในของรูปสามเหลี่ยม หลายๆรูปแบบ จนเข้าใจว่ามุมภายในของรูปสามเหลี่ยมคือ 180 องศา
- ครูชงด้วยการนำรูปสามเหลี่ยมหลายรูปแบบมาให้นักเรียนช่วยหามุมภายในเพื่อสรุปความเข้าใจว่ามุมภายในของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ 180 องศา
- ครูจัดระบบข้อมูลเป็นตารางความสัมพันธ์และเพิ่มช่องจำนวนเหลี่ยมลงไปเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น
- โจทย์ที่ให้ทำงานควรมีลักษณะที่ครูกำหนดให้ นักเรียนได้ออกแบบวาดภาพ แล้วหามุมภายใน และมีโจทย์ที่ให้นักเรียนได้ตั้งขึ้นเองด้วย

ขั้นที่ 2 : ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน พร้อมกับคุณครูเข้าร่วมสังเกตการสอน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้

ขั้นนำ
 ครูโชว์ภาพรูป 3 เหลี่ยม 3 ภาพให้นักเรียนดู ก่อนเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน โดยให้นักเรียนทุกคนมีสมุดทด

ขั้นสอน
ชง : ครูใช้คำถาม “นักเรียนคิดว่ารูป 3 เหลี่ยมแต่ละรูปนั้น มีมุมภายในแต่รูปเท่าไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนยกมือนำเสนอความคิดของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในชั้นเรียน ครูเขียนสิ่งที่นักเรียนบนไว้กระดาน ให้นักเรียนทุกคนดู
-นักเรียนเสนอความคิดเห็น “มุมภายในรูป 3 เหลี่ยมรวมกันได้ 180 องศา และรูป 4 เหลี่ยม 360 องศา”
พร้อมกับใช้คำถามสอบถามนักเรียนทุกคนอย่างสม่ำเสมอ เช่น “นักเรียนคิดถ้าหากเป็นรูปมากกว่ารูป 3 เหลี่ยมนักเรียนเห็นความสัมพันธ์อะไรบ้าง?”
  -ให้นักเรียนคิดหาคำตอบ แล้วให้นำมานำเสนอกัน นำข้อมูลที่นำเสนอมาเติมลงในตารางเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของมุมและรูปเหลี่ยม
ระหว่างนำเสนอครูใช้คำถามกระตุ้นให้คิดกันทุกคน “ใครเห็นต่าง” / “ใครมีวิธีคิดที่ต้องการนำเสนอเพิ่มเติม” หลังจากนักเรียนอธิบายวิธีคิดเห็นความสัมพันธ์แล้ว ครูใช้โปรแกรม GSP

มาพิสูจน์ให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ของขนาดมุมภายใน ก่อนให้นักเรียนขึ้นทำงานเป็นกลุ่ม
ใช้ : ครูให้นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับการหาขนาดของมุมภายในของรูปหลายเหลี่ยม มุมที่หายไปและเติมข้อมูลลงในตารางความสัมพันธ์ที่ครูกำหนดมาให้ ก่อนส่งงานครูใช้คำถามตรวจเช็คความเข้าใจกับนักเรียนทุกคน

ขั้นสรุป
 ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนความเข้าใจของสาระนี้อีกครั้ง พร้อมทั้งชื่นชมนักเรียนทุกคนที่ตั้งใจทำงานในครั้งนี้ 

สะท้อนบทเรียน (AAR)
- ครูมีการเตรียมสื่อการสอนเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนมาเป็นอย่างดี
- กิจกรรมและเนื้อหาที่สอนเหมาะสมกับนักเรียนชั้น ป.6 ในเรื่องการหาขนาดของมุมภายในของรูป หลายเหลี่ยม
- ครูสามารถเชื่อมโยงและร้อยเรียงกระบวนการสอน และสื่อที่เตรียมมาได้เป็นอย่างดี ช่วยให้นักเรียนเห็นภาพหรือเกิดภาพในสมอง ( Visual )
- ในระหว่างที่สอนครูมีการใช้คำถามกระตุ้น ให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดตลอดเวลา พร้อมทั้งมีการจัดระบบข้อมูลที่ดี ซึ่งเป็นตัวช่วยนำพามาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องถูกต้อง
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นของตนเอง (Show and Share)
- ครูมีท่าที และการใช้น้ำเสียง รวมถึงการกล่าวชื่นชมนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ(Empower) เมื่อนักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นวิธีคิด

ครูน้ำผึ้ง ผู้บันทึกสังเกตการณ์สอน 
ครูป้อม ผู้ตรวจบันทึก

Lesson Study : BAR ขั้นสอน และ AAR , ครูน้ำฝน ลาภศึก

Lesson Study การเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ PBL (Problem-based learning)

 ชื่อกิจกรรม : บอกชนิดของเงิน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้สอน : นางสาวน้ำฝน ลาภศึก(ครูฝน)
เป้าหมาย : นักเรียนเข้าใจและรู้จักชนิดของเงินต่างๆ สามารถแยกประเภทของเงินเหรียญและธนบัตร และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
สื่อ / อุปกรณ์ : ภาพการ์ตูน เรื่องเล่า เงิน ใบงาน

 ขั้นที่ 1 : พูดคุยก่อนถึงกิจกรรมที่จะให้คุณครูคณิตศาสตร์ทุกท่านไปสังเกตการณ์การสอน (BAR)

 กิจกรรม(BAR) คุณครูผู้สอนเล่ากิจกรรมขั้นสอน และนำเสนอแผนการสอนแบบคร่าวๆ

ชง : ครูใช้เรื่องเล่าเกี่ยวหมาป่ากับหมี เจ้าหมาป่ามีเงินอยู่ในกระเป๋าจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ได้บอกว่าเป็นเงินชนิดใดบ้าง และเดินมาพบเจ้าหมีจึงให้เจ้าหมีทายว่าเงินในกระเป๋าของเจ้าหมาป่าจะเป็นเงินชนิดใดได้บ้าง
เชื่อม : ครูให้นักเรียนแสดงความคิดของตนเอง และออกมานำเสนอวิธีคิดบนกระดาน นักเรียนคนอื่นช่วยตรวจสอบมูลค่าของเงินพร้อมๆกัน และให้นักเรียนยกมือนำเสนอความคิดของตนเองพร้อมออกมานำเสนอวิธีคิดบนกระดาน หลังจากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันตรวจสอบจำนวน เงินแต่ละวิธีว่าถูกต้องหรือไม่
ใช้ : ครูให้นักเรียนบอกชนิดของเงินที่เป็นไปได้ของจำนวนต่างๆ ลงในใบงาน เพื่อทบทวนความเข้าใจ

ข้อเสนอเพิ่มเติม จากทีมคณิตศาสตร์(BAR)
- สื่อที่ใช้ถ้าเป็นสื่อจริงหรือคล้ายของจริงก็จะช่วยให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- เรื่องราวที่จะเล่าให้นักเรียนฟังจะมีส่วนสำคัญที่จะดึงดูดความสนใจของนักเรียน ดังนั้นเรื่องราวที่จะเล่าควรชวนให้น่าติดตามและน่าสนใจ และอาจเพิ่มความท้าทายให้ชวนคิด
- แบบฝึกหัดหรือใบงานควรมีความสัมพันธ์กับชีวิตจริงและเป็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตจริงของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและเชื่อมโยงเข้ากับชีวิตประจำวันและนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

ขั้นที่ 2 : ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน พร้อมกับคุณครูเข้าร่วมสังเกตการสอน
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
ขั้นนำ

ครูเล่าเรื่องสี่สหายจอมปัญหา ประลองปัญญากับเด็กที่ตั้งใจ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหา

ขั้นสอน
ง : ครูใช้เรื่องเล่าสี่สหายจอมปัญหา ท้าประลองปัญญาด้วยคำกระตุ้นการคิด “ตัวที่ 1 ฉันมีเงินอยู่ 10 บาท ในกระเป๋าของฉันจะมีเงินเหรียญ หรือธนบัตรอะไรได้บ้าง ”
เชื่อม : ครูให้นักเรียนแสดงความคิดของตนเอง และออกมานำเสนอวิธีคิดบนกระดาน
- นักเรียนคนอื่นช่วยตรวจสอบมูลค่าของเงินพร้อมๆกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นให้คิด “มีใครวิธีอื่นที่แตกต่างอีกอีกหรือไม่ และเป็นอย่างไร”
- นักเรียนยกมือนำเสนอความคิดของตนเองพร้อมออกมานำเสนอวิธีคิดบนกระดาน
- ครูและนักเรียนช่วยกันตรวจสอบจำนวน และทบทวนทุกวิธีอีกครั้งหนึ่ง
ใช้ : ครูให้นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับเรื่องเงิน (บอกชนิดของเงินที่เป็นไปได้ของจำนวนต่างๆ) เพื่อทบทวนความเข้าใจ
ขั้นสรุป
ครูให้นักเรียนแต่ละคนเล่าสิ่งที่ตนเองเข้าใจจากใบงานให้ครูฟัง
สะท้อนบทเรียน (AAR)
- ครูมีการเตรียมสื่อที่ใช้ในการเรียนรู้ดีมาก เช่น มีตัวการ์ตูน มีเรื่องเล่า ธนบัตร เหรียญ ใบงาน ฯลฯ
- ครูใช้น้ำเสียงที่น่าฟัง มีการชื่นชมนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ (Empower) เมื่อนักเรียนแชร์วิธีคิด
- ครูสอนผ่านเรื่องเล่าที่น่าสนใจทำให้นักเรียนทุกคนให้ความสนใจ ดูมีสีสันเพิ่มความน่าสนใจและทำให้เด็กๆกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนรู้ ยิ่งขึ้น
- กิจกรรมการเรียนการสอนเหมาะสมกับเด็กๆ ป.1 ในเรื่องเงิน ไม่ยากเกินไป
- ครูใช้เวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรม
- ครูทอดเวลาให้นักเรียนมีเวลาได้คิดจากคำถามที่ให้นักเรียนร่วมกันตอบ
- ครูพยายามให้เด็กๆทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Show and Share ด้วยวิธีคิดที่หลากหลายและไม่ตัดสินผิดหรือถูกแต่พยายามให้เด็กเห็นได้ด้วยตนเองและเข้าใจโดยใช้คำถามที่กระตุ้นการคิดที่หลากหลาย
- ครูเริ่มกิจกรรมโดยลำดับกิจกรรมจากง่าย ไปหา ยาก และเรียงลำดับกิจกรรมในแต่ละขั้นได้ชัดเจน นักเรียนมองเห็นความเชื่อมโยงของบทเรียนในละข้อได้ง่าย

ครูสังข์  : ผู้บันทึกสังเกตการณ์สอน
ครูป้อม  : ผู้ตรวจบันทึก

15 ก.ย. 2555

อาบหมอก หยอกจันทร์


อาบสายหมอกหยอกแสงจันทร์วันแสนหวาน
ในวันวานผ่านลับไม่กลับหลัง
เหลือเพียงรอยอาลัยในภวังค์
เป็นเรื่องเก่าเล่าให้ฟังอดีตกาล

ในกระท่อมริมทางอยู่กลางทุ่ง
เรายังมุ่งมองฟ้าอยู่หน้าบ้าน
ภาพลางลางกลางหนาวอันยาวนาน
สายหมอกผ่านภูผายังตราตรึง

เพราะในบ้านหลังนี้มีพ่อแม่
ให้ชะแง้มองตามยามคิดถึง
กลิ่นกองฟางวางมัดยังรัดรึง
ปานประหนึ่งสายใยในชีวิต
“หนาวสายหมอกดอกไม้ในยามเช้า
มองจันทร์เจ้ายามค่ำดื่มด่ำจิต”

โอ้ความหลังยังงามในความคิด
คอยตามติดหลับตื่นยังตื้นตัน

กลางเมืองกรุงย้อนไกลไปบ้านเก่า
กลางความเหงางดงามในความฝัน
ความเป็นจริงยิ่งไกลเลยวัยวัน
มิอาจหันกลับหามาชื่นชม

“ภาพสายหมอกหยอกจันทร์” อันแสนสวย
จักมาช่วยหรือกลับมาทับถม
เมื่อความหลังเลือนหายกลางสายลม
ความเป็นจริงยิ่งระทมท้อฤทัย

2 ก.ย. 2555

Lesson Study : BAR ขั้นสอน และ AAR , ครูชาญณรงค์ วิเศษสัตย์

Lesson Study การเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ PBL (Problem-based learning)

ชื่อกิจกรรม : วัดความยาว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้สอน : นายชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ (ครูชาญ)
เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนเข้าใจการวัดความยาว โดยใช้หน่วยมาตรฐาน สามารถกะประมาณความยาวได้ และ หาพื้นที่รอบรูปเรขาคณิตแบบต่างๆได้
อุปกรณ์ : แท่งวัด(หน่วยไม่มาตรฐาน) ไม้บรรทัด(หน่วยมาตรฐาน) กระป๋องแป้ง ขวดน้ำดื่ม โต๊ะเรียนรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า หนังสือนิทานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใบงาน

ขั้นที่ 1 : พูดคุยก่อนถึงกิจกรรมที่จะให้คุณครูคณิตศาสตร์ทุกท่านไปสังเกตการณ์การสอน (BAR)

กิจกรรม(BAR)  คุณครูผู้สอนเล่ากิจกรรมขั้นสอน และนำเสนอแผนการสอนแบบคร่าวๆ
ชง: ครูใช้ Story line เชื่อมโยงสู่สถานการณ์การแก้โจทย์ปัญหา
โดยการติดเครื่องมือวัดความยาวที่หลากหลายเช่น ไม่บล็อก แผ่นเพ็จ หลอด ลูกบาศก์ และมีตัวละครเพื่อให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
เชื่อม: นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ของเครื่องมือวัดความยาวต่างๆ เช่น ไม้บล็อกยาวเท่ากับลูกบาศก์ 3 ลูกบาศก์ หลอดยาวเท่ากับลูกบาศก์ 2 ลูกบาศก์ แผ่นเพสยาวเท่ากับลูกบาศก์ 4 ลูกบาศก์ แล้วบอกสิ่งที่เห็น
ครูใช้ Story line เชื่อมโยงสู่สถานการณ์ ให้บอกความสูงของไอครีม โดยใช้เครื่องมือการวัดมากะประมาณก่อนวัดจริง นักเรียนคาดเดาคำตอบโดยกะประมาณ แล้วตรวจสอบโดยทดลองวางเครื่องมือวัดเปรียบเทียบความสูงของไอครีม
ใช้: นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับการวัดความยาวโดยใช้สื่อที่มีหน่วยไม่มาตรฐาน ในรูปแบบโจทย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ข้อเสนอเพิ่มเติม จากทีมคณิตศาสตร์(BAR)
- สื่อที่ใช้อาจเป็นแท่งเศษส่วนในหน้าที่ไม่มีตัวเลขเพื่อให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และจะได้มีรูปแบบที่หลากหลาย
- ครูจัดระบบข้อมูลการเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจจะใช้คำถามกระตุ้นการคิด ให้เด็กๆ ได้สัมผัสสื่อจริง ปฏิบัติจริงร่วมกัน
- ระดับ ป. 2 อาจง่ายไป อาจใช้หน่วยมาตรฐานมาเชื่อมโยงสอนด้วย


ขั้นที่ 2 : ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน พร้อมกับคุณครูเข้าร่วมสังเกตการสอน
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ดังนี้

ขั้นนำ 
 ครูนำแท่งวัดที่มีความสูงต่างๆ กัน 3 แท่ง มาวางให้นักเรียนสังเกต แล้วถามว่าให้ “นักเรียนเห็นอะไร” “ แท่งวัดทั้งสาม มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ”
ครูนำกระป๋องแป้งชูให้นักเรียนดูแล้วถามว่า นักเรียนคิดว่า กระป๋องแป้งจะสูงกี่แท่งวัดสีเขียว สีน้ำเงิน และ สีฟ้า
เมื่อนักเรียนอธิบาย ครูจัดระบบจนนักเรียนเข้าใจ และเห็นความสัมพันธ์

ขั้นสอน
    ชง ครูชูไม้บรรทัดให้นักเรียนดูแล้วถามว่า “นักเรียนเห็นอะไร ” “ด้านถี่ๆนี้เป็นหน่วยอะไร” “ด้านห่างๆนี้เป็นหน่วยอะไร”
 ครูชูหนังสือนิทานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วถามว่า “หนังสือนิทานมีรูปร่างเป็นอย่างไร” “แต่ละด้านยาวกี่นิ้ว” ครูให้นักเรียนกะประมาณก่อน แล้วค่อยวัดจริง
 “ นักเรียนคิดว่าความยาวรอบรูปหนังสือนิทานจะเป็นเท่าไร คิดอย่างไร ใครคิดได้ออกมาแสดงวิธีคิด”
ครูชูหนังสือโต๊ะรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า แล้วถามว่า “ โต๊ะมีรูปร่างเป็นอย่างไร” “แต่ละด้านยาวกี่นิ้ว” ครูให้นักเรียนกะประมาณก่อน แล้วค่อยวัดจริง
 “ นักเรียนคิดว่าความยาวรอบรูปโต๊ะจะเป็นเท่าไร คิดอย่างไร ใครคิดได้ออกมาแสดงวิธีคิด”
เชื่อม นักเรียนที่คิดได้ นำเสนอครูและเพื่อน ครูจัดระบบข้อมูลให้นักเรียนเข้าใจง่าย ซึ่งใช้คำถามดังนี้
 “ใครคิดได้มาแสดงวิธีคิดให้ครูและเพื่อนดู ” “ เห็นด้วยกับเพื่อนไหม” “ ใครมีวิธี คิดที่แตกต่างจากนี้”

ใช้ นักเรียนทำใบงาน

ขั้นสรุป ครูให้นักเรียนแต่ละคนเล่าสิ่งที่ตนเองเข้าใจจากใบงานให้ครูฟัง

สะท้อนบทเรียน (AAR)
- ครูจัดระบบข้อมูลการเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจจะใช้คำถามกระตุ้นการคิด ให้เด็กๆ ได้สัมผัสสื่อจริง ปฏิบัติจริงร่วมกัน
- ครูสอนผ่านเรื่องเล่านักเรียนทุกคนให้ความสนใจ มีความกระตือรือร้นที่จะอยากเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนการสอนเหมาะสมกับเด็กๆ ป.2 ในเรื่องการวัด และครูเตรียมสื่อการสอนเป็นอย่างดี
- ครูให้นักเรียนได้นำเสนอวิธีคิด Show and Share และครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิดเสมอ
- ครูใช้น้ำเสียงที่น่าฟัง มีการชื่นชมนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ(Empower) เมื่อนักเรียนแชร์วิธีคิด
- ครูจัดระบบข้อมูลระหว่างที่สอนได้ดีมาก เมื่อเด็กเสนอวิธีคิดครูเขียนสิ่งที่นักเรียนเข้าใจไว้ให้ทบทวนทุกครั้ง
- ครูเริ่มกิจกรรมโดยลำดับกิจกรรมจากง่าย ไปหา ยาก นักเรียนมองเห็นความเชื่อมโยงของบทเรียนในล่ะข้อได้ง่าย


ผู้บันทึกสังเกตการณ์สอน 

ครูชาญ 
ผู้ตรวจบันทึก

25 ส.ค. 2555

ภานุวัฒน์ บุญเย็น(Panuwat Boonyen) : 2553

ว่ากันว่า เส้นใยของแมงมุม มีความแข็งแรงมาก จากการทดสอบพบว่า มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กที่มีน้ำหนักเท่ากันถึง 6 เท่า เปรียบเทียบได้ว่า ถ้าหากใยแมงมุมมีความหนาเท่ากับขนาดดินสอ ใยแมงมุมสามารถหยุดการเคลื่อนที่ของเครื่องบินโบอิ้ง 747 ที่กำลังบินอยู่ได้ 



Panuwat Boonyen (ครูอ้อน)
11 ธ.ค. 53
 #################################

สิ่งที่ยากคือการยอมรับและตั้งสติ ใคร่ครวญไตร่ตรองทำให้อารมณ์มีบทบาทน้อยกว่าเหตุผล

11 พ.ย. 53

 #################################

 แม้จะถูกตีตราว่าเป็น "ครูบ้านนอก" แม้จะถูกกล่าวหาว่าเป็นคนจน แม้หนทางที่ก้าวไปจะวุ่นวายโลกจะสับสน จะยอมเป็นครูจนจนเพื่ออุดมการณ์

17 กันยายน 2553

รวบรวมจาก status ของครูอ้อน ภานุวัฒน์ บุญเย็น จากFacebook นำมารวบรวมไว้ในบล๊อกครับ

17 ส.ค. 2555

วิเชียร ไชยบัง(Wichian Chaiyabang) : 2553

ปีใหม่ช่วยย้ำเตือนเราว่าโลกได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบอีกคราหนึ่ง แต่ความจริงเราไม่ได้อยู่ตำแหน่งเดิมเลย เราไม่เคยอยู่ ณ ตำแหน่งเดิม กาแลกซีเราเคลื่อนไป จักรวาลก็เคลื่อนไป ปีใหม่เป็นเพียงในจิตนาการ

วิเชียร ไชยบัง : ครูใหญ่โรงเรียนนอกกะลา
  31 ธ.ค. 2553
 ***************************************

 จิตของเราไม่อาจรับมือกับสิ่งเร้ามากมายพร้อมๆ กันได้ ความสงบจะมาจากการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจัง จนเราได้จมหายไปกับมัน ชีวิตช่วงเวลานั้นก็จะลื่นไหล แม้อาจจะเหน็ดเหนื่อยแต่ปีติอันล้ำลึกจะปรากฏขึ้นในเรา

ครูใหญ่
 29 ธ.ค. 2553
*************************************** 

ความรักจะนำไปสู่ความเข้าใจ และ ความเข้าใจก็ทำงานเฉกเช่นกัน

ครูใหญ่
 27 ธ.ค. 2553
*************************************** 

'เราอยู่ใต้ฟ้า แต่เราก็ไม่ค่อยได้แหงนดูมันบ่อยนัก เอาแต่ก้มหน้ามองดิน'
'ทำไมเราต้องมองดูมันบ่อยๆ ด้วยล่ะครับ' กายถามตาคำ
'ก็ตอนกลางคืนเราจะเห็นความกว้างใหญ่ไพศาลของท้องฟ้า ส่วนตอนกลางวันเราจะได้เห็นว่ามมันอยู่สูงแค่ไหน'

หนึ่งในบทสนทนาระหว่างตาคำกับกาย ใน 'สายลม กับ ทุ่งหญ้า'

ครูใหญ่
 20 พ.ย. 2553 
 *************************************** 

 สำหรับก้อนหินก้อนหนึ่ง จะไม่มีนิยามของคำว่า "รอ" หรือ "เหน็ดเหนื่อย" จะมีเพียง "เป็นไป" 
 ครูใหญ่
18 พ.ย. 2553 
*************************************** 

เราจึงถูกล้อมด้วยกำแพงห้องอันคับแคบ บ้านอันคับแคบ รั้วบ้านอันคับแคบ
เมืองอันคับแคบ และประเทศอันคับแคบ
ทั้งที่โลกและจักรวาลอันกว้างใหญ่มีพื้นที่มากพอที่จะให้เราแต่ละคนเป็น
อิสระ

ครูใหญ่
  28ตุลาคม 2553

***************************************

ผมเชื่อว่าด้วยสัญชาตญาณมนุษย์จะไม่ยอมให้ตัวเองจนมุมจนล้มเหลว
แต่นั่นขึ้นอยู่กับว่าการรุกไล่ของอีกฝ่ายจะทำด้วยจังหวะลงตัวพอดีเพียงใด
เป็นรุกไล่เพื่อการปกป้องหรือการทำลาย

ครูใหญ่
4 ตุลาคม 2553

รวบรวมจาก status ของครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง จากFacebook นำมารวบรวมไว้ในบล๊อกครับ

15 ส.ค. 2555

วิเชียร ไชยบัง(Wichian Chaiyabang) : มกราคม 2555

---ให้ “ความตาย” เป็นของกำนัล---

เมื่อฉันจะตาย จงปล่อยให้ฉันได้ตาย
ขอเธออย่าประดับสิ่งใดบนซากนั้น
ขออย่าหาคำสวดหรือการสักการะใดๆ
เพียงเธอทิ้งซากนั้นไว้ที่โคนต้นไม้สักแห่ง
ให้การตายของฉันเป็นของกำนัลแก่สัตว์ เชื้อรา หรือต้นไม้

เมื่อฉันตาย จงปล่อยให้ฉันได้ตาย
ขอให้ลืมฉันก่อนข้ามคืนนั้น

ลืมคำที่ฉันเคยพูด
ลืมสิ่งที่ฉันเคยเชื่อ
ลืมสิ่งที่ฉันเคยทำ
ละความรักที่มีต่อฉัน
ละความคิดถึงที่มีต่อฉัน
ละความโกรธที่มีต่อฉัน
ละความเศร้าที่มีต่อฉัน

เมื่อฉันตาย จงปล่อยให้ฉันได้ตาย
ขอให้ความตายของฉันนำความเบิกบานมาสู่เธอ

วิเชียร (ผู้ที่กำลังเดินทางไปสู่ความตาย) 30 มกราคม 2555

***********************

ผู้ประเมินภายนอกจาก สมศ.มักไม่ค่อยมีโอกาสได้ยืดอกเคารพตนเองหรือภาคภูมิใจในตนเองด้วยการทำหน้าที่อย่างมีจรรยาบรร-ตรงไปตรงมา
ทั้งนี้เพราะมักถูกประจบจากโรงเรียนที่ถูกประเมินด้วยเครื่องกำนัลหลายๆ แบบ เพื่อให้บิดเบือนความจริง
การกระทำดังกล่าว-ยั้งเป็นการทำลายศรัทธาต่อ "กระบวนการประเมินของ สมศ." ซ้ำอีก

ครูใหญ่ 
23 ม.ค. 55

************************

วันนี้ผู้เข้าอบรมถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการของโรงเรียน

"การมุ่งหน้าสู่เป้าหมาย และ ปัญหาและอุปสรรคระหว่างทางนั้นเป็นเสมือนหนึ่งในแบบทดสอบชีวิต มันจะเข้ามาทดสอบเราครั้งแล้วครั้งเล่า บางครั้งความหนักหน่วงของแบบทดสอบก็ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น อดทนขึ้น เ้ข้าใจสิ่งต่างๆยิ่งขึ้น แต่ทั้งหมดที่ได้ยังน้อยกว่าการได้ถูกท้าทายให้ทดสอบถึงปัญญา และ คุณธรรมในใจ"

--ครูใหญ่-- 
12 มกราคม 2555

รวบรวมจาก status ของครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง จากFacebook นำมารวบรวมไว้ในบล๊อกครับ

12 ส.ค. 2555

คณิตศาสตร์แบบPBL (Problem-based learning)

เป้าหมาย ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์นอกกะลา
    เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการคิด และ เชื่อมโยงความเข้าใจทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ


การเรียนคณิตศาสตร์แบบ PBL (Problem-based learning)
ปัญหาระดับพื้นผิว
- แก้ปัญหา จากเนื้อหาที่เรียน
- แก้ปัญหาจากโจทย์ปัญหาระคน (ข้อสอบแข่งขัน ข้อสอบโอลิมปิก)

ปัญหาระดับลึก
- ปัญหาจากสถานการณ์จริงที่ต้องเผชิญ ในชีวิต
- ปัญหาสถานการณ์จริงที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ขอบคุณข้อมูล
จาก ครูชาญ นะครับ

27 ก.ค. 2555

ดำนา'55 : โรงเรียนนอกกะลา

"วันถอนกล้า+วันปักกล้าดำนา" การปลูกข้าวปลอดสารพิษ ความร่วมมือของผู้ปกครองครูเเละเด็กๆ โรงเรียนนอกกะลา ข้าวหอมนิลสุรินทร์ มีรสชาติอร่อย มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดดเด่น มีคุณประโยชน์บางอย่างมากกว่าข้าวอื่น กำลังเป็นที่นิยมบริโภคกันคือการสีแบบข้าวกล้อง คือการสีเอาเปลือกออกเท่านั้น ซึ่งจะคงคุณค่าทางโภชนาการ คุณค่าทางยา วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ ไว้ได้ครบถ้วน
ภาพ : Thanapat Benz
ดำนาโรงเรียนนอกกะลา
ท้องทุ่งเเห่งการเรียนรู้ บรรยากาศความร่วมมือ เด็กๆ ผู้ปกครอง ครู ช่วยกันปักดำกล้าทั่วเเปลงนาโรงเรียนนอกกะลา กิจกรรมดีดีที่ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ
คลิป : Panuwat Boonyen

14 ก.ค. 2555

เรียน เล่น อย่างมีความสุข : Play & Learn

เล่นแบบ "แฝด"

 
เรียน เล่น อย่างมีความสุข — Play & Learn

เก็บภาพบรรยากาศ เล่าเรื่องราวโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

ผ่าน Facebook : Supaporn Chueaphrakha(ครูภร)

8 ก.ค. 2555

อบรม สพฐ รุ่น 1 : การพัฒนาความฉลาดภายใน : ความฉลาดภายนอก

ยินดีตอนรับ
 
คณะครู สพป.มหาสารคาม.1 สพป.นครราชสีมา.3 สพป.สิงห์บุรี สพป.สงขลา.2 จำนวน 44 คน เข้าอบรมหลุกสูตร การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะที่จะเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 รุ่น 1 
ระหว่างวันที่ 6-8 ก.ค 55
สนับสนุนโดย สำนักนวัตกรรม สพฐ. ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ — อบรม สพฐ รุ่น 1

สังเกตกิจกรรมจิตศึกษา ป.4

 การพัฒนาความฉลาดภายใน
สำนักนวัตกรรม สพฐ. วันที่สอง — สพฐ. รุ่น 1 วันที่สอง
กิจกรรมจิตศึกษา ช่วงเช้า

สัมผัสที่อบอุ่นถ่ายทอดความรักและปรารถนาดีต่อกัน

ส่งความรู้สึกที่ดีผ่านสัมผัส ผ่านมือที่จับกัน ผ่านลมหายใจ และรับรู้ถึงความปรารถนาดีที่มีแก่กัน

อบรมสำนักนวัตกรรม สพฐ รุ่น 1 วันที่สาม
เรียนรู้คณิคศาสตร์นอกกะลา ภาษาไทยนอกกะลา — อบรมความฉลาดภายนอก
ครูชาญ อธิบายเกี่ยวกับ การคูณ 213x3 = เท่าไร?
สอนผ่านสื่อชุดแผ่นร้อย เมื่อเด็กแก้โจทย์ปัญหา เด็กจะมองตัวเลขเห็นเป็นภาพ
เด็กมองเห็น 2 ในหลักร้อย ประกอบไปด้วย 2 แผ่นร้อย ซึ่งมากกว่า 3 ในหลักหน่วย ที่ประกอบไปด้วย 3 จิ๋ว

 ครูภร เล่าเกี่ยวกับการสอนภาษาไทย เรียนรู้โดยไม่ใช้แบบเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม

ครูใหญ่วิเชียร เข้ามาตอบคำถามของผู้เข้าอบรม ที่ผ่านมาตลอดทั้ง 3 วัน

เก็บภาพบรรยากาศ เล่าเรื่องราวโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
ผ่าน Facebook : Pantippa Thongmee(ครูต๋อย)

5 ก.ค. 2555

ความสดใส

ความน่ารัก สดใส
บรรยากาศช่วงเลิกเรียนอนุบาลนอกกะลา — ความสดใส

เล่นและเรียนรู้ อย่างมีความสุ

"คุณครูวันนี้หนูเป็นนางฟ้าค่ะ เพราะหนูติดกิ๊ปสีชมพู"
นี้คือเสียงบอกเล่าจากจินตนาการของสาวน้อยผู้น่ารัก
 
เก็บภาพบรรยากาศ เล่าเรื่องราวโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
ผ่าน Facebook : Pantippa Thongmee(ครูต๋อย)

2 ก.ค. 2555

อนุบาลนอกกะลา เรียนรู้ผ่านการเล่น

   อนุบาลนอกกะลาเรียนรู้ผ่านการเล่น การมีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งต่างๆ การเรียนรู้โลกสิ่งแวดล้อมผ่านการลงมือทำ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ฝังลึกและคงทน — การเล่น

เก็บภาพบรรยากาศ เล่าเรื่องราวโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
ผ่าน Facebook : Pantippa Thongmee(ครูต๋อย)

ความสุขเล็กๆ ของคนตัวเล็กๆ

    น้องอนุบาลหนึ่งพาสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่น มนุษย์ทุกคนล้วนมีศิปละและจิตนาการมาตั้งแต่เกิดมันสามารถพัฒนาให้งอกงามได้ตามวัย แต่ผลที่เกิดกลับตรงข้ามวัยยิ่งมากจิตนาการยิ่งต่ำ เพราะเขาถูกปิดกั้นโดยเรา(ผู้ใหญ่ทั้งหลาย) ตั้งแต่เด็ก

ขอพื้นที่สำหรับพักกายและใจ....เครื่องเล่นมุดซ่อนสำหรับเด็กเล็กก็สำคัญ

 ทรายเปียกและทรายแห้งช่วยกระตุ้นเส้นประทานที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า

การเล่นคนเดียวฝึกสมาธิและความลำพัง