28 มิ.ย. 2555

จิตศึกษาอนุบาล(การพัฒนาความฉลาดภายใน)

   เก็บภาพบรรยากาศ เล่าเรื่องราวโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ระหว่างวันที่ 27-28 ก.ค 55 ผ่าน Facebook : Pantippa Thongmee(ครูต๋อย)

กิจกรรมจิตศึกษา
- เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดในด้านจิตวิญญาณ ความฉลาดด้านอารมณ์ ให้เห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง การน้อมนำสิ่งที่ดีงามเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก
- การเตรียมความพร้อมของนักเรียน ให้อยู่ในภาวะคลื่นสมองต่ำ และมีความพร้อมในการเรียน 
 
 กิจกรรมจิตศึกษา (การพัฒนาความฉลาดภายใน)
     พี่อนุบาลสองเริ่มต้นจิตศึกษาด้วยการทำ Body scan โดยมีคุณครูคอยเล่าเรื่องราวให้เด็กๆ จินตนาการตาม พร้อมทั้งกล่าวเสริมแรงให้พลัง ให้คุณค่า ให้กำลังใจกับเด็กๆ ทุกคน เราบอกตัวเองว่าเราเป็นคนน่ารัก มีจิตใจดี รักตัวเองรักทุกสรรพสิ่งและสุกสรรพสิ่งก็รักเราเช่นกัน บอกตัวเองว่าเรารู้เวลา และมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนในวันนี้

น้องอนุบาล 1 : คุณครูให้นำพี่หลอดกาแฟมาสร้างเป็นสะพานที่ทอดยาวเพื่อไปหาพี่นางฟ้าใจดี

จิตศึกษาพี่อนุบาล 2 : คุณครูให้แปลงร่างพี่ถั่วแดงเป็นพยัญชนะต่างๆ

พี่สายน้ำ พี่แสงเทียน คือตัวแทนความรักของวันนี้ โดยมีน้องอนุบาล 1 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาช่วยกันนำพาความรักแด่ทุกสรรพสิ่ง 

ขอบคุณพี่สายน้ำ พี่แสงเทียนที่เป็นตัวแทนมอบความรักกับทุกสรรพสิ่ง

นอบน้อมต่อสรรพสิ่ง : อนุบาลนอกกะลา

 วันนี้เด็กๆ น่ารักคุณครูมีซาละเปามาฝากทุกคน เราช่วยกันนับ 1-10 (Brian Gym : การบริหารสมองสองซีกแบบเคลื่อนไหวสลับข้าง)

24 มิ.ย. 2555

พัฒนาครูใหม่ : การคิดและเครื่องมือคิด

เย็นวันศุกร์ที่ 22/06/2555 เวลาประมาณ 16:30 น.    
ครูต๋อยนำทีมพัฒนาครูนอกกะลา(ครูใหม่ จาก 3 ปีย้อนหลัง) พัฒนาการคิดและเครื่องมือคิด

"การฝึกคิดครูต้องใช้เครื่องมือกระตุ้นให้เด็กเกิดการคิดในทุกๆ ชั่วโมงและคิดหลายๆ ระดับ" Pantippa Thongmee

เริ่มต้นด้วยกิจกรรม 'โยคะ'
                                           โยคะท่าต้นไม้ที่แข็งแรง :
หายใจเข้าลึกๆ วาดมือทั้งสองข้างประกบกันไหว้เหนือศีรษะของเรากลั่นลมหายใจนับ 1 2 3 4 5 แล้วค่อยๆ วาดมือลงผ่อนลมหายใจออกช้าๆ
                                               โยคะท่าเครื่องบิน :
      ก้าวขาข้างหนึ่งไปข้างหน้า กางปีกเครื่องบินออกโน้มตัวไปข้างหน้ายกขาข้างหนึ่งขึ้นเหมือนเครื่องบินกำลังร่อนค้างไว้นับ 1 2 3 4 5 แล้วก้าวขากลับมาอยู่ท่าเคิม สลับขาอีกข้าง
                                                   โยคะท่าเต่า
                                              โยคะท่าหงส์ (บริหารช่วงหัวไหล่)
                                           โยคะท่างูใหญ่บริหารแผ่นหลัง
                                                โยคะท่าตั๊กแตน
                                                โยคะท่าคันธนู

จากนั้นครูต๋อย ค่อยๆ สอนพวกเราเกี่ยวกับเครื่องมือคิด ทีละอย่างๆ ...
เริ่มจาก..ให้ครูใหม่ทุกคนช่วยคิดว่าขั้นตอนการทำโยคะเป็ยอย่างไร? และมีเป็นหมายอย่างไร?
โดยผ่านเครื่องมือคิด Flow Chart
  เครื่องมือคิดFlow chart จะแตกต่างจาก Mind mapping ที่พวกเรานิยมใช้กัน เพราะจะเห็นลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจนยิ่งกว่า และอธิบายเป็นลำดับๆ ได้ดี

และจากนั้น

21 มิ.ย. 2555

ไหว้คุณครู ' 55

เช้าวันอันแสนสุข ปีติสุขใจ
คุณครูและลูกศิษย์ 'โรงเรียนนอกกะลา'

ลูกศิษย์ต่างทำกรวย พานพุ่ม มาไหว้คุรครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
ผู้ปกครองต่างมาร่วมกันเตรียมสถานที่ เพื่อจัดงานให้คุณครูอย่างตั้งใจ
คุณครูต่างเบิกบาน สุขสำราญใจ กับกิจกรรม 'ไหว้ครู 2555' ปีนี้.













                                                                                         ขอบคุณภาพ
                                                                                        โดย Thanapat Benz

20 มิ.ย. 2555

ทักษะสำคัญทางคณิตศาสตร์ที่ควรเกิดขึ้นกับผู้เรียน

       ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นั้น ทักษะทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจคณิตศาสตร์อย่างแท้จริง ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ควรเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเห็นว่ามีความสำคัญมากต่อนักเรียนที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีดังนี้

1. ความรู้สึกเชิงจำนวน (Number Sense)
ความรู้สึกเชิงจำนวน (number sense) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในใจของบุคคลในด้านความลึกซึ้งเกี่ยวกับจำนวน การรู้ความสัมพันธ์ของจำนวน การใช้ดำเนินการจำนวนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถคิดคำนวณในใจได้แยบยล รู้จักใช้ประสบการณ์เกี่ยวกับจำนวนมาเป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง

2. ความรู้สึกเชิงปริภูมิ (Spatial Sense)
ความรู้สึกเชิงปริภูมิ (Spatial Sense) เป็นความสามารถของบุคคลในการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับขนาด รูปร่าง ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะ มิติ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ทางเรขาคณิต

3. การมองเห็นภาพ (Visualization)
     ตัวอย่างกิจกรรม : การเรียนเรื่องการหาพื้นที่ ผมให้นักเรียนหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู..


      ในแนวทางการสอนวิชาคณิตศาสตร์เราจะไม่มุ้งเน้นสอนให้ผู้เรียนท่องจำสูตรในการ หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู แต่เราจะให้อิสระในวิธีการคิดของผู้เรียนวิธีการใดก็ได้ที่จะได้มาซึ่ง คำตอบ..
ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนักเรียนมีวิธีการคิดที่หลากหลายวิธี นักเรียนบางคนหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อน และหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก แล้วก็นำพื้นที่ที่หาได้มารวมกันเป็นพื้นที่ของสี่เหลี่ยมคางหมู หรือนักเรียนบางคนอาจจะหาพื้นที่ของสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อน แล้วจึงนำพื้นที่ไปลบออกด้วยพื้นที่ของสามเหลี่ยม..
จะ เห็นว่าการที่สอนโดยที่ไม่มุ้งเน้นให้ผู้เรียนท่องสูตร นักเรียนจะมีวิธีการที่นำมาซึ่งคำตอบหลากหลายวิธีมากกว่า เป็นการแก้ปัญหาที่หลากหลายรูปแบบ เราเรียกทักษะใหม่ดังกล่าวว่า ทักษะการมองเห็นภาพ(Visualization)

     การมองเห็นภาพ (Visualization) คือความสามารถของบุคคลในการเห็นสิ่งที่เข้าใจ ได้แก่สถานการณ์ หรือ ปัญหา ออกมาเป็นภาพ ซึ่งแปลจากสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรม เมื่อบุคคลมองเห็นภาพแล้วก็จะนำมาสู่การมองเห็นวิธีที่จะแก้ปัญหาจากภาพที่เกิดขึ้นในสมองได้เป็นอย่างดี

4. การประมาณค่า (Estimation)
ทักษะการประมาณค่า(Estimation) เป็นความสามารถบอกค่าที่ระบุได้ใกล้เคียงกับค่าที่แท้จริงหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ได้แก่ การประมาณค่าใกล้เคียงผลการดำเนินการของตัวเลข การประมาณค่าใกล้เคียงของน้ำหนัก ความยาว ส่วนสูง พื้นที่ ปริมาตร

5. การเห็นรูปแบบความสัมพันธ์ (Patterning)
    ตัวอย่างกิจกรรม : การเรียนเรื่องการบวก ผมให้นักเรียนหาผลรวมของเลขคี่จาก 1 ถึง 99


     การเรียนการสอนในเรื่องดังกล่าว ครูผู้สอนจะมีหน้าที่ชี้แนะหรือกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการคิดคล่อยตามโจทย์ เพื่อให้นักเรียนจับจุดให้ได้ว่าจาก 1 ถึง 99 มีเลขคี่อยู่กี่ตัว โดยครูผู้สอนจะค่อยชี้แนะนักเรียนโดยใช้คำถามให้นักเรียนคิดตาม เช่น “ผลร่วมระหว่างตัวเลขที่อยู่ปลายทั้ง 2 ด้าน มีค่าเป็นเท่าไรครับ?” ถ้านักเรียนยังไม่เห็นภาพ ครูผู้สอนจะใช้คำถามเพื่อเชื่อมโยงให้นักเรียนเห็นภาพ “แล้วพี่ๆ คิดว่า 3+97 มีค่าเป็นเท่าไรครับ?” พอครูใช้คำถามเชื่อมโยงให้นักเรียนเห็นภาพเรื่อยๆ นักเรียนจะเริ่มเห็นภาพของคำตอบชัดเจนขึ้นด้วยตัวเองด้วยความอยากรู้อยากเห็น..

ถ้านักเรียนเห็นรูปแบบ(Patterning) นักเรียนก็จะจับจุดได้ว่าจาก 1 ถึง 99 มีเลขคี่อยู่ 50 ตัว สามารถจับคู่ได้ 25 คู่ แล้วนักเรียนก็จะสามารถแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องจับเลขมาบวกเรียงกันทีละตัว...

การเห็นรูปแบบความสัมพันธ์ (Patterning) คือ การเห็นสิ่งที่สัมพันธ์ เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงของรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กัน ซึ่งทำให้เกิดการเข้าใจความสัมพันธ์อันลึกซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า ความสัมพันธ์นี้เป็นอย่างไร เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นอย่างไร หรือ มีรูปแบบทั่วไปอย่างไร สามารถมองทุกจุดของความสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี

6. การแก้ปัญหา (Problem Solving)
ทักษะการแก้ปัญหาเป็นความสามารถออกแบบวิธีแก้ปัญหา ประกอบไปด้วยการคิด วิเคราะห์ปัญหา แล้วสร้างแบบจำลองขึ้นมา และเลือกวิธีแก้ปัญหาตามความเหมาะสม

7. การให้เหตุผล (Reasoning)
      การให้เหตุผลคือการถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นฟัง ซึ่งอาจเป็นลักษณะบรรยาย หรือ ถามตอบ ซึ่งสามารถอธิบายเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นให้ผู้อื่นฟังได้ว่า มีวิธีคิดอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

8. การรู้ตัว (Meta Cognition)
การรู้ตัว (Meta Cognition) คือ ความสามารถรู้ความคิดตัวเองว่าถูกต้อง หรือ ไม่ โดยไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นบอกว่าผิด หรือ ถูก แต่จะใคร่ครวญด้วยตนเอง หรือ นำแนวคิดของคนอื่นมาพิจราณาด้วยเหตุผลจนเกิดการเข้าใจที่ถูกต้องได้ด้วยตนเอง

9. การสื่อสาร (Communication)
การสื่อสารคือการใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อความหมาย และนำเสนอสามารถถ่ายทอดความเข้าใจของตัวเอง สู่ผู้อื่นโดยออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษา สัญลักษณ์ การนำเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อสาร