"การเรียนรู้แบบPBL แบบลำปลายมาศพัฒนาจึงเป็นการเรียนรู้ที่เด็กๆ จะได้ผสมผสานแต่ละวิชา
พอเด็กลงมือแก้ปัญหา ก็จะเจอเครื่องมือในการแก้ปัญหาขึ้นมา ค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะกับตัวเอง
พบคำตอบที่ตัวเองเด็กๆ ก็จะได้สร้างองค์ความรู้หนึ่งขึ้นมาเองใช้ได้จริง ปฏิบัติได้จริงตามบริบทของเด็กคนนั้น."
-ครูใหญ่
ในสัปดาห์นี้พี่ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือด ในวันจันทร์คุณครูจึงทบทวนถึงการทดลองในสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากเกิดความผิดพลาดขณะทำการทดลองคุณครูจึงนำเหตุการณ์นั้นมาให้พี่ๆได้เรียนรู้ พี่ๆ ได้แลกเปลี่ยนร่วมกันในเรื่องที่บิกเกอร์แตกว่ามาจากสาเหตุอะไร
พี่ออสติน: “จากที่ได้ไปศึกษาน่าจะเป็นการกระจายตัวของความร้อนครับ น่าจะร้อนแค่ตรงฐานครับ”
พี่ปุน: ”อถณหภูมิของน้ำในแก้วต่ำกว่าด้านนอกครับความแตกต่างของอุณหภูมิทำให้แก้วแตกครับ”
คุณครูสังเกตเห็นว่าจาการที่ให้คำถามเป็นการบ้านในสัปดาห์ที่แล้วพี่ๆมีความกระตือรือร้นที่จะหาคำตอบและเรียนรู้เป็นอย่างดี เพื่อนๆ ที่ไม่มีความพร้อมในการสืบค้นข้อมูลในช่วงวันหยุดก็ได้เรียนรู้ร่วมไปกับเพื่อนอีกด้วย
จากนั้นคุณครูจึงให้พี่ๆ แต่ละกลุ่มทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือดทั้งของมนุษย์และสัตว์ ขณะทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูล พี่ๆ บางส่วนให้ความสนใจและมีความกระตือรือร้นเป็นอย่างดี แต่มีพี่บางส่วนที่ไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควรเช่นพี่ปังปอน พี่โจเซฟและพี่บอล จากที่ได้ศึกษาข้อมูลแล้วพี่ๆได้ทำการแลกเปลี่ยนกัน
_จากนั้นแต่ละกลุ่มจึงได้นำเสนอความเข้าใจเรื่องระบบหัวใจของมนุษย์และสัตว์ผ่านชาร์ตความรู้ ขณะที่ดำเนินการทำงานกลุ่มของพี่มิลค์ซึ่งมีสมาชิกคือพี่กระต่าย พี่โจเซฟ พี่ซิลดี้ พี่ปังปอนด์ ได้แบ่งหน้าที่กันคือให้พี่ซิลดี้เก็บรายละเอียดงานVDO ที่ยังตัดต่อไม่เรียบร้อย และให้เพื่อนๆที่เหลือทำชาร์ตความรู้ปรากฏว่า พี่กลุ่มนี้ได้อธิบายว่าไม่มีข้อมูลจึงวาดไม่ได้และยังรบกวนเพื่อนกลุ่มอื่นๆอีกด้วย เบื้องต้นคุณครูจุลจึงคุยเพื่อทำความเข้าใจกับพี่ๆ
เพื่อเป็นการซักซ้อมความเข้าใจก่อนลงมือผ่าตัดหัวใจคุณครูจึงได้ให้พี่ๆ ดูนิทานชีวิตเรื่องระบบหัวใจ พี่ๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างดี
พี่ไอดิน: “ดูแบบนี้เข้าใจดีนะคะครูสนุกด้วยคะ”
พี่เพชร: ”ดูแบบนี้มันไม่น่าเบื่อดีครับไม่เหมือนไปอ่านข้อมูล”
จากนั้นพี่ๆ ม.1 จึงได้ทำการวางแผนเพื่อผ่าตัดหัวใจหมูโดยครูป้อมได้พูดคุยกับพี่ๆ เรื่องการเตรียมอุปกรณ์และการแบ่งกลุ่มที่เกิดความเท่าเทียมและเสมอภาคกัน ก่อนการผ่าตัดจริงครูป้อมได้พูดคุยทบทวนข้อตกลงขณะทำการผ่าตัดกับพี่ๆ ม.1 เพื่อย้ำทวนความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง
และครูป้อมยังย้ำให้พี่ๆ เห็นความสำคัญของหัวใจหมูที่นำมาผ่าตัดว่ามาจากเงินของผู้ปกครองที่เสียสละเพื่อให้พี่ๆเกิดการเรียนรู้
พี่เพลง: “ครูครับจะผ่าอย่างไรครับ”
พี่ค็อป: “ครูครับไม่เห็นเป็นห้องๆ เหมือนในคลิปเลยครับ”
พี่ซิลดี้: “ครูค่ะ ลิ้นอยู่ตรงไหนค่ะ”
เกิดคำถามจากพี่ๆ มากมายขณะทำการทดลอง เกิดปัญหาที่ได้เรียนรู้ร่วมกันเช่นผ่าผิดด้านมองไม่เห็นห้องหัวใจ หัวใจหมูที่ทำการผ่าตัดต่างจากใน
รูปที่ศึกษามา หลังจากทุกกลุ่มทำการผ่าตัดเรียบร้อยจึงได้มีการอภิปรายร่วมกันจากปัญหาที่เกิดขึ้นครูณี ตั้งคำถามกับพี่ๆ ม.1ว่าได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้
พี่อังอัง: ”ได้เรียนรู้ว่าหัวใจจริงหาห้องหัวใจยากมากคะ ต่างจากที่ค้นข้อมูลมามากเลยคะ”
พี่เพลง : ”ก่อนจะผ่าตัดดูคลิปมาหลายรอบมากเลยครับดูเหมือนง่ายแต่พอผ่าจริงๆยากมากเลยครับหาเส้นเลือดอะไรก็ไม่เจอ ไม่รู้ว่าห้องไหนเป็นห้องไหนครับ”
_คุณครูดอกไม้จึงอธิบายระบบการทำงานของหัวใจอีกรอบผ่านโมเดลจำลองแล้วพี่ๆจึงได้สรุปความเข้าใจเป็นของตนเอง
ลงในกระดาษ 100 ปอนด์(ขนาดA4)
PBLคู่ขนาน-byครูป้อม..
_ข้าวตอนนี้งามมากและออกรวงเต็มแปลงนา เด็กๆ กับครูชื่นชมความงามผ่านกิจกรรมในเช้าวันแรกของสัปดาห์_สัมผัสรักจากจากแปลงนา 'ข้าวออกรวง' กิจกรรมจิตศึกษาเช้านี้เริ่มด้วย
เปลี่ยนมาเป็นนาข้าวที่เด็กๆ และผู้มาเยี่ยมเยือนต่างแลเห็น - นึกถึงความร่วมมือของผู้ปกครอง นักเรียน ครู ที่ต่างช่วยกันทำแปลงนาจนถึงวันนี้ /ขอบคุณโอกาสที่มาสร้างการเรียนรู้ให้กับลูกๆ ครับ
- นึกถึงความรู้สึกแวบแรกของความรู้สึกที่เห็นข้าวออกรวง ความงามไสวของปลายข้าวที่ลู่ลม โบกสะบัดพลิ้วไหว เปรียบดังผิวคลื่นตามท้องทะเล *ระยะทางที่ต่างทำร่วมกันด้วยความลำบาก/สนุก/ท้าทาย ทุกคนได้เรียนรู้แลเติมเต็มความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการทำนา เช่น การเพาะกล้า นาโยน ข้าวแช่แกบดำในกระด้ง รับขวัญข้าว ฯลฯ
_ผ่านความสงบ อิ่มเอมกับสิ่งที่เกิดกับแปลงนา เช้าวันเราต่างพูดคุยสนทนากันระหว่างครูกับศิษย์ด้วยบรรยากาศอันรื่นรมย์.. /ด้วยไมตีจิต.
จากสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์พี่ไอดินถ่ายทอดผ่านภาษาอังกฤษ บ่งบอกความรู้สึกภายใน
We can almost never imagine that some thing that 34 hands changed a plain little patch into a rice pad that is the most sensible to feel the love that every helping hand that made it come to this day that the rice is almost ready to harvest.It is not an easy path before now there where struggles troubles and fun . Now any one can sense the swirling tips of the rice through the flowing wing in winter's beginning.