23 ม.ค. 2559

วางแผนและออกแบบกระบวนการเรียนรู้PBL :Where we stand?

"ในการเรียนรู้วิชาบูรณาการ (Problem Based Learning) 
ของพี่ๆ ม.1 ในQuarter 4/2558 นี้ ตอนนี้เรียนอยู่2 PBL"
ในสัปดาห์นี้นักเรียนเข้าสู่ในขั้นวางแผนออกแบบการเรียนรู้ทั้งสองPBL ให้เสร็จในสัปดาห์นี้ ในส่วนของหน่วย "ท่องเที่ยวรอบโลก" 
ครูชวนนักเรียนทบทวนเนื้อหาเดิมก่อนการเรียนรู้และร่วมพูดคุยกิจกรรมที่ผ่านมาในการสร้างแรงบันดาลใจ
_ทุกคนมีความกระตือรือร้นในการตอบคำถามและให้ความสำคัญในการเรียนรู้หน่วยนี้เป็นอย่างดี ครูเริ่มต้นด้วยให้นักเรียนที่ยังค้างนำเสนอหนังสือเล่าต่อจนครบทุกคน และทุกคนร่วมกันขมวดความเข้าใจผ่านการแสดงความคิดเห็นต่างๆ มากมาย

เช่น พี่ปุณมองเห็นมิติความเชื่อมโยงของมวลมนุษย์ทั่วโลก, พี่บีทมองว่าวัฒนธรรมต่างๆ มีความหลากหลาย เหล่ามนุษย์มีความเคารพกันในเรื่องเชื่อชาติเผ่าพันธุ์ ฯลฯ
ครูจึงเริ่มเข้าสู่การเลือกซื่อหน่วย โดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?” ก่อนให้ทุกคนเขียนลงในกระดาษแผ่เล็กก่อนที่นำไปติดบนกระดาน และช่วยกันขมวดจนได้หัวข้อ คือ “ประเทศ”  และครูใช้คำถาม “นักเรียนคิดว่าชื่อหน่วยที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?” ก่อนที่ทุกคนจะได้ร่วมแสดงความคิดเห็น จนสุดท้ายได้ชื่อหน่วยคือ

 –Where we stand-
จากนั้นทุกคนเขียน สิ่งทีรู้แล้ว / สิ่งที่อยากเรียนรู้ ลงในกระดาษ Think พอทุกคนเขียนเสร็จครูให้จับกลุ่ม 3-4 คน เพื่อขมวดช่วยกันเขียนอีกครั้ง Pair และสุดท้ายทุกคนนำงานที่ได้ทุกคนชิ้นมาร่วมเขียนลงกระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่ Share ก่อนครูจะนำชิ้นงานดังกล่าวมาติดเพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนตลอดการเรียนรู้ในQuarterนี้
ชิ้นงานWall Thinking.
หลังจากนั้นครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อร่วมกันออกแบบวางแผน ร่วมกันสร้างปฏิทินการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์ โดยพี่เพชรกับพี่ไอดินช่วยเพื่อนๆ ขมวดเนื้อหาที่น่าสนใจ ในการเรียนตลอดQuarterนี้ โดยวางสัปดาห์ 1, 2 กับ 10 เป็นโครงเดิม

สุดท้ายแล้วครูร่วมกับนักเรียนช่วยกันจัดระบบข้อมูล เพื่อให้เนื้อหาของผู้เรียนไม่หลุดจากที่ครูวางแผนไว้ก่อนหน้านี้ และหลังจากนั้นนักเรียนทำMind Mapping(ก่อนเรียน)

ส่วนในสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์และ

บันทึกกิจกรรมคู่ขนานเป็นการบ้านเสาร์-อาทิตย์ เนื่องด้วยเวลาเรียนไม่เพียงพอครับผม...

14 ม.ค. 2559

ครูสร้างฅน ฅนสร้างชาติ

ถอดคำพูดครูใหญ่จาก...
(ครูแบบไหนที่ชาติต้องการ)

          สิ่งใดก็ตามที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และงอกงาม สิ่งนั้นเราเรียกว่า 'ครู' ความเป็นครูจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรามีความเคารพต่อผู้เรียน สามารถสร้างการเรียนรู้และสังเกต เกิดการงอกงาม เข้าใจถึงปัญหาและเกิดปัญญา เพราะความเข้าใจและปัญญาไม่สามารถเรียนรู้แบบจับยัดได้
         การเคารพในฐานะของผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน เคารพในการเป็นการเป็นผู้สืบต่ออารยะธรรมซึ่งวันหนึ่งเราต้องจากไป การสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สร้างการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง กระบวนการที่จะสร้างครูได้คือการสร้างกระบวนการให้ครูเรียนรู้ร่วมกัน นำสิ่งที่เจอ ปัญหาต่างๆมาพูดคุยสะท้อนตัวเอง จะเกิดการเรียนรู้ ก่อให้เกิดทักษะในการสอน ไม่ใช่ต่างคนต่างสอน การสร้างปัจจัยหลายอย่างให้ครูไม่ต้องมีการสอน ไม่มีการอบรม ไม่มีการเปรียบเทียบเด็ก สอนเด็กด้วยเสียงที่เบาเพราะเป็นการเคารพต่อกันในการสร้างการเรียนรู้กันและกันทุกคนจะเรียนรู้และทำความเข้าใจนั้นด้วยตนเอง โดยมีครูคอยประคับประคองว่าแต่ละคนเป็นอย่างไรบ้างและคอยช่วยเหลือเอื้ออำนวยให้เค้างอกงามต่อ โดยไม่ตัดสิน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทำให้ครูมีความเข้าใจในการสอน มีอุดมการณ์และอุดมคติ อุดมการณ์คือสิ่งที่อยากมาทำงานและทำอย่างมีความหมายโดยมุ่งไปที่ผลของเป้าหมาย

         การสอนให้เป็นคนดี สอนจากปากไม่ได้ คุณธรรมจริยธรรมจะต้องผ่านการบ่มเพาะ โดยมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวย 1 วันแห่งการเรียนรู้จะมีกระบวนการบ่มเพาะปัญญาภายใน คุณธรรมและความฉลาดด้านอารมณ์ โดยผ่านกิจกรรมที่มีเหตุผลดีงาม ได้นำหลัก “ปฏิเวธ” ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติเข้ามา เด็กจะนั่งฟังกันด้วยความเคารพ ช่วงเช้าเป็นพิธีกรรมแห่งความสงบและมีความหมาย ต่อจากนั้นคือการบ่มเพาะปัญญาจากภายในคือการอยู่กับตัวเองอย่างมีสติ เคารพตัวเอง เรียนรู้ความสัมพันธ์ของตนเอง เห็นตัวเองกับโลกและจักรวาลที่เชื่อมโยงกันอยู่ ช่วงเย็นในช่วงก่อนกลับบ้านก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นการเรียนรู้ผ่านหนังสือแบบซ้ำๆ เป็นขั้นตอน

เนื้อหาบทเรียน ทำแบบฝึกหัด ข้อสอบวัดผล อาจทำให้เด็กเรียนรู้ได้บ้าง แต่ครูจะไม่ได้เรียนรู้เลย

สถานที่ที่สร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องส่งผลให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในชีวิต ส่งผลให้ครูมีทักษะในวิชาชีพและทักษะชีวิต ส่งผลให้เพื่อนที่เห็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ เห็นคุณค่าของงานที่ทำร่วมกันซึ่งต้องใช้เวลา การสร้างองค์กรให้เหมือนชุมชน มีความร่มรื่น สะอาด ปลอดภัย ที่จะให้เกิดการใคร่ครวญ มีเหตุมีผล มีวิถีปฏิบัติที่คงเส้นคงวา ที่ครูทุกคนร่วมกันกำหนดตั้งแต่แรก ระหว่างที่อยู่ในองค์กรมีกระบวนการที่ก่อให้เกิดสัมพันธภาพทางบวก มีการสร้างกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ การใคร่ครวญ กิจกรรมเหล่านั้นเริ่มจากฐานปฏิบัติ เมื่อครูทุกคนลงหน้าไปคลุกคลีกับเด็กจะพบเจอสถานการณ์ปัญหาต่างๆ และนำเอาปัญหาเหล่านั้นมาพูดคุยใคร่ครวญ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหานั้นได้ด้วยชุดความรู้เล็กๆ ที่ก่อให้เกิดทักษะความเข้าใจ สุดท้ายแล้วองค์ความรู้นั้นไม่ได้เกิดจาการนำทฤษฎีมาจากข้างนอก แต่เกิดจากการปฏิบัติจริง หล่อหลอมนวัตกรรมเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงเกิดเป็นความเข้าใจตรงกันโดยไม่ต้องถกเถียงกันอีก เพราะกระบวนการต่างๆ ทำให้กลับมาทบทวนตัวเองอยู่แล้วทุกปี ทุกสิ้นปีการศึกษาจะมีการให้ครูตั้งคำถามกับตัวเองทุกเรื่อง บางอย่างที่ทำเป็นเพียงพิธีกรรม ที่ไม่เกิดผลอย่างเจตนารมณ์ ก็จะทบทวนเพื่อทำใหม่ การสะท้อนซึ่งกันและกันรวมถึงตัวเองบ่อยๆ นำไปสู่การเป็นครูจริงๆ การพิจารณาถึงเด็กแต่ละคนที่เราจะไม่ละทิ้งใครแม้แต่คนเดียวด้วยเกณฑ์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ สามารถงอกงามได้ เป็นศรัทธาของเรา การเรียนรู้วิชาชีพนี้จะหล่อหลอมวัฒนธรรม การสร้างการเรียนรู้ขึ้นมากลายเป็นการสร้างครูขึ้นมา

โดยธรรมชาติแล้วคนเราจะตั้งคำถามกับตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าจะช้าหรือเร็ว การตั้งคำถามว่าเราเกิดมาทำไม และการพยายามตอบคำถามตัวเองด้วยวิธีการต่างเกิดขึ้น ไม่ว่าจะได้คำตอบหรือไม่ การมีคำถามจะทำให้เกิดการใคร่ครวญและเราจะรู้ตัวเองว่าเราจะต้องทำอะไร นั่นก็คือการไม่ลืมตัวเองและไม่กลัวว่าคนอื่นจะลืมเรา การทบกวนถึงสิ่งที่เคยทำมาแล้วแต่นึกไม่ออกว่าต้องทำอะไรนั่นคือการลืมตัวเอง

10 กว่าปีผ่านมาได้ทบทวนและอยากจะทำอยู่ 2 อย่าง เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายเดียวนั่นคือ หนึ่ง คือการศึกษา สอง คือทำวรรณกรรม จึงตัดสินใจที่จะทำและเห็นปัญหาการพัฒนาครู มีกระทรวงศึกษาธิการที่มีวิธีการเดียวคือการจัดการอบรมใช้งบประมาณมหาศาลแต่ไม่ได้ผล ทุกคนก็ทราบดีแต่ก็ยังทำเหมือนเดิม จึงควรค้นหาทางเลือกในการอธิบายให้ทางเลือกกับสังคม เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทำคือทางเลือกหนึ่ง การพัฒนาตัวเองอย่างไรและพัฒนาเด็กอย่างไร

คุณสมบัติสำคัญของครูคือรู้จักใคร่ครวญเรื่องชีวิตผ่านการอ่าน การฟัง การเฝ้าดูชีวิต ถ้าเราเริ่มเห็นสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างไร เราก็จะเห็นเด็กด้วย เห็นแบบทั้งเนื้อทั้งตัวและเราจะไม่กล้าตัดสินด้วยแง่มุมที่หยาบ

ครูแบบไหนที่โลกต้องการ น่าจะเป็นครูที่เห็นเป้าหมายไกลๆที่จะพัฒนาเด็กไปสู่มุมกว้าง ไม่ให้เห็นเพียงขอบเขตของประเทศ เพราะเวลาที่เราพูดถึงชาติ เรามักจะพูดถึงการสร้างคนให้มาแข่งขันกันและทุกครั้งที่พุดถึงการแข่งขันกันก็จะพูดถึงเรื่องของเศรษฐกิจ ท่ากับการชักนำเด็กไปสู่กลไกของความทุกข์ ความอยากมาล่อหลอก ถ้าเห็นไกลกว่านั้นก็จะมองเห็นถึงความเคารพที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างภราดรภาพ ครูของโลกจะต้องไม่ละทิ้งใคร เพราะคนนั้นจะกลับมาทำปัญหาให้ตัวเองและคนอื่น ดังเช่นตัวอย่างที่พระอาจารย์ยกคือ จะไม่ละทิ้งและอุ้มชูได้ที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ยังดีกว่าที่เราละทิ้งเค้าแล้วเค้าสร้างปัญหา นอกเหนือจากนี้เป็นเชิงเทคนิค

ประเทศชาติเราเจอปัญหาใหญ่คือ ครูที่ยังสร้างการเรียนรู้ไม่เก่งและยังตกร่องความคิดและปัญหาใหญ่ สิ่งที่ทำได้คือสร้างกระบวนการใหม่ๆ

หลังจากนั้นพิธีกรเริ่มเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ถามคำถาม 
คนแรกคือ คุณโจน จันใด ผู้ซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบโฮมสคูลให้กับลูกชาย ซึ่งได้มองว่าการเลี้ยงดูลูกสนับสนุนโดยไม่สอนเค้า เป็นการให้อิสรภาพที่ยิ่งใหญ่ เพราะถ้าการเรียนโดยถูกบังคับแค่จำและจบการศึกษา แต่การเรียนด้วยความชอบจะทำได้เรื่อยๆ คุณโจนตั้งคำถามว่าปัญหาที่ครูใหญ่เจอมีอะไรบ้าง ซึ่งเป็นปัญหาที่คนทั่วไปไม่เข้าใจ และไม่ยอมรับ

· ไม่มีเด็กที่ไม่อยากมาโรงเรียน
· ไม่ดูการลงเวลาของครูแต่ตลอด ๑๒ ปีที่ผ่านมาไม่เคยมีเด็กห้องไหนถูกทอดทิ้งแม้แต่ห้องเดียว

ส่วนของการวัดผลประเมิน หัวใจคือกระบวนการที่ทำให้รู้เด็กและส่งต่อ เพื่อช่วยไม่ใช่กระบวนการรู้เด็กแล้วตัดสิน อีกทั้งร่องเดิมของการศึกษาที่มองเป้าหมายในวงแคบคือมองที่ความรู้เป็นหลัก การที่จะเอาชนะได้คือการเซาะร่องเดิม เพราะฉะนั้นกระบวนการของลำปลายมมาศคือ ทำให้เห็นสิ่งใหม่ที่มีทางเลือกหลากหลาย การประเมินจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำเสมอตลอดการเรียนรู้ ถ้าครูไม่สร้างตัวประเมินเราจะไปไม่ถึงทิศทาง เพราะตัวประเมินจะเป็นตัวบอกว่าเรามาถูกทางหรือไม่ ซึ่งประเมินได้จากการที่เด็กใช้กระบวนการ มีชิ้นงาน นำไปโยงและทำเป็น Rubik ไว้ โดยที่เด็กต้องรู้ตัวเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้ตัดสิน ให้เด็กรู้ค่าและจะเรียนรู้ด้วยตัวเอง ถ้าไม่อยากมีปัญหาในส่วนเขตการศึกษาเราก็จะลิงค์ไปยังตัวชี้วัดในมาตรฐาน โรงเรียนแห่งนี้ไม่มีการสอบ ยกเว้นการสอบระดับชาติ ที่ต้องสอบตามกฎหมาย การสอนให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้มีความคิด และเป็นตัวเอง เด็กจะสนุกมาก

“ ถ้ามนุษย์คนหนึ่งเติบโตมาแล้วไม่ได้เป็นตัวเอง
ต้องเป็นแต่สิ่งที่คนอื่นอยากให้เป็น ไม่น่าจะเป็นมนุษย์ ไม้ดัด บอนไซ ”

การถามคำถามดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องไปสู่ผู้ร่วมงานคนที่ ๒ อาจารย์หมอชูเกียรติ แพทย์แผนไทยและนักธุรกิจ ได้พูดถึงแนวทางที่เห็นด้วยบางอย่างและบางอย่างที่ไม่เห็นด้วยในเวลาเดียวกัน คำถามแรกเกิดแนวคิดที่บอกว่าครูที่โลกต้องการจะต้องเป็นครูที่มีเป้าหมายกว้างๆ เป้าหมายที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลที่อาจมีมากกว่าหนึ่งเป้าหมายหรือแม้แต่บางคนไม่มีเป้าหมายของชีวิตเลย สิ่งต่อมาคือถ้าทุกคนทำตามเป้าหมายของตนเองก็อาจจะเหยียบย้ำผู้อื่น สิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีเหมือนกันคือจุดมุ่งหมายของชีวิต ซึ่งหากถ้าเราไปบอกคำตอบว่าจุดมุ่งหมายของชีวิตคืออะไร ก็จะเกิดการยัดเยียดและหลงระเริงไปกับสิ่งตนเองรู้แล้ว จุดมุ่งหมายของทุกคนคือความสุขอย่างมีเสรีภาพ มีความยุติธรรม และนี่คือคำตอบแต่คนจะไม่เข้าใจ จึงเกิดคำถามที่ว่าหากเราเดินกันไปโดยไม่มีการทดสอบว่าเด็กมีพัฒนาการไปถึงไหน ถ้าเรามัวแต่ตามหาเป้าหมายมาเป็นกฎเกณฑ์การเรียนการสอน ครูในสถาบันการเรียนการสอนหรือแม้กระทั่งชุมชนที่จะมีการแตกตัวในการสร้างระบบการศึกษาที่แตกต่างกัน สุดท้ายก็จะเป็นในลักษณะของรัฐฉานซึ่งจะเป็นปัญหาที่จะตามมา การเรียนการสอนที่พัฒนาไปถึงจุดนี้ไหม ถ้าจุดมุ่งหมายของชีวิตที่เหมือนกันทำไมเราไม่สร้างกฎเกณฑ์ไปสะท้อนจุดมุ่งหมายของชีวิตที่มีเหมือนกัน ถ้าตั้งกฎเกณฑ์ไปสู่การเจริญวุฒิของตัวเองและสังคมก็จะเป็นการสื่อสารของคนทุกชาติได้เหมือนกัน คำถามต่อมาคือครูที่ดีจะต้องหาความรู้และสิ่งที่เด็กเกิดความสันทัด มีความรู้ มีความชำนาญและส่งเสริม จึงเกิดเป็นปัญหาสังคมที่ว่าเป็นการส่งเสริมในสิ่งที่เค้าดีทำให้เป็นกดงำปมด้อยปัญหาสังคมจึงเกิด ดังที่พระอาจารย์บอกว่า “แม่กับลูกเกิดพร้อมกันและจะเรียนรู้การเป็นแม่และการเป็นลูก” เช่นเดียวกับที่บอกว่าครูที่ดีจะต้องส่งเสริมสิ่งที่ดีแต่เราเลี่ยงที่จะไปแตะปมของเค้า เพราะถ้าสองสิ่งนี้ไม่ไปควบคู่กันปัญหาสังคมก็จะเกิด นี่คือความแย้งที่ได้จากการฟังวันนี้ ส่วนคำถามที่เตรียมมา นั่นก็คือผู้นำกับครูต่างและเหมือนกันอย่างไร,ผู้บริหารกับครูต่างกันอย่างไร ผู้ตามกับครูต่างและเหมือนกันอย่างไร

ครูใหญ่ได้ในตอบออกมา ๒ คำตอบ หนึ่งคือเราจะพัฒนาจุดด้อยของเด็กอย่างไร ซึ่งเราจะไม่ทำสองเรื่องนั่นคือ ไม่ชี้ผิดผิดกับไม่ชี้ถูกเราจะไม่เล่นบทขอองพระเจ้าที่ตัดสิน แต่เรามีหน้าที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้ให้เด็กรู้ว่าตัวเองผิดอย่างไร ซึ่งครูจะต้องเก่งมากที่จะต้องทำให้เด็กเค้ารู้ สะท้อนและแก้ไขได้ด้วยตัวเองสำคัญมาก

         พระอาจารย์ได้ตั้งคำถามที่ว่าการไม่ชี้ผิดชี้โทษจะมีวิธีการอย่างไร ครูใหญ่ได้ให้วิธีแก้ซึ่งไม่ใช่เป็นการตัดสินแล้วผ่านเลยแต่จะเป็นการเชิงการให้เด็กเปิดใจเล่าให้เราถึงสิ่งที่เกิด ถ้าเด็กถูกตั้งคำถามเด็กจะค่อยๆรู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วควรจะทำอะไรต่อไป ซึ่งคำถามเหล่านี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา หากตลอดเวลาเรามีความเคารพในตัวผู้เรียนว่าเค้าสามารถเรียนรู้ที่จะข้ามผ่านเรื่องพวกนี้ไปได้ ทุกเหตุการณ์ที่มีการนำครูแต่ละคนมาพูดคุยถึงปัญหาของแต่ละคนก็จะเป็นการแก้ปัญหาร่วมกัน ครูก็จะเป็นครูที่มีเทคนิคมากขึ้นและตอบสนองต่อสถานการณ์ได้แบบเร็วและไม่เสียหลักการเคารพกันให้เด็กได้เรียนรู้เพื่อยกระดับตัวเองจริงๆเพราะถ้าเราให้เค้าได้เรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ภายในที่แข็งแกร่ง เค้าจะค้นพบสิ่งต่างๆได้เร็วมาก ในส่วนของคำถามเกี่ยวกับผู้นำและผู้ตาม เนื่องจากมีหลายครั้งที่ได้พบเจอกับการทำงานของครูใหญ่มักมีผู้ถามว่าเคยท้อและเหนื่อยบ้างไหม นั่นเป็นสิ่งที่ครูใหญ่จะไม่คิดและห้ามพูดเพราะมันทำให้เสียเวลา ความไม่ลังเลสงสัยทำให้เกิดข้อแตกต่างของผู้นำและผู้ตามแล้ว ส่วนความเหมือนนั่นก็คือเราคือมนุษย์เหมือนกันเรามีความต้องการบางอย่าง มีหัวใจ มีอารมณ์ความรู้สึกเหมือนๆกันและข้อเหมือนเหล่านี้อย่าทิ้ง เพราะเธอฉันเจ็บปวดเหมือนกันแต่เรามีความเข้มแข็งที่จะเดินไปสู่เป้าหมายต่างกัน ถ้าเราละทิ้งอารมณ์ความรู้สึกเราก็จะนำพาเค้าไปไม่ได้เหมือนกัน เราก็จะกระด้าง

ครูผักกาด :ถอดความ /ครูป้อม: เรียบเรียง