21 มี.ค. 2554

วิธีคิดและระบบการจัดการเรียนการสอน(นิวซีแลนด์)

      เมื่อเช้านี้ผมได้กระดาษ 1 แผ่น จากครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง ให้ผมอ่านแล้วถอดเนื้อหาจากบทความมาเล่าให้ท่านฟัง เนื้อหาดังกล่าวเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ 'การเรียนการสอนแบบเปิด (Open Approach) และการวิจัยบทเรียน (Lesson Study)' 
     ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ดีมากเลยทีเดียวครับ ซึ่งมี รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ผอ.ศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้สะท้อนมุมมองและเสนอแง่คิด บทความดังกล่าวมีคุณค่ามากเกินกว่าผมจะสรุปแล้วผ่านไป ผมจึงอยากร่วมสะท้อนอีกช่องทางหรืออีกมุมมองหนึ่ง เพื่อเป็นการเปิดมุมมองให้หลากหลายในเรื่องการจัดรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
ผมขอยกกรณีตัวอย่างระบบการจัดการเรียนการสอนของประเทศนิวซีแลนด์ให้ผู้อ่านได้ศึกษา ซึ่งถ่ายทอดมาจากblogspotของอาจารย์วิบูลย์ แมนสถิตย์ ซึ่งท่านได้เขียนอธิบายเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในอีกมุมหนึ่งที่คุรครูหลายๆ ท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ไม่ยากเลยครับ..


     ระบบการบริหารจัดการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ ดูแล้วมีความละม้ายกับระบบการจัดการศึกษาของเรามาก วิธีคิดและระบบการจัดการเรียนการสอน หากจะศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้ย่อมจะช่วยประหยัดเวลา ซึ่งมีความน่าสนใจมาก ดังนี้

1. หลักการการให้ความสำคัญในการจัดการศึกษา
1) เน้นความสำคัญที่ระบบการเรียนรู้มากที่สุด
2) เชื่อมโยงกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและ
3) ระบบกิจกรรมในระบบการเรียนรู้

2. ระบบการเรียนรู้ ครูดำเนินการภายใต้ 4 กระบวนการ
1) การจัดทำหลักสูตรและวางแผนการสอน
2) การเตรียมการสอน
3) จัดการเรียนรู้
4) ประเมินผลและวางแผนปรับปรุง

2.1 การจัดทำหลักสูตรและวางแผนการสอน ใช้หลัก 4 ประการ
1) จัดการเรียนการสอนตามระดับความสามารถของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนประสบความสำเร็จ
2) สนับสนุนให้เด็กมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ รวมทั้งมีความเต็มใจที่จะเรียนรู้ ทดลองสิ่งใหม่ ๆ
3) จัดการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็กที่แตกต่างกัน
4) กำหนดสภาพความสำเร็จ และตัวชี้วัดสำหรับประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

2.1.1 ระดับประถมศึกษาทุกขนาด
• ให้ความสำคัญกับการรู้ภาษา คือการอ่าน และการเขียน พร้อมกับวิชาคณิตศาสตร์เป็นสำคัญ
• สาระอื่น ๆ ใช้วิธีบูรณาการ
• ทุกวัน จะเรียนเรื่องภาษา 2 คาบ คณิตศาสตร์ 1 คาบ เพราะเป็นพื้นฐานสำหรับการคิดและการเรียนรู้ทั้งปวง
• ส่วนวิชากลุ่มสาระ มักจัดตารางรวมไว้ตอนบ่าย โดยจัดเป็นหัวข้อและให้บูรณาการกลุ่มสาระต่าง ๆ
• โรงเรียนจะจัดให้หลักสูตรยืดหยุ่นพอสมควร เช่น บางโรงเรียนมีการสอนศาสนา บางแห่งเรียนเรื่องท้องถิ่น

2.1.2 โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา
• มักจะเป็นโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่
• จัดการศึกษาแยกกลุ่มสาระชัดเจน นักเรียนมีโอกาสเลือกรายวิชาได้มากขึ้น เพื่อให้เด็กค้นพบตนเอง
• หลาย ๆ วิชารวมกัน จะมีลักษณะเป็นกิจกรรมในหลักสูตร เช่น ด้านช่าง ศิลป์ ดนตรี การแสดง ซึ่งนักเรียนจะทำต่อเนื่อง เป็นกิจกรรมนอกเวลา

2.2 การเตรียมการสอน
    โรงเรียนให้บทบาทครูกับเรื่องการสอนเป็นส่วนสำคัญที่สุด ครูจึงมีเวลาเต็มที่หลังจากเลิกเรียน หรือในระหว่างคาบที่ว่าง คือ
• สื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแผนการเรียนรู้ของวันถัดไป
• หน่วยการเรียนรู้ก็จะมีหัวข้อกว้าง ๆ คล้ายกัน คือ
– วัตถุประสงค์การเรียนรู้
– ทักษะที่เด็กควรได้รับ
– กระบวนการเรียนรู้ และ
– เกณฑ์การประเมิน
โดยครูจะบันทึกไว้เพื่อประโยชน์ในการสอนของตนเอง

2.3 จัดการเรียนรู้
จะมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนระหว่างระดับประถมศึกษากับระดับมัธยมศึกษา ดังนี้

2.3.1 ระดับประถมศึกษา
– เน้นการคละชั้น
– ครูจะกล่าวนำเรื่องที่จะสอนในคาบนั้น และแบ่งกลุ่มเด็กอย่างหลากหลาย ตามความสามารถ และมอบกิจกรรมให้ทำตามความสามารถ
– บางครั้งอาจแบ่งเพื่อช่วยเหลือกัน
– ครูมีกติกาชั้นเรียนอย่างชัดเจน
– เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม ใช้เวลาส่วนใหญ่เข้าไปสอนแต่ละกลุ่มๆ ละ 10 นาที ทำให้รู้จุดอ่อนจุดแข็งของเด็กแต่ละคน
– ครูมักให้เด็กได้เคลื่อนไหวทั้งในคาบและระหว่างคาบ บางโรงเรียนจะแทรกกิจกรรมพลศึกษาระหว่างคาบ
– บรรยากาศในห้องเรียน มีมุมหนังสือ มุมนั่งล้อมวงฟังครูเล่านิทาน มุมคอมพิวเตอร์ ให้เด็กค้นคว้าโดยไม่แยกชั่วโมงให้เรียน

2.3.1 ระดับมัธยมศึกษา เด็กมีความพร้อมมากขึ้น
- แบ่งระดับชั้น จัดเป็นชั้นเรียน
- มีกิจกรรมกลุ่มที่ทุกคนจะทำกิจกรรมเดียวกัน
- มีห้องเรียนเฉพาะต่าง ๆ เช่น ห้องปฏิบัติการ ห้องตามวิชาเลือก ห้องสมุด
- ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการโรงเรียน จะมีส่วนในการสอนด้วยตามสัดส่วน จึงรู้งานวิชาการเป็นอย่างดี

2.4 ประเมินผลและวางแผนปรับปรุง

 
2.4.1 ระดับประถมศึกษา ให้ความสำคัญ
– การประเมินผลระหว่างเรียน
– การประเมินผลงานนักเรียน

   โดยรวบรวมและจัดแสดงไว้ในห้องเรียนเพื่อให้เด็กไดภาคภูมิใจในรูปแบบต่างๆ เช่น เย็บรวมเป็นเรื่อง ติดบนฝาผนัง แขวน และจะเปลี่ยนแปลงทุก สัปดาห์ ตามหน่วยการเรียนรู้ใหม่

   เมื่อเชื่อมโยงการสอนแบบคละชั้นและแบ่งกลุ่มแล้วครูจะรู้จักเด็กเป็นรายบุคคลแล้วนำมาปรับปรุงการเรียนได้ตลอดเวลา

- การประเมินผลปลายภาค

2.4.2 ระดับมัธยมศึกษา
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนยังคงประเมินผลเอง
- มัธยมศึกษาตอนปลาย มีระบบการประเมินจากสำนักงานรับรองคุณวุฒิการศึกษาโดยมีการปรับปรุงเป็นระยะ แต่ก็มีกรอบและเกณฑ์ให้โรงเรียนเป็นผู้ประเมิน ทำให้ลดภาระการสอบระดับชาติลง

3. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน


3.1 หลักการ
– การส่งเสริมให้เด็กมีผลสัมฤทธิ์เต็มความสามารถ
– ส่งเสริมให้เด็กทุกคนประสบความสำเร็จ

3.2 ขั้นตอนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีดังนี้
1. การรู้จักเด็กเป็นรายบุคคล
2. การช่วยเหลือนํกเรียน
3. การร่วมมือผู้ปกครองในการพัฒนาผู้เรียน
4. การช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

3.2.1 การรู้จักเด็กเป็นรายบุคคล
- ครูจะรู้จักนักเรียนเป็นอย่างดีจาก อัตราส่วนครูต่อนักเรียน คือ 1: 25
- การแบ่งกลุ่มการสอนที่เน้นความสามารถ ได้ใกล้ชิดนักเรียน
- การประเมินผล

การคัดกรอง ไม่จำเป็นจะต้องมีการคัดกรองทุกคน แต่จะเลือกเฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาเฉพาะและมีเครื่องมือเพื่อการคัดกรองเฉพาะ

3.2.2 การช่วยเหลือนักเรียน
1) การช่วยเหลือจากครูที่ปรึกษา
- จะบูรณาการอยู่ในการสอน
- เน้นให้เด็กพัฒนาเต็มความสามารถ
- ใช้วิธีการเชิงบวกให้เด็กก็ภูมิใจในงานตน
- สร้างวินัยเชิงบวกและการมีกิจกรรมที่หลากหลาย
2) การช่วยเหลือโดยนักวิชาชีพ กรณีที่ค้นพบ ต้องอาศัยนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และครูการศึกษาพิเศษที่ปฏิบัติงานในหลาย ๆ แห่ง

3.2.3 การร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาผู้เรียน
- การพบผู้ปกครองมักไม่เป็นทางการ เพราะครูต้องสอน ได้แก่ ช่วงก่อนหรือหลักเลิกเรียน
- การพบเป็นทางการ ได้แก่ การประชุมผู้ปกครอง
- ผู้ปกครองที่เป็นคณะกรรมการบริหารโรงเรียน จะมีความรู้สึกมีส่วนร่วมสูง

3.2.4 การช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
นักวิชาชีพ จะปฏิบัติงานในหลายโรงเรียนเชื่อมโยงกับครูที่ปรึกษา ที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลเพราะมีความใกล้ชิดกับเด็ก

4. ระบบกิจกรรมนักเรียน
4.1 ระดับประถมศึกษา
– ไม่เน้นการแยกเพราะใช้วิธีบูรณาการ เด็กมีกิจกรรมในช่วงเรียนที่หลากหลายอยู่แล้ว

4.2 ระดับมัธยมศึกษา
– เป็นกิจกรรมในหลักสูตรวิชาเลือกตามความสนใจ ด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ งานช่าง การสแดง ฯลฯ
– มีกิจกรรมด้านบริการสังคม นักเรียนค่อยๆ ค้นพบอัตลักษณ์ของตนเองซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวัยรุ่น
– มีระบบ “บ้าน” รวมกลุ่มตามแนวตั้ง(ทุกชั้นปี) มีครูรับผิดชอบบ้าน มีกิจกรรมบ้าน แข่งขันระหว่างบ้าน การให้รุ่นพี้ดูแลน้อง

5. ปัจจัยความสำเร็จ
• ระบบบริหารที่ดี
• ระบบกระจายอำนาจที่ดี
• จัดทรัพยากรที่เป็นธรรม
• ครูมีบทบาทชัดเจน
• สัดส่วนครูดี
• ภารกิจระดับประถมและมัธยมชัดเจน
• มีระบบประเมินคุณภาพทุก 3 ปี

20 มี.ค. 2554

สรุปงานสิ้นปี้ 'หงายกะลา 53'

สัปดาห์สุดท้ายของปีการศึกษา
นักเรียนทุกระดับชั้นจะจัดการแสดงอย่างสนุกสนาน
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ปีการศึกษา 2553

 ทางโรงเรียนจัดงานสรุปสิ้นปีการศึกษา 2553
วันพุธที่ 16 มีนาคม 2554 ในระดับชั้นอนุบาล 
วันพฤหัสที่ 17 มีนาคม 2554 ในระดับชั้นประถมศึกษา

ประมวลกิจกรรมผ่านภาพนิ่ง
สรุปงานสิ้นปีวิชาโครงงานแบบบูรณาการ

วันที่ 16/03/54 
การแสดงของระดับชั้นอนุบาล
     ร่วมร้องเพลง แสดงกันอย่างครึ่นแคร่งอย่างสนุกสนาน มีพี่ๆ ระดับประถมศึกษา ผู้ปกครอง และผู้ใหญ้ใจดีที่มาศึกษาดูงานกันอย่างเต็มด้านข้างเวที

วันที่ 17/03/54 
การแสดงของระดับชั้นประถมศึกษา
 
 ครูสังข์ , ครูจอย รับหน้าที่เป็นพิธีกรดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้..

 เริ่มด้วยการแสดงรำบายศรี ของพี่ๆ ป.5 , ป.6

 พี่ๆ ป.1 นำเสนอการแสดงเกี่ยวกับ 'ไดโนเสาร์'

 พี่ๆ ป.4 นำเสนอการแสดงเกี่ยวกับ 'ระบบภายในร่างกาย'

 ครูแสง มอบเกรียตริบัตรให้กับสภานักเรียนปี 53 ที่จะหมดวาระลง

 พี่ๆ ป.2 นำเสนอการแสดงเกี่ยวกับ 'ของเล่น'

 พี่ๆ ป.5 นำเสนอการแสดงเกี่ยวกับ  'ยาเสพติด'

 พี่ๆ ป.3 นำเสนอชุดการแสดงเกี่ยวกับ 'ขยะ'

 พี่ๆ ป.6 นำเสนอชุดการแสดงเกี่ยวกับ 'ป่าโคกหีบ'

 ปิดท้ายการแสดงด้วยชุมนุน 'ร้อง เล่น เต้น รำ'

14 มี.ค. 2554

ถึง..'ครูนอกกะลา'

บทกลอนจาก..
เด็กหญิงปลายฝน วิหกเหิน ชั้น ป.6/2553
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา..

.
ครูคนไหนสอนให้รู้
ครูคนไหนสอนให้ทำ
ครูคนไหนสอนให้สู้และอดทน
เท่ากับ 'ครูนอกกะลา'

9 มี.ค. 2554

คณิตศาสตร์ ฉลาดรู้

ผลงานของ 
ด.ช.ชัยวัฒน์ แสนลาด(พี่ฟรองค์ ป.6) โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
พี่ฟรองค์จัดทำชุดความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ระดับชั้น ป.6
เรื่อง รูปเรขาคณิต 2 มิต 3 มิติ มี 2 ภาค ดังนี้ครับ..
รูปเรขาคณิต 2 มิติ ต่างๆ ภาค 1
รูปเรขาคณิต 3 มิติ ภาค 2 (ตอนจบ..)
 
 
 

2 มี.ค. 2554

หัวใจของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์...

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554
เวลา 20:43 น. 

    คุณแม้ปุ้มกัลยาณมิตรจาก facebook.com จากจังหวัดภูเก็ต ท่านปรารถนาดีส่งบทความดีๆ เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์มาให้ผมอ่าน หลังจากอ่านจบลงผมจับประเด็นหลักในบทความดังกล่าว ดังนี้ครับ..

   การเน้นกระบวนการคิดเพื่อให้เข้าใจคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสำคัญมากและต้องสอนตั้งแต่ชั้นเล็กๆ เมื่อเข้าใจตรรกะของมันแล้วแบบฝึกหัดแบบให้คิดจึงค่อยตามมาแต่มิใช่เน้นการทำเลขเป็นร้อยๆ ข้อ แต่ไม่เข้าใจสาระของโจทย์ที่ทำไปถึงแม้จะได้คำตอบที่ถูกต้องก็ตาม..

     การสอนคณิตศาสตร์เด็กนั้นต้องอย่าใจร้อนมุ่งผลลัพธ์ให้เด็กคิดเลขเป็นโดยเร็วอย่างละเลยกระบวนการคิดของเด็ก การเน้นกระบวนการคิดอย่างเป็นตรรกะคือ 'หัวใจของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์'..

     การสอนคือการถ่ายเทความรู้จากครูสู่นักเรียน แต่การเรียนรู้คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากตัวนักเรียนเองในการเข้าใจการสอนของครู เช่น ครูสอนให้ว่ายน้ำโดยนักเรียนไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ด้วยตนเองจะไม่มีวันว่าย น้ำเป็นอย่างแน่นอน...