25 ส.ค. 2555

ภานุวัฒน์ บุญเย็น(Panuwat Boonyen) : 2553

ว่ากันว่า เส้นใยของแมงมุม มีความแข็งแรงมาก จากการทดสอบพบว่า มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กที่มีน้ำหนักเท่ากันถึง 6 เท่า เปรียบเทียบได้ว่า ถ้าหากใยแมงมุมมีความหนาเท่ากับขนาดดินสอ ใยแมงมุมสามารถหยุดการเคลื่อนที่ของเครื่องบินโบอิ้ง 747 ที่กำลังบินอยู่ได้ 



Panuwat Boonyen (ครูอ้อน)
11 ธ.ค. 53
 #################################

สิ่งที่ยากคือการยอมรับและตั้งสติ ใคร่ครวญไตร่ตรองทำให้อารมณ์มีบทบาทน้อยกว่าเหตุผล

11 พ.ย. 53

 #################################

 แม้จะถูกตีตราว่าเป็น "ครูบ้านนอก" แม้จะถูกกล่าวหาว่าเป็นคนจน แม้หนทางที่ก้าวไปจะวุ่นวายโลกจะสับสน จะยอมเป็นครูจนจนเพื่ออุดมการณ์

17 กันยายน 2553

รวบรวมจาก status ของครูอ้อน ภานุวัฒน์ บุญเย็น จากFacebook นำมารวบรวมไว้ในบล๊อกครับ

17 ส.ค. 2555

วิเชียร ไชยบัง(Wichian Chaiyabang) : 2553

ปีใหม่ช่วยย้ำเตือนเราว่าโลกได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบอีกคราหนึ่ง แต่ความจริงเราไม่ได้อยู่ตำแหน่งเดิมเลย เราไม่เคยอยู่ ณ ตำแหน่งเดิม กาแลกซีเราเคลื่อนไป จักรวาลก็เคลื่อนไป ปีใหม่เป็นเพียงในจิตนาการ

วิเชียร ไชยบัง : ครูใหญ่โรงเรียนนอกกะลา
  31 ธ.ค. 2553
 ***************************************

 จิตของเราไม่อาจรับมือกับสิ่งเร้ามากมายพร้อมๆ กันได้ ความสงบจะมาจากการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจัง จนเราได้จมหายไปกับมัน ชีวิตช่วงเวลานั้นก็จะลื่นไหล แม้อาจจะเหน็ดเหนื่อยแต่ปีติอันล้ำลึกจะปรากฏขึ้นในเรา

ครูใหญ่
 29 ธ.ค. 2553
*************************************** 

ความรักจะนำไปสู่ความเข้าใจ และ ความเข้าใจก็ทำงานเฉกเช่นกัน

ครูใหญ่
 27 ธ.ค. 2553
*************************************** 

'เราอยู่ใต้ฟ้า แต่เราก็ไม่ค่อยได้แหงนดูมันบ่อยนัก เอาแต่ก้มหน้ามองดิน'
'ทำไมเราต้องมองดูมันบ่อยๆ ด้วยล่ะครับ' กายถามตาคำ
'ก็ตอนกลางคืนเราจะเห็นความกว้างใหญ่ไพศาลของท้องฟ้า ส่วนตอนกลางวันเราจะได้เห็นว่ามมันอยู่สูงแค่ไหน'

หนึ่งในบทสนทนาระหว่างตาคำกับกาย ใน 'สายลม กับ ทุ่งหญ้า'

ครูใหญ่
 20 พ.ย. 2553 
 *************************************** 

 สำหรับก้อนหินก้อนหนึ่ง จะไม่มีนิยามของคำว่า "รอ" หรือ "เหน็ดเหนื่อย" จะมีเพียง "เป็นไป" 
 ครูใหญ่
18 พ.ย. 2553 
*************************************** 

เราจึงถูกล้อมด้วยกำแพงห้องอันคับแคบ บ้านอันคับแคบ รั้วบ้านอันคับแคบ
เมืองอันคับแคบ และประเทศอันคับแคบ
ทั้งที่โลกและจักรวาลอันกว้างใหญ่มีพื้นที่มากพอที่จะให้เราแต่ละคนเป็น
อิสระ

ครูใหญ่
  28ตุลาคม 2553

***************************************

ผมเชื่อว่าด้วยสัญชาตญาณมนุษย์จะไม่ยอมให้ตัวเองจนมุมจนล้มเหลว
แต่นั่นขึ้นอยู่กับว่าการรุกไล่ของอีกฝ่ายจะทำด้วยจังหวะลงตัวพอดีเพียงใด
เป็นรุกไล่เพื่อการปกป้องหรือการทำลาย

ครูใหญ่
4 ตุลาคม 2553

รวบรวมจาก status ของครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง จากFacebook นำมารวบรวมไว้ในบล๊อกครับ

15 ส.ค. 2555

วิเชียร ไชยบัง(Wichian Chaiyabang) : มกราคม 2555

---ให้ “ความตาย” เป็นของกำนัล---

เมื่อฉันจะตาย จงปล่อยให้ฉันได้ตาย
ขอเธออย่าประดับสิ่งใดบนซากนั้น
ขออย่าหาคำสวดหรือการสักการะใดๆ
เพียงเธอทิ้งซากนั้นไว้ที่โคนต้นไม้สักแห่ง
ให้การตายของฉันเป็นของกำนัลแก่สัตว์ เชื้อรา หรือต้นไม้

เมื่อฉันตาย จงปล่อยให้ฉันได้ตาย
ขอให้ลืมฉันก่อนข้ามคืนนั้น

ลืมคำที่ฉันเคยพูด
ลืมสิ่งที่ฉันเคยเชื่อ
ลืมสิ่งที่ฉันเคยทำ
ละความรักที่มีต่อฉัน
ละความคิดถึงที่มีต่อฉัน
ละความโกรธที่มีต่อฉัน
ละความเศร้าที่มีต่อฉัน

เมื่อฉันตาย จงปล่อยให้ฉันได้ตาย
ขอให้ความตายของฉันนำความเบิกบานมาสู่เธอ

วิเชียร (ผู้ที่กำลังเดินทางไปสู่ความตาย) 30 มกราคม 2555

***********************

ผู้ประเมินภายนอกจาก สมศ.มักไม่ค่อยมีโอกาสได้ยืดอกเคารพตนเองหรือภาคภูมิใจในตนเองด้วยการทำหน้าที่อย่างมีจรรยาบรร-ตรงไปตรงมา
ทั้งนี้เพราะมักถูกประจบจากโรงเรียนที่ถูกประเมินด้วยเครื่องกำนัลหลายๆ แบบ เพื่อให้บิดเบือนความจริง
การกระทำดังกล่าว-ยั้งเป็นการทำลายศรัทธาต่อ "กระบวนการประเมินของ สมศ." ซ้ำอีก

ครูใหญ่ 
23 ม.ค. 55

************************

วันนี้ผู้เข้าอบรมถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการของโรงเรียน

"การมุ่งหน้าสู่เป้าหมาย และ ปัญหาและอุปสรรคระหว่างทางนั้นเป็นเสมือนหนึ่งในแบบทดสอบชีวิต มันจะเข้ามาทดสอบเราครั้งแล้วครั้งเล่า บางครั้งความหนักหน่วงของแบบทดสอบก็ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น อดทนขึ้น เ้ข้าใจสิ่งต่างๆยิ่งขึ้น แต่ทั้งหมดที่ได้ยังน้อยกว่าการได้ถูกท้าทายให้ทดสอบถึงปัญญา และ คุณธรรมในใจ"

--ครูใหญ่-- 
12 มกราคม 2555

รวบรวมจาก status ของครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง จากFacebook นำมารวบรวมไว้ในบล๊อกครับ

12 ส.ค. 2555

คณิตศาสตร์แบบPBL (Problem-based learning)

เป้าหมาย ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์นอกกะลา
    เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการคิด และ เชื่อมโยงความเข้าใจทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ


การเรียนคณิตศาสตร์แบบ PBL (Problem-based learning)
ปัญหาระดับพื้นผิว
- แก้ปัญหา จากเนื้อหาที่เรียน
- แก้ปัญหาจากโจทย์ปัญหาระคน (ข้อสอบแข่งขัน ข้อสอบโอลิมปิก)

ปัญหาระดับลึก
- ปัญหาจากสถานการณ์จริงที่ต้องเผชิญ ในชีวิต
- ปัญหาสถานการณ์จริงที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ขอบคุณข้อมูล
จาก ครูชาญ นะครับ