7 ต.ค. 2555

Lesson Study : BAR ขั้นสอน และ AAR , ครูนิคม ศาลาทอง (ครูสังข์)

Lesson Study การเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ PBL (Problem-based learning)

ชื่อกิจกรรม : พื้นที่สัมพันธ์ (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้สอน : นายนิคม ศาลาทอง (ครูสังข์)
เป้าหมาย : นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากตามทฤษฎีบทพีทาโกรัส และบทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัสได้อย่างถูกต้องและชัดเจนและนำความเข้าใจไปปรับใช้แก้ปัญหาได้
สื่อ / อุปกรณ์ : รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ตารางแสดงความสัมพันธ์ของพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เกิดจากด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก และใบงาน

ขั้นที่ 1 : พูดคุยก่อนถึงกิจกรรมที่จะให้คุณครูคณิตศาสตร์ทุกท่านไปสังเกตการณ์การสอน (BAR)
กิจกรรม(BAR) คุณครูผู้สอนเล่ากิจกรรมขั้นสอน และนำเสนอแผนการสอนแบบคร่าวๆ


ชง : ครูวาดภาพสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมให้นักเรียนสังเกต แล้วเล่าเรื่องเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน
เชื่อม : ครูให้นักเรียนต่อด้านของรูปสามเหลี่ยมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและหาพื้นที่
ใช้ : ครูให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันและดูความสัมพันธ์ของพื้นที่ทั้งสามด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

ข้อเสนอเพิ่มเติม จากทีมคณิตศาสตร์(BAR)
- ครูควรมีตารางแสดงความสัมพันธ์เพื่อจัดระบบข้อมูลให้นักเรียน
- ให้นักเรียนมองเห็นความสัมพันธ์ด้วยตนเองโดยที่ครูไม่ได้เป็นคนบอกสูตร
- ครูเตรียมรูปสามเหลี่ยมมุมฉากหลายๆรูปเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์
- ครูให้นักเรียนได้ลองวาดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจากด้านต่างๆของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก และหาพื้นที่ออกมา

ขั้นที่ 2 : ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน พร้อมกับคุณครูเข้าร่วมสังเกตการสอน
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ดังนี้
ขั้นนำ
ครูทบทวนการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ก่อนเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสอน
ชง : ครูวาดภาพสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมให้นักเรียนสังเกต และหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมทั้งสามด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
เชื่อม : ครูให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันและดูความสัมพันธ์ของพื้นที่ทั้งสามด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก แล้วเขียนลงในตารางแสดงความสัมพันธ์
ใช้ : ครูให้นักเรียนทำใบงานเพื่อตรวจสอบความเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของพื้นที่และความยาวของด้านต่างๆของสามเหลี่ยมมุมฉากด้วยวิธีการวัดและการคำนวณเพื่อเปรียบเทียบและเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยง
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนรู้ในวันนี้


สะท้อนบทเรียน (AAR)
-การเตรียมความพร้อมของครู
-มีคำถามกระตุ้นการคิดตลอดเวลา
-ใช้โจทย์ที่เหมาะสมและตรงกับสิ่งที่เรียนรู้
-การมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนทั่วถึงมากขึ้น
-กิจกรรมสร้างความเข้าที่มาของสูตรไม่ใช่การท่องจำ
-คำถามกระตุ้นการคิดที่ทั่วถึงทุกคน
-ตัวอย่างโจทย์ที่หลากหลาย และไม่ใช่สามเหลี่ยมมุมฉาก เพื่อให้เห็นความแตกต่าง และเข้าใจมากยิ่งขึ้น
-มีสื่อจริงได้ทดลองวัดจริงๆ
-ครูใช่คำถามไม่เร่งรีบในการสอนและทอดเวลาให้ได้คิด ทบทวนคำตอบของตัวเอง

 ครูน้ำผึ้ง ผู้บันทึกสังเกตการณ์สอน
ครูป้อม ผู้ตรวจบันทึ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น