2 ก.ย. 2555

Lesson Study : BAR ขั้นสอน และ AAR , ครูชาญณรงค์ วิเศษสัตย์

Lesson Study การเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ PBL (Problem-based learning)

ชื่อกิจกรรม : วัดความยาว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้สอน : นายชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ (ครูชาญ)
เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนเข้าใจการวัดความยาว โดยใช้หน่วยมาตรฐาน สามารถกะประมาณความยาวได้ และ หาพื้นที่รอบรูปเรขาคณิตแบบต่างๆได้
อุปกรณ์ : แท่งวัด(หน่วยไม่มาตรฐาน) ไม้บรรทัด(หน่วยมาตรฐาน) กระป๋องแป้ง ขวดน้ำดื่ม โต๊ะเรียนรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า หนังสือนิทานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใบงาน

ขั้นที่ 1 : พูดคุยก่อนถึงกิจกรรมที่จะให้คุณครูคณิตศาสตร์ทุกท่านไปสังเกตการณ์การสอน (BAR)

กิจกรรม(BAR)  คุณครูผู้สอนเล่ากิจกรรมขั้นสอน และนำเสนอแผนการสอนแบบคร่าวๆ
ชง: ครูใช้ Story line เชื่อมโยงสู่สถานการณ์การแก้โจทย์ปัญหา
โดยการติดเครื่องมือวัดความยาวที่หลากหลายเช่น ไม่บล็อก แผ่นเพ็จ หลอด ลูกบาศก์ และมีตัวละครเพื่อให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
เชื่อม: นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ของเครื่องมือวัดความยาวต่างๆ เช่น ไม้บล็อกยาวเท่ากับลูกบาศก์ 3 ลูกบาศก์ หลอดยาวเท่ากับลูกบาศก์ 2 ลูกบาศก์ แผ่นเพสยาวเท่ากับลูกบาศก์ 4 ลูกบาศก์ แล้วบอกสิ่งที่เห็น
ครูใช้ Story line เชื่อมโยงสู่สถานการณ์ ให้บอกความสูงของไอครีม โดยใช้เครื่องมือการวัดมากะประมาณก่อนวัดจริง นักเรียนคาดเดาคำตอบโดยกะประมาณ แล้วตรวจสอบโดยทดลองวางเครื่องมือวัดเปรียบเทียบความสูงของไอครีม
ใช้: นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับการวัดความยาวโดยใช้สื่อที่มีหน่วยไม่มาตรฐาน ในรูปแบบโจทย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ข้อเสนอเพิ่มเติม จากทีมคณิตศาสตร์(BAR)
- สื่อที่ใช้อาจเป็นแท่งเศษส่วนในหน้าที่ไม่มีตัวเลขเพื่อให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และจะได้มีรูปแบบที่หลากหลาย
- ครูจัดระบบข้อมูลการเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจจะใช้คำถามกระตุ้นการคิด ให้เด็กๆ ได้สัมผัสสื่อจริง ปฏิบัติจริงร่วมกัน
- ระดับ ป. 2 อาจง่ายไป อาจใช้หน่วยมาตรฐานมาเชื่อมโยงสอนด้วย


ขั้นที่ 2 : ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน พร้อมกับคุณครูเข้าร่วมสังเกตการสอน
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ดังนี้

ขั้นนำ 
 ครูนำแท่งวัดที่มีความสูงต่างๆ กัน 3 แท่ง มาวางให้นักเรียนสังเกต แล้วถามว่าให้ “นักเรียนเห็นอะไร” “ แท่งวัดทั้งสาม มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ”
ครูนำกระป๋องแป้งชูให้นักเรียนดูแล้วถามว่า นักเรียนคิดว่า กระป๋องแป้งจะสูงกี่แท่งวัดสีเขียว สีน้ำเงิน และ สีฟ้า
เมื่อนักเรียนอธิบาย ครูจัดระบบจนนักเรียนเข้าใจ และเห็นความสัมพันธ์

ขั้นสอน
    ชง ครูชูไม้บรรทัดให้นักเรียนดูแล้วถามว่า “นักเรียนเห็นอะไร ” “ด้านถี่ๆนี้เป็นหน่วยอะไร” “ด้านห่างๆนี้เป็นหน่วยอะไร”
 ครูชูหนังสือนิทานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วถามว่า “หนังสือนิทานมีรูปร่างเป็นอย่างไร” “แต่ละด้านยาวกี่นิ้ว” ครูให้นักเรียนกะประมาณก่อน แล้วค่อยวัดจริง
 “ นักเรียนคิดว่าความยาวรอบรูปหนังสือนิทานจะเป็นเท่าไร คิดอย่างไร ใครคิดได้ออกมาแสดงวิธีคิด”
ครูชูหนังสือโต๊ะรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า แล้วถามว่า “ โต๊ะมีรูปร่างเป็นอย่างไร” “แต่ละด้านยาวกี่นิ้ว” ครูให้นักเรียนกะประมาณก่อน แล้วค่อยวัดจริง
 “ นักเรียนคิดว่าความยาวรอบรูปโต๊ะจะเป็นเท่าไร คิดอย่างไร ใครคิดได้ออกมาแสดงวิธีคิด”
เชื่อม นักเรียนที่คิดได้ นำเสนอครูและเพื่อน ครูจัดระบบข้อมูลให้นักเรียนเข้าใจง่าย ซึ่งใช้คำถามดังนี้
 “ใครคิดได้มาแสดงวิธีคิดให้ครูและเพื่อนดู ” “ เห็นด้วยกับเพื่อนไหม” “ ใครมีวิธี คิดที่แตกต่างจากนี้”

ใช้ นักเรียนทำใบงาน

ขั้นสรุป ครูให้นักเรียนแต่ละคนเล่าสิ่งที่ตนเองเข้าใจจากใบงานให้ครูฟัง

สะท้อนบทเรียน (AAR)
- ครูจัดระบบข้อมูลการเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจจะใช้คำถามกระตุ้นการคิด ให้เด็กๆ ได้สัมผัสสื่อจริง ปฏิบัติจริงร่วมกัน
- ครูสอนผ่านเรื่องเล่านักเรียนทุกคนให้ความสนใจ มีความกระตือรือร้นที่จะอยากเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนการสอนเหมาะสมกับเด็กๆ ป.2 ในเรื่องการวัด และครูเตรียมสื่อการสอนเป็นอย่างดี
- ครูให้นักเรียนได้นำเสนอวิธีคิด Show and Share และครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิดเสมอ
- ครูใช้น้ำเสียงที่น่าฟัง มีการชื่นชมนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ(Empower) เมื่อนักเรียนแชร์วิธีคิด
- ครูจัดระบบข้อมูลระหว่างที่สอนได้ดีมาก เมื่อเด็กเสนอวิธีคิดครูเขียนสิ่งที่นักเรียนเข้าใจไว้ให้ทบทวนทุกครั้ง
- ครูเริ่มกิจกรรมโดยลำดับกิจกรรมจากง่าย ไปหา ยาก นักเรียนมองเห็นความเชื่อมโยงของบทเรียนในล่ะข้อได้ง่าย


ผู้บันทึกสังเกตการณ์สอน 

ครูชาญ 
ผู้ตรวจบันทึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น