16 ธ.ค. 2554

'ปัญญา' ไม่ใช่ 'ความรู้'

-7-
ในทางพระพุทธศาสนา ได้แบ่งปัญญญาออกเป็น 3 ประเภท คือ..
สุตมยปัญญา คือ ปัญญาได้จากการฟัง ฟังมากๆ ก็รอบรู้มากเกิดปัญญามาก
จินตามยปัญญา คือ ปัญญาได้จากการขบคิดตรึกตรองมากๆ ก็เกิดปัญญา
ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการเพ่งภาวนาอบรมให้มีขึ้น

-8-
มีชายผู้หนึ่งโง่เขลาเบาปัญญา มิหนำซ้ำฐานะยากจน ทว่าอยู่มาวันหนึ่งด้วยโชควาสนาที่พอมีอยู่ ขณะที่ชายผู้นี้กำลังซ่อมแซมรั้วในสวนหลังบ้านซึ่งพังลงมาเพราะพายุฝน ได้บังเอิญขุดพบทองคำก้อนโตที่ฝังอยู่ริมรั้ว จนทำให้เขากลายเป็นเศรษฐีในชั่วข้ามคืน แต่ด้วยความที่รู้ว่าสติปัญญาของตนเองค่อนข้างทื่อทึบ จึงเกรงว่าอาจจะถูกผู้อื่นมาหลอกลวงเอาเงินทองไป เขาจึงนำเรื่องไปปรึกษากับอาจารย์เซน
อาจารย์เซนแนะนำว่า "ในเมื่อตอนนี้ท่านมีเงิน ส่วนผู้อื่นมีปัญญา เหตุใดไม่นำเงินของท่านไปแลกปัญญาจากผู้อื่นเล่า?"
ชายผู้เป็นเศรษฐีใหม่ผู้นี้ จึงได้พกพาคำแนะนำของอาจารย์เซน ไปหาพระที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องทรงภูมิรู้ผู้หนึ่ง จากนั้นเอ่ยปากว่า "ท่านสามารถขายปัญญาของท่านให้กับข้าได้หรือไม่?"
พระรูปนั้นตอบว่า "ปัญญาของเรามีราคาแพงมาก"
ชายผู้โง่เขลาจึงรีบตอบว่า "ขอเพียงสามารถซื้อปัญญามาประดับสมอง แพงเท่าไหร่ข้าก็พร้อมยอมจ่าย"
เมื่อได้ฟังดังนั้น พระจึงกล่าวว่า "อันว่าปัญญานั้น คือเมื่อท่านประสบปัญหาใดก็ตาม อย่าใจเร็วด่วนได้รีบร้อนแก้ไข จงค่อยๆ เดินหน้า 3 ก้าว จากนั้นถอยหลัง 3 ก้าว ทำเช่นนี้กลับไป-มาให้ครบ 3 รอบ เมื่อนั้นปัญญาจะเกิดขึ้น"
เมื่อชายผู้โง่เขลาฟังจบก็ได้แต่รำพึงในใจว่า "ที่แท้ "ปัญญา" ง่ายดายถึงเพียงนี้จริงหรือ?" เขาเชื่อครึ่งมิเชื่อครึ่ง ใจหนึ่งเกรงว่าจะโดนพระหลอกลวงเงินทอง ส่วนพระรูปนั้น เมื่อมองตาของชายผู้โง่เขลา ก็ล่วงรู้ถึงจิตเจตนาของอีกฝ่าย จึงได้กล่าวว่า "ท่านยังไม่จำเป็นต้องเชื่อเราตอนนี้ จงกลับไปก่อน หากทบทวนดูแล้วคิดว่าปัญญาของเราไม่คุ้มกับเงินทองก็จงอย่าได้กลับมา แต่หากคิดว่าคุ้มค่าก็ค่อยนำเงินมามอบให้เรา"
เศรษฐีใหม่ผู้โง่เขลากลับถึงบ้านยามค่ำ มองเห็นผู้เป็นภรรยากำลังนอนอยู่กับคนอีกผู้หนึ่งบนเตียงของตน แต่ในความมืดสลัวไม่ทราบว่าเป็นใคร เมื่อเห็นดังนั้นเขาจึงบันดาลโทสะเพราะเข้าใจว่าภรรยานอกใจ ฉวยมีดพร้าหวังบั่นคอคนผู้นั้น แต่ยังไม่ทันได้ลงมือ พลันนึกถึงคำกล่าวของพระที่ขายปัญญาให้กับเขาเมื่อตอนกลางวัน จึงได้ก้าวเดินไปข้างหน้า 3 ก้าว จากนั้นถอยหลัง 3 ก้าว กลับไป-มา 3 รอบ พอดีกับที่บุคคลนิรนามที่นอนอยู่บนเตียงเดียวกับภรรยาของเขาตื่นขึ้นมา และร้องถามว่า "ลูกเอ๋ย ดึกดื่นป่านนี้ เจ้าเดินทำอะไรอยู่?"
เมื่อได้ยินเศรษฐีใหม่ผู้โง่เขลาจึงค่อยทราบว่า ที่แท้ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงกับภรรยาของเขาก็คือมารดาบังเกิดเกล้าของเขาเอง ในใจจึงได้คิดว่า "หากข้าไม่ซื้อปัญญามาเมื่อกลางวัน วันนี้คงได้สังหารมารดาของตนเองเป็นแน่"
เช้าวันรุ่งขึ้นเศรษฐีใหม่จึงนำเงินค่าปัญญาไปถวายพระด้วยความยอมรับนับถือ

-9-
ปัญญาในแก่นของศาสนาพุทธคือปัญญาในการละความไม่รู้ไม่เข้าใจและละความยึดถือในรูปนามทั้งหลายทั้งปวงได้หมดสิ้น
ปัญญาสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาท่านจึงเรียกว่า 'ปรมัตถ์ปัญญา'
มิใช่เป็นปัญญาที่เกิดจากการคิดไตร่ตรอง แต่เป็นการเกิดขึ้นด้วยกำลังของสมาธิจิตที่สมบูรณ์พร้อมแล้ว
เบื่อหน่ายเต็มที่ในรูปนามทั้งหลายแล้ว เห็นแล้วว่าอุปาทานในรูป-นามทั้งหลายทั้งปวงไม่มีตัวตนที่แท้จริงแต่อย่างใด กำลังของสายสัมพันธ์ความยึดมั่น ในรูปนามหมดลงเพราะเบื่อหน่ายเต็มที่ หมดกำลังที่จะยึดมั่นถือมั่นอีกต่อไป
อุปมาเหมือนกับคนที่ทำงานมาเหนื่อยเต็มที่ พอถึงบ้านหมดแรง อยากนอนอย่างเดียวแม้เสื้อผ้าก็ไม่ยอมถอด ทิ้งตัวลงนอนเลยไม่สนใจร่างกายใดๆทั้งสิ้นแล้วขอนอนอย่างเดียว เพราะความเหนื่อยเพลียเต็มที่นั่นเอง
ดังนั้นปัญญาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้นักธรรมต้องพิจารณาในรูปนามให้เห็นว่าเป็น ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่น่ายึดถือไม่มีตัวตนที่แท้จริง เมื่อพิจารณาบ่อยๆมากๆจนจิตเหนื่อยเบื่อในงานเต็มที่แล้วจิตจะปล่อยวางได้เองโดยที่ไม่ต้องอยากให้มันปล่อยวางแต่อย่างใด
นักธรรมท่านใดที่เอาแต่ความสงบของสมาธิจิต เอาแต่อารมณ์สุขของสมาธิย่อมหาความเหนื่อย ความเบื่อและความปล่อยวางแบบปรมัตถ์ต่อรูปนามไม่ได้ อุปมาเหมือนกับพนักงานมาทำงานแต่ไม่ยอมทำงานจริง มานั่งมองโน่นมองนี่สุขสบายไปวันๆ ใครๆถามก็บอกกล่าวว่าตนเองเบื่อแล้วเหนื่อยแล้วแต่ในความเป็นจริงความเหนื่อยความเบื่อในงาน(รูปนาม) ยังไม่ได้เกิดกับจิตตนเองเลย เพราะตนเองยังไม่ได้ทำงานจะเอาความเหนื่อยความเบื่อมาจากไหน
ท่านจึงสอนให้นักธรรมพิจารณาความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ของรูปและนามให้มาก เหนื่อย-พัก,เหนื่อย-พัก(สมาธิ-พิจารณา,สมาธิ-พิจารณา)ทำอยู่แบบนี้เมื่อจิตปุถุชนเบื่อเต็มที่หมดกำลังที่จะยึด ในรูปนามแล้วมันจะทิ้งในรูปนามเอง เห็นเองว่ารูปนามที่แท้จริงโดยปรมัตถ์มันเป็นอย่างไร อนัตตาของจริงมันเป็นอย่างไร

-10-
ศรีธนญชัย ขุนนางเจ้าปัญญา มีหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าเจษฎา พระเจ้าแผ่นดินสมัยอยุธยา มีภรรยาชื่อศรีนวล ดังที่ทราบกันดีว่าศรีธนญชัยเป็นคนที่ขึ้นชื่อในทางใช้
ปัญญาไปในทางไม่ค่อย ดี หาเงินหาทองได้ง่ายๆ แต่ก็หมดไปกับการพนัน
วันหนึ่งนางศรีนวลบ่นเข้าหู “ทั้งบ้านไม่มีข้าวสารจะกรอกหม้อ” ศรีธนญชัยหัวเราะแล้วสั่งบ่าวไพร่ถือถุงเงินเปล่าพากันเข้าวัง!
วันนั้นพระเจ้าเจษฎาประชุมสภาขุนนางเรื่องสำคัญ ถกกันเป็นนาน แต่ทุกปัญหาก็ผ่านไป
ทำท่าจะจบลงด้วยดีศรีธนญชัยได้ทีกราบทูลขอท้าพนันเดิมพันทายใจขุนนาง
“เจ้าจะมาเล่นมุกอะไรของเจ้าอีกเล่า” พระเจ้าเจษฎาดักคอ
“ไม่มีกติกาอะไรมาก พระเจ้าข้า” ศรีธนญชัยกราบทูล “ ข้าพเจ้าเพียงแต่จะขอทายใจ ถ้าขุนนางท่านใด บอกว่าไม่จริง กล้าเดิมพันเท่าไหร่ ข้าพเจ้ายินดีจะจ่ายให้เท่านั้นแต่ถ้าข้าพเจ้าทายถูก ก็ขอเดิมพันนั้นกลับบ้าน”
พระเจ้าเจษฎาไม่ทรงถือสาเห็นว่าขุนนางเครียดกับปัญหาการบ้านการเมืองมามาก น่าที่จะได้ผ่อนคลายกับศรีธนญชัยบ้างก็ทรงอนุญาต
พวกขุนนางไม่เชื่อว่าศรีธนญชัยจะทายใจตัวเองได้ถูกต้อง “มันไม่ใช่เทวดา จะมารู้ใจเราทุกคนได้ยังไง “ แล้วทุกคนควักเดิมพันกองตรงหน้า ใครมีเงินทองมาน้อยก็ขอหยิบยืมกัน เพราะเชื่อว่าเดิมพันงานนี้ ไม่มีเสีย มีแต่ได้กับได้ กองเงินเดิมพันมากพอ ศรีธนญชัยก็เริ่มเกมทายใจ
“ผมเชื่อทุกท่านที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณ มีความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกคนพร้อมทุ่มเทแรงกายแรงใจและสติปัญญา รับราชการให้สมกับที่ทรงชุบเลี้ยงพระราชทานเบี้ยหวัดเงินตรา เพราะฉะนั้นทุกท่านในที่นี้จึงไม่มีใครคิดทรยศ กบฏต่อแผ่นดิน”
เกริ่นนำท่ามกลางความพิศวงงงวยของเหล่าขุนนางทั้งหลายแล้ว ศรีธนญชัยก็เข้าสู่เป้าหมาย
“ถ้า ท่านผู้ใดเห็นว่า ทุกคำที่ข้าพเจ้ากล่าวเป็นความจริงก็จงนิ่งเสียแต่ถ้าเห็นว่า ไม่ใช่ความจริง ก็ขอให้กราบทูลต่อเบื้องบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
เจอมุกนี้เข้าที่ประชุมขุนนางมีแต่ความเงียบ ไร้เสียงสำเนียงของผู้ใดกล้ากราบทูลว่าไม่จงรักภักดี
ถึงเวลานั้น ศรีธนญชัยเรียกบ่าวที่ถือถุงเงินเปล่าเข้าไปโกยเอาเงินเดิมพันใส่ถุงกลับบ้านไปให้นางศรีนวล

-11-
ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ก่อตั้งทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ให้คำจำกัดความของคำว่า “ปัญญา” ไว้ดังนี้ “ปัญญา คือ ความสามารถที่จะค้นหาและแก้ปัญหาและสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับใน สังคม”

-12-
มีชายสองคนมาจากหมู่บ้านเดียวกัน เข้ามารับใช้พระราชาในพระราชวังพร้อมๆ กัน คนหนึ่งได้เป็นมหาดเล็ก แต่อีกคนหนึ่งได้เป็นแค่นายแบบเกี๊ยว วันหนึ่งพระราชาทรงออกประพาสป่าโดยนั่งเไป เมื่อเดินทางมาถึงกลางทาง นายแบบเกี้ยวก็รู้สึกเหนื่อยมากและน้อยใจว่าทำไมตนต้องเป็นนายแบบกเกี้ยว จึงพูดด้วยเสียงประชดประชันว่า "คนเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน" พูดแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมาตลอดทาง
เมื่อเดินทางไปถึงจุดพัก พระราชาก็เรียกนายแบกเกี้ยวเข้าพบ
พระราชา "นายแบกเกี้ยวเจ้าลงไปดูที่ใต้ถุนซิว่ามีอะไรเกิดขึ้น"
นายแบกเกี้ยวรู้สึกดีใจมากที่พระราชาไว้วางพระทัยใช้ตัวเอง นายแบกเกี้ยวก็รีบวิ่งไปดู แล้วก็วิ่งกลับมาทูลว่า
นายแบกเกี้ยว "มีแมวกำลังออกลูกอยู่ พะยะค่ะ"
พระราชา "แล้วมีลูกแมวกี่ตัวล่ะ"
นายแบกเกี้ยวก็วิ่งลงไปดูใต้ถุน แล้วก็วิ่งกลับมาทูลว่า
นายแบกเกี้ยว "มี 7 ตัว พะยะค่ะ"
พระราชา "แล้วมีตัวผู้ ตัวเมีย กี่ตัวล่ะ"
นายแบกเกี้ยวก็วิ่งลงไปดูที่ใต้ถุนอีก แล้วก็วิ่งกลับมาทูลว่า
นายแบกเกี้ยว "มีตัวเมีย 3 ตัว และตัวผู้อีก 4 ตัว พะยะค่ะ"
พระราชา "แล้วมีสีอะไรบ้างล่ะ"
นายแบกเกี้ยววิ่งลงไปดูอีกครั้งด้วยความเหน็ดเหนื่อย แล้ววิ่งกลับมาทูลว่า
นายแบกเกี้ยว "มีสีดำ 5 ตัว และสีขาวอีก 2 ตัว พะยะค่ะ"
สักพักหนึ่งมหาดเล็กกลับมาจากการไปตักน้ำที่ลำธาร พระราชาจึกรับสั่งมหาดเล็กว่า
พระราชา "มหาดเล็ก เจ้าลงไปดูที่ใต้ถุนข้างล่างซิว่ามีอะไรเกิดขึ้น"
มหาดเล็กเิดินลงไปดูสักพักหนึ่ง แล้วกลับมาทูลพระราชาว่า
มหาดเล็ก "มีแมวออกลูกอยู่ พะยะค่ะ ลูกแมวน่ารักทุกตัวเลย มีทั้งหมด 7 ตัว มีตัวเมีย 3 ตัว และตัวผู้อีก 4 ตัว มีลูกแมวสีดำอยู่ 5 ตัว อีก 2 ตัวเป็นสีขาว ซึ่งสวยมาก พะยะค่ะ"
พระราชาก็หันไปพูดกับนายแบกเกี้ยวว่า
พระราชา "ทีนี้เจ้ารู้แล้วหรือยัง 'คนเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน' เป็นยังไง!"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น