24 พ.ย. 2554

จิตสำนึก(Conscious Mind)และจิตใต้สำนึก(Subconscious Mind)

ทำไมบางคนมีเงินทองมากมาย แต่กลับหาความสุขไม่ได้
แล้วทำไมบางคนดูจะขาดแคลนเงินทองทรัพย์สมบัติ แต่เขากลับมีความพึงพอใจและหาความสุขได้ง่ายๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว
แล้วอะไรล่ะ..ที่เป็นตัวกำหนดความสุขของตัวเรากันแน่?
ในทางศาสนาบอกไว้ว่า จิตของมนุษย์นี่เองที่เป็นตัวกำหนดความสุขและความทุกข์ในชีวิต
บางคนมีมุมองความคิดเชิงบวก(Positive Thinking) คนเหล่านี้จะรู้วิธีสร้างความสุขให้กับตนเองได้ง่าย และรู้จักวิธีการควบคุมจิตของตนเองได้ คนที่มองโลกในแง่ดีร่างกายก็จะเกิดหลั่งสารเคมีที่ชื่อ 'เอนโดรฟิน' ซึ่งสารตัวนี้จะออกฤทธิ์คล้ายกับฝิ่น คือทำให้เรารู้สึกเบาสบายตัว ผ่อนคลาย อารมณ์ดี หรือถ้าร่างกายอยู่ในสถานการณ์ตื่นเต้น ต้องเอาตัวรอด เช่น เวลาเกิดไฟไหม้ ร่างกายก็จะเกิดการหลั่งสารอะดรินาลีน ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับแอมเฟตามีนในยาบ้าทำให้บางคนสามารถแบกตุ่มน้ำหนักๆ ออกจากบ้านได้หรือสามารถกระโดดข้ามรั่วบ้านที่มีความสูงราวเกือบ 2 เมตรข้ามได้ ซึ่งเทียบเท่าความสูงของนักกีฬากระโดดข้ามรั่วของความสูงที่สถิติโอลิมปิก กำหนดไว้เลยทีเดียว(สารแห่งความสุขจะหลั่งออกมาก็ต่อเมื่อความคิดถูกกระตุ้น สมองส่วนหน้าหรือซีรีบรัมจะได้รับสัญญาณนั้นทัสมองส่วนหน้าหรือซีรีบรัมจะได้รับสัญญาณนั้นทันทีสมองส่วนหน้าหรือซีรีบรัมจะได้รับสัญญาณนั้นทันทีนที) 
แต่ถ้าหากเราเจอเรื่องทุกข์ เรื่องที่เศร้า เรื่องร้ายๆ ร่างกายก็จะได้รับสัญญาณความเครียดและจะหลั่งสารเคมีที่มีชื่อว่า 'คอร์ติซอล'นที่มีแต่ความเครียดคิกหมกหมุ่นอยู่แต่กับปัญหา ฮอร์โมน คอร์ติซอลถูกผลิตส่งออกมาจากต่อมหมวกไตในขณะที่ร่างกายของเราเกิดความตกใจ เกิดความเครียด เกิดความกังวล และอารมณ์ความคิดต่างๆ ที่เป็นด้านลบ(Negative Thinking)
การทำให้ฮอร์โมนแห่งความสุขหลั่ง ออกมา ผลที่จะตามมาก็คือหัวใจจะเต้นช้าลง หายใจช้าลง ความดันเลือดลดลงและภูมิต้านทานจะสูงขึ้น ศัพท์ทางการแพทย์เรียกคำสั่งที่จิตใจส่งออกมานี้ว่าสัญญาณชีวิต คนที่เรียนรู้และหมั่นฝึกฝนจิตใจให้สามารถคิดแต่เรื่องดีๆ แม้ในยามวิกฤตก็จะมองเห็นมุมมองใหม่ๆ แม้ในวันที่เจอเรื่องเลวร้าย ร่างกายก็จะได้รับสัญญาณของการอยู่รอดจนเกิดพลังกายกล้าแข้งและพลังใจที่จะเอาชนะอุปสรรคใดๆ ให้ผ่านพ้นไปได้เสมอ
จิตใจมีอิทธิพลเหนือกว่าร่างกายและโรคร้ายทั้งมวล
แลนซ์ อาร์มสตรอง(Lance Armstrong) นักปั่นจักรยานชาวอเมริกัน อดีตแชมป์โลก UCI Road World Cham pionships ที่ครั้งหนึ่งเขาเคยป่วยเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมาก ต้องเข้าทำการบำบัดด้วยคีโม จนผมร่วงหมดหัว ร่างกายอ่อนแอจะเดินยังแทบไม่ไหวใครๆ ก็คิดว่าเขาคงต้องรอวันตายแน่ๆ และไอ้เสียร้ายบนหลังอานก็คงจะเป็นเพียงสมญานามในอดีตที่ไม่มีวันหวนคืนมา ได้อีก แต่แลนซ์มีจิตใจที่มุ่งมั่น เขาสั่งตัวเองทุกวันว่าต้องสู้ จนเขาสามารถลุกขึ้นมาปั่นจักรยานวันละนิดๆ หลังจากนั้นอีก 4 ปี เขาไม่เพียงเอาชนะมะเร็งที่หมอบอกว่าไม่มีทางรักษาได้แล้ว แต่เขายังได้พิสูจน์ให้โลกเห็นด้วยการคว้าแชมป์รายการตูร์ เดอ ฟรองซ์(Tour de France) ติดต่อกันถึง 7 สมัยซ้อน.
 อัลเบิร์ต ไอสไตน์(Albert Einstein) นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเขาเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นและเป็นเจ้าของทฤษฏีสำคัญๆ ที่โลกต้องจำก็คือ ทฤษฏีสัมพันธภาพ E = mcที่ คนรุ่นหลังยังเรียนรู้ได้ไม่จบจนถึงทุกวันนี้ เขาเคยกล่าวเอาไว้ว่า 'จินตนาการสำคัญกว่าความรู้(imagination is more important than knowledge)' ทำไมนักวิทยาศาสตร์ท่านนี้จึงยกย่องให้ความคิดเป็นพลังอำนาจสร้างสรรค์ที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาล โดยไม่เคยให้สาระสำคัญกับการศึกษา เงินทอง สูตรเคมี ฟิสิกส์หรือโชควาสนา เลยแม้สักครั้งเดียวย

  แค่เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตก็เปลี่ยน : ความคิดนำพาสู่ความเชื่อ..
มนุษย์รับรู้เรื่องต่างๆ รอบตัว ผ่าน 2 ช่องทาง
ทางแรกระดับจิตสำนึก คือ การรับรู้ตัวอยู่ว่าได้รับรู้ ได้ฟัง ได้เห็น ได้ยิน และทางที่สองระดับจิตใต้สำนึก คือ การรับรู้ในขณะที่ไม่รู้สึกตัว
ทฤษฎีก้อนน้ำแข็ง ได้เขียนไว้ว่า..
จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกของเรานั้น เปรียบเสมือนกับก้อนภูเขาน้ำแข็งก้อนหนึ่ง ที่ลอยอยู่ในน้ำ ส่วนที่ลอยอยู่เหนือน้ำให้เรามองเห็นได้นั้นคือส่วนของจิตสำนึก ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นเพียงส่วนน้อยของจิตเราเท่านั้น ในขณะที่จิตใต้สำนึกก็คือส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ใต้น้ำ ทำให้โดยทั่วไปเราไม่ได้นึกถึงจิตส่วนนี้เท่าใดนัก แต่เนื่องจากจิตส่วนนี้เป็นจิตใจส่วนที่มีปริมาณมากกว่า จึงเป็นจิตที่ทรงพลังมากกว่าจิตสำนึกของเรา ซึ่งบางครั้งที่โอกาสเอื้ออำนวย จิตใต้สำนึกก็จะออกมาสั่งการทำงานของร่างกายเราแทน โดยที่เราไม่อาจบังคับหรือระงับคำสั่งจากจิตใต้สำนึกได้
มนุษย์เรา ใช้จิตสำนึกเพียงไม่ถึง 10% เพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่อีก 90% ของจิตใต้สำนึกเป็นแรงผลักดันให้เราทำกิจกรรมต่างๆ โดยที่ไม่รู้ตัว ก่อให้เกิดพฤติกรรมทั้งทางบวกและทางลบ ทำอะไรโดยอัตโนมัติไม่ต้องนึกคิดตัดสินใจไปตามสัญชาติญาณหรือฝังใจในอดีตที่ บางครั้งเจ้าตัวเองก็ลืมไปแล้วเสียด้วยซ้ำ เป็นจิตใจที่อยู่เหนือเหตุผล
มีคนเปรียบเทียบลักษณะการทำงานของจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกไว้ว่า เหมือนกับคนขี่ม้า(จิตสำนึก)กับม้าที่ถูกขี่(จิตใต้สำนึก) เพราะม้านั้นมีกำลังมหาศาล เหนือกว่าคนขี่หลายเท่าตัว โดยม้านั้นจะมีหน้าที่วิ่งไปข้างหน้าเท่านั้นไม่รู้จุดหมายอยู่ที่ไหน และกำลังจะวิ่งไปทางใด คนขี่ม้าเท่านั้นจะต้องชักนำควบคุมให้ม้าไปในทิศทางที่เหมาะสม(ถ้าคนไหนมีกำลังของจิตสำนึกที่ไม่กล้าแข้งพอ ก็จะสามารถชักนำจิตใต้สำนึกไปในทางที่ดีได้)
สมองของคนเรานั้น แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
สมองชั้นในทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจและความอยู่รอด ส่วนสมองชั้นกลางจะทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องของอารมณ์ และสมองส่วนหน้าหรือสมองส่วนนอกจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเรียนรู้
สอง มองของมนุษย์เราแบ่งในแง่การทำงาน โดยการแบ่งสมองออกเป็นสองซีก คือ สมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวา การทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ควบคุมร่างกายซีกขวาและชำนาญการในการคิดเรื่องที่เป็น เหตุผลเรื่องการวิเคราะห์ การประมวลภาษา ความเป็นระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน คิดเกี่ยวโยงกับเรื่องของตรรกะที่ว่าด้วยองค์ความรู้หรือเหตุผล ส่วนสมองซีกขวาทำหน้าที่ควบคุมร่างกายซีกซ้ายชำนาญการในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เรื่องภาพรวม ความไม่แน่นอนไม่มีระเบียบแบบแผน เรื่องของอารมณ์ความสุขความทุกข์ใจ การชื่นชมความงามธรรมชาติ เรื่องของสัญชาตญาณ เป็นสมองศิลปะ อารมณ์และแรงกระตุ้น คนที่มีความถนัดสมองซีกใดก็จะถูกแสดงออกมาในความสามารถหรือทักษะด้านนั้นๆ เด่นกว่าอีกด้านอย่างเห็นได้ชัดเจน

มีผลงานวิจัยพบว่าต่อให้คนเรามีอำนาจในการซื้อพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 400,000 บาทต่อปี การซื้อวัตถุข้าวของมาปรนเปรอความต้องการของตนเอง ก็จะก่อให้เกิดความสุขได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันจะเป็นความคิดที่สามารถเพิ่มพลังให้กับชีวิตได้เป็นอย่างดี ถ้าคนคนนั้นครองสติไม่ให้ตกอยู่ใต้ภาวะอารมณ์ที่ผันผวน ไม่ขยายขอบเขตของความทุกข์ ปล่อยให้ไปตามอารมณ์ที่ฟุ้งซ่าน ด้วยการยอมรับที่รู้เท่านทันและปล่อยให้ปัญหาคลี่คลาย จากหนักเป็นเบา ความกังวลจะค่อยๆ ลดความเข้มข้นลงตามเวลาที่ผ่านไปอย่างช้าๆ
ท่านติช นัท ฮันห์ พระเซนชาวเวียดนาม ที่ได้รับการยอมรับเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ 1 ใน 2 ของโลก ครั้งหนึ่งท่านเคยตอบคำถามยากๆ ของนักข่าวที่ถามว่า "ทำอย่างไรมนุษย์ถึงจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข" ท่าน ก็ไม่ได้พูดถึงปรัชญาชีวิตอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อนเลยสักนิด เพราะคำตอบของท่านดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ใครก็มีความสุขได้ง่ายๆ แค่เพียง "ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่ต้องโหยหาอดีตที่ผ่านไปแล้ว ไม่ต้องไขว่คว้าหาอนาคตที่ยังมาไม่ถึง"
ความสุขของคนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่มีการศึกษาดีๆ มีฐานะ ไอคิวสูง แต่กลับขึ้นอยู่กลับ 'ความพึงพอใจ' ในชีวิตของตนเองในแต่ละคนต่างหาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น