"ความเป็นครูนั้นมิได้อยู่ที่ความรู้และทักษะการสอนเท่านั้น การเป็นแบบอย่างทางด้านวิถีชีวิตที่นักเรียนสัมผัสได้ เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของความเป็นครูก็ว่าได้
เพราะสิ่งนี้จะประทับแน่นในใจของนักเรียน และส่งผลต่อชีวิตของเขาได้ยั่งยืนยาวนานกว่าความรู้ในห้องเรียนซึ่งส่วนใหญ่มักจะลืมเลือนตามกาลเวลา"
ตอนที่ ๒ พอใจสิ่งที่มี ยินดีสิ่งที่ได้
จริงๆ แล้วจะสุขหรือทุกข์ไม่ได้อยู่ที่สิ่งแวดล้อมภายนอก แต่อยู่ที่ใจของเรา
ความสุขไม่ได้อยู่ที่ว่าเราเสพอะไรอยู่ แพงหรือถูกไม่สำคัญ แต่อยู่ที่ว่าใจเราขณะนั้นเป็นอย่างไร
เราจะไม่มีความสุขเลย ตราบใดที่ใจของเราวางไม่ถูก เราก็จะทุกข์ได้ง่ายๆ
มีคนเคยถามนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดให้เลือกระหว่าง
1) คุณได้โบนัส 100,000$ แต่เพื่อนได้ 200,000$ หรือ
2) คุณได้โบนัส 50,000$ แต่เพื่อนได้ 25,000$ คุณจะเลือกข้อไหน
ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่เลือกข้อสอง ทำไมถึงเลือกข้อนี้ ทั้งๆ ที่ได้โบนัสน้อยกว่าข้อแรก ก็เพราะได้มากกว่าคนอื่นนั้นเอง
การเปรียบเทียบกับคนอื่น ทำให้เราทุกข์ได้ง่าย และมักทำให้เราเลือกทำบางอย่างที่ดูไม่สมเหตุสมผล เช่น เลือก 50,000$ แทนที่จะเลือก 100,000$
ถ้าเราหัดชื่นชมยินดีกับเขาบ้าง เราก็จะไม่ทุกข์ แต่ที่เราทุกข์เพราะเราคิดจะแข่งขันหรือเปรียบเทียบกับคนอื่นในทุกเรื่อง
การเปรียบเทียบทำใหเราไม่พอใจสิ่งที่มีอยู่แล้ว ตรงกันข้ามถ้าคนเราพอใจสิ่งที่มีก็จะมีความสุขมาก
ถ้าคนเราพอใจสิ่งที่มี ความสุขก็เกิดขึ้นได้ง่ายมาก
ทำไมเราต้องค่อยให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งจากเราไปเสียก่อนเราถึงจะเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ทำไมเราไม่เห็นคุณค่าเมื่อสิ่งนั้นยังอยู่กับเราในขณะนี้ สิ่งที่เรามีอยู่ในขณะนี้ล้วนมีค่ามีประโยชน์ทั้งนั้น แต่เราอาจจะมองข้ามไป
การที่เราไม่สามารถยอมรับความเป็นจริงได้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของความทุกข์
ความทุกข์ของคนเราเกิดจากที่ใจของเราไม่ยอมรับความจริง
ถ้าเรายอมรับความจริงไม่ได้ว่ามันจากเราไปแล้ว เราจะทุกข์ไม่เลิก ความเศร้าโศกเสียใจ คือ อาการที่แสดงว่าเราไม่ยอมปล่อยวางอดีตและไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
การยึดติดอดีต อาลัยอดีต ทำให้เรายอมรับความจริงไม่ได้ ถ้าความจริงที่เกิดขึ้นนั้นตรงข้ามกับอดีต
คนเราถึงแม้จะล้ม แต่ถ้าเรายอมรับความจริงได้ก็จะไม่ทุกข์มาก มองในแง่ดีมันทำให้เราได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ และมีบทเรียนมากขึ้น ความล้มเหลวหรืออุปสรรค ถ้าเรารู้จักมองแง่บวกมันจะกลายเป็นของดี
คนเราถ้ารู้จักมองแง่ดี เจอปัญหาอะไรก็รับมือ
สติช่วยให้เราตั้งหลักได้ ยิ่งรู้จักปล่อยวาง กลับมาอยู่กับปัจจุบันไม่อาลัยอดีตหรือกังวลกับอนาคต ก็จะเกิดปัญญา สามารถพลิกจากร้ายกลายเป็นดี จากเดิมที่จมอยู่ในความมืดมนก็กลับมาเห็นแสงสว่าง
ตอนที่ ๓ สติรักษาใจ
สติแปลว่าไม่ลืม สัมปชัญญะแปลว่าไม่หลง - สติคือความระลึกได้ สัมปชัญญะคือความรู้ตัว
คนเราทุกข์เพราะความหลงลืม คือ ไม่มีสติ ไม่มีสัปชัญญะ
สติทำให้เราอยู่กับปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หลงไปจมอยู่กับอดีตหรืออนาคต หรือมัวเทียบเคียงกับคนอื่น
สัมมาสติ คือความระลึกได้ในเรื่องกาย ใจ หรือเรื่องตัวเอง
สติทำให้เราเห็นความเครียด เห็นความปวด เห็นความโกรธ
เคยมีคนถามหลวงปู่ดูลย์ ท่านเป็นศิษย์รุ่นแรกๆ ของหลวงปู่มั่นท่านมรณภาพไปนานแล้ว ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ คนลือกันว่าท่านเป็นพระอรหันต์
คราวหนึ่งมีคนไปถามหลวงปู่ดูลย์ว่า "หลวงปู่มีโกรษไหม" ท่านบอกว่า "มีแต่ไม่เอา"
การเจริญสติ คือการเปิดใจยอมให้ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ แต่เกิดขึ้นแล้วรู้ทัน ไม่หลงจมเข้าไปกับมัน ถ้าหลงเข้าไปก็ให้รู้ตัวไวๆ ระลึกได้เมื่อไรใจก็จะถอนออกมา จากเดิมที่เป็นผู้โกรษ ผู้เครียด ก็กลายเป็นเห็นความโกรษ เห็นความเครียดแทน
ตอนที่ ๔ วางใจให้เป็น
พระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างของผู้ที่สามารถในการพัฒนาจิตจนเรียกว่าทะลุเพดาน คือข้ามพ้นความเป็นมนุษญ์ไปเลย
สติของเราตอนนี้อาจจะเป็นแค่เมล็ดหรือต้นกล้า แต่ถ้าเราอบรมบ่มเพาะไม่หยุดก็จะเจริญงอกงาม
ถ้าเจริญสติดี กายกับใจอยู่ด้วยกัน กายอยู่ไหนใจอยู่นั่น
ใจอยู่กับเนื้อกับตัว คือ มีสติ
ตอนที่ ๕ ปล่อยวางตัวตน
ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราเผลอไปยึดติดหรือไปแบกเอาไว้
นอกจากอดีตกับอนาคต เรายังเอาเรื่องที่เห็นอยู่ต่อหน้าต่อตาไปปรุงให้กลายเป็นเรื่องร้าย
การปรุงแต่งยังรวมถึงการให้ค่าว่า อย่างนี้ดี อย่างนี้เลว
คำพูดหรือเหตุการณ์ต่างๆ ก็เช่นกัน มันทำอะไรเราไม่ได้ ถ้าเราไม่ไปยึดมัน
สติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าสติทำให้เรารู้ตัวและไม่ลืมตัว ช่วยให้เราปล่อยวางได้
ถ้าเรามีสติ ใจก็หลุดจากอารมณ์ หายหลง หันมาทำสิ่งที่ถูกต้อง รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรถูก อะไรผิด
สว่างคือเกิดปัญญาแล้วปล่อยวางได้ ปล่อยวางความยึดติด ถือมั่นในตัวกูของกู นี้เป็นเรื่องที่ชาวพุทธเราควรจะเข้าใจ ถึงแม้จะเป็นเรื่องยาก แต่ว่ามันช่วยให้เราพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง
ให้อยู่กับปัจจุบัน อย่างไปอยู่กับจุดหมายปลายทางมาก มันเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เป็นอนาคตที่ไม่ควรยึดติด
ตอนที่ ๖ อยู่สบาย ตายสงบ
มีคนไข้จำนวนมากที่ทุรนทุราย แต่พอมีคนมีคนฟังหรือเอาใจใส่ ก็รู้สึกดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้ยา
ถ้าคนเราใจไม่สงบ มีความวิตกกังวล มีความหวาดกลัว หรือมีความน้อยเนื้อต่ำใจ ก็ทำให้กายทุกข์หรือปวดเพิ่มขึ้น
จิตใจเป็นเรื่องสำคัญมาก เวลาใครป่วย เรามักสนใจแต่เรื่องร่างกาย จึงพึ่งพาเทคโนโลยีนานาชนิด ทั้งเครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจ ยากระตุ้นความดัน ยาระงับปวดสารพัด แต่สิ่งที่มองข้ามไปก็คือการเยียวยาจิตใจ
มรณสติ คือ การระลึกว่าสักวันหนึ่งเราจะต้องตาย
ถ้าเรายังมีความกังวลอยู่ ยากมากที่จะตายสงบได้ บางคนถึงกับขัดขืน ไม่ยอมตาย พยายามต่อสู้กับความตายเพราะยังห่วงลูกอยู่
การปล่อยวางเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากจะทำดีแล้ว เราต้องรู้จักปล่อยวางด้วย
ถ้าเราพิจารณาและระลึกถึงความตายอยู่เสมอใจหนึ่งอาจจะกลัวอาจจะวิตก แต่ว่าความกลัวก็มีข้อดี คือทำให้เราขวนขวายทำความเพียรทำความดี ฝึกใจให้ปล่อยวาง และพยายามทำหน้าที่ของตัวให้ดี รวมทั้งทำสิ่งที่พึ่งทำกับคนอื่นให้ครบถ้วนหรือเสร็จสิ้น ถ้าไม่มีอะไรค้างคาใจทำเสร็จสิ้น เราก็พร้อมไป หรือพร้อมรับการจากไปของคนรักได้เสมอ
"เมื่อใดที่เรารู้จักตัวเองจริงๆ เราจึงจะเป็นมิตรกับตัวเองได้ เมื่อนั้นเราจึงจะรักษาตัวเองอย่างแท้จริง ยิ่งรักตัวเองมากเท่าไร ก็ยิ่งตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาใจ เพื่อป้องกันไม่ให้ความลืมตัวและอารมณ์อกุศลทั้งมวลมาย่ำยีบีทา ไม่มีอะไรที่จะคุ้มครองใจได้ดีเท่ากับธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่งใจที่มีธรรม เป็นรากฐานจะมีความมั่นคงเข้มแข็ง กระทั่งภัยใดๆ ก็มิอาจทำให้หวั่นไหวคลอนแคลนได้"
เพราะสิ่งนี้จะประทับแน่นในใจของนักเรียน และส่งผลต่อชีวิตของเขาได้ยั่งยืนยาวนานกว่าความรู้ในห้องเรียนซึ่งส่วนใหญ่มักจะลืมเลือนตามกาลเวลา"
พระไพศาล วิสาโล
วัดมหาปวารณา
4 ตุลาคม 2552
วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ผมเดินทางออกจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาหรือโรงเรียนนอกกะลา เวลา 06:45 น. โดยขอติดรถกลับบ้านพร้อมครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง
ครูใหญ่ให้ผมยืมหนังสือเล่มนี้มาอ่าน ในช่วงวันหยุดยาว ช่วงเทศกาลปีใหม่ ที่บ้านเกิดจังหวัดนครพนม
ในความรู้สึกส่วนตัวชอบงานเขียนตามแบบของพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล และแนวการเขียนงานของท่าน ว.วชิรเมธี อยู่มาก่อนแล้ว
หนังสือเล่มนี้ได้แบ่งออกเป็น 6 ตอน ดังนี้ พาใจกลับบ้าน, พอใจสิ่งที่มี ยินดีสิ่งที่ได้, สติรักษาใจ, วางใจให้เป็น, ปล่อยวางตัวตน, อยู่สบาย ตายสงบ
ตอนที่ ๑ พาใจกลับบ้าน
เราบอกว่ารักตัวเอง แต่ทำไมเรามักจะทนอยู่กับตัวเองไม่ค่อยได้
ที่วุ่นวายกันทั้งชีวิตก็เพราะไม่สามารถมีความสุขจากการอยู่คนเดียว นิ่งๆ ได้
ความทุกข์ของคนเรามันเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่ว่าเราทนอยู่กับตัวเองไม่ได้
เราไม่สามารถจะมีความสุขกับการอยู่นิ่งๆ กับตัวเองได้ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นกับคนที่บอกว่าฉันรักตัวเองทั้งนั้น
การรักตัวเองแบบที่เราคิดและทำกันเป็นประจะคือตามใจ หรือปรนเปรอตัวเอง อันนี้ก็ไม่ต่างกับการตามใจลูกด้วยความรัก คนที่ตามใจลูกด้วยความรัก เราเรียกว่ารักลูกไม่ถูก สุดท้ายลูกก็กลายเป็นคนอ่อนแอ ตามใจตัวเอง กลายเป็นเด็กเกเรหรือคนหยาบกระด้าง
ใจเราก็เหมือนกัน
ถ้าเราตามใจตัวเองไปเรื่อยๆ มันจะกลายเป็นการทำร้ายตัวเอง ทำให้ใจของเราอ่อนแอ หยาบกระด้าง เห็นแก่ตัว การรักตัวเองกับการตามใจตัวเองนี้ไม่เหมือนกัน
รักตัวเองก็คือว่าแยกแยะได้ว่าอะไรคือความถูกใจ อะไรคือความถูกต้อง สิ่งที่ถูกใจมันมักจะไม่ถูกต้อง
ถ้าเราเอาแต่ความถูกใจเราก็ยิ่งออกห่างจากความถูกต้อง และเมื่อห่างจากความถูกต้องแล้วก็จะเกิดโทษกับตัวเอง การทำตามใจกลับกลายเป็นการทำร้ายตัวเอง
รักตัวเอง หมายถึง การรู้ว่าอะไรถูกต้อง อะไรไม่ถูกต้อง รู้ว่าถูกใจกับถูกต้องไม่เหมือนกัน รู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องให้กับร่างกาย ทำสิ่งที่ถูกต้องให้กับชีวิต แม้มันไม่ถูกใจ แต่เป็นประโยชน์กับร่างกาย เราก็จะทำ เราจะหามาให้ อันนี้เรียกว่ารักตัวเองอย่างแท้จริง
การรักตัวเองก็ คือ การเรียนรู้ที่จะอยู่กับตัวเองอย่างมีความสุขและมีสันติ รวมทั้งการรู้จักสละที่ทำความทุกข์ให้กับจิตใจออกไป
การรักตัวเอง หมายถึง รู้จักปล่อยรู้จักวางอารมณ์ที่มาปั่นทอนทำร้ายตัวเอง
ถ้ารักตัวเองก็ต้องเห็นความจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนจิตใจของตนแม้ว่าจะยากลำบาก แต่ก็ไม่เลิก เพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แม้จะไม่ถูกใจนัก แต่มันก็สิ่งถูกต้อง เราก็ต้องเพียรพยายามจนประสบผลคือได้รับ ความสุขความสงบเย็น อันนี้คือการรักตัวเองอย่างถูกต้อง
รักตัวเอง ต้องเริ่มต้นจากการรู้จักตัวเอง พร้อมที่จะมาฝึกเพื่อให้เกิดสติ เพื่อให้เกิดปัญญา เพื่อให้รู้จักตัวเอง
เราจะรู้จักใจของเราได้อย่างไร? ก็รู้ด้วยสติ
การปฏิบัติธรรม คือ การเจริญสติ แต่จะเจริญสติได้ต้องกลับมาดูใจของเราอยู่เรื่อยๆ นี่แหละคือการคืนสู่เหย้า คืนสู่บ้านที่แท้จริงของเรา จึงเป็นเรื่องน่ายินดี
กลับมาดูใจของเรา หมั่นพาใจให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวไม่กระเจิดกระเจิงออกไปนอกตัว นี่คือ 'การคืนสู่เหย้า'
การรักตัวเองแบบที่เราคิดและทำกันเป็นประจะคือตามใจ หรือปรนเปรอตัวเอง อันนี้ก็ไม่ต่างกับการตามใจลูกด้วยความรัก คนที่ตามใจลูกด้วยความรัก เราเรียกว่ารักลูกไม่ถูก สุดท้ายลูกก็กลายเป็นคนอ่อนแอ ตามใจตัวเอง กลายเป็นเด็กเกเรหรือคนหยาบกระด้าง
ใจเราก็เหมือนกัน
ถ้าเราตามใจตัวเองไปเรื่อยๆ มันจะกลายเป็นการทำร้ายตัวเอง ทำให้ใจของเราอ่อนแอ หยาบกระด้าง เห็นแก่ตัว การรักตัวเองกับการตามใจตัวเองนี้ไม่เหมือนกัน
รักตัวเองก็คือว่าแยกแยะได้ว่าอะไรคือความถูกใจ อะไรคือความถูกต้อง สิ่งที่ถูกใจมันมักจะไม่ถูกต้อง
ถ้าเราเอาแต่ความถูกใจเราก็ยิ่งออกห่างจากความถูกต้อง และเมื่อห่างจากความถูกต้องแล้วก็จะเกิดโทษกับตัวเอง การทำตามใจกลับกลายเป็นการทำร้ายตัวเอง
รักตัวเอง หมายถึง การรู้ว่าอะไรถูกต้อง อะไรไม่ถูกต้อง รู้ว่าถูกใจกับถูกต้องไม่เหมือนกัน รู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องให้กับร่างกาย ทำสิ่งที่ถูกต้องให้กับชีวิต แม้มันไม่ถูกใจ แต่เป็นประโยชน์กับร่างกาย เราก็จะทำ เราจะหามาให้ อันนี้เรียกว่ารักตัวเองอย่างแท้จริง
การรักตัวเองก็ คือ การเรียนรู้ที่จะอยู่กับตัวเองอย่างมีความสุขและมีสันติ รวมทั้งการรู้จักสละที่ทำความทุกข์ให้กับจิตใจออกไป
การรักตัวเอง หมายถึง รู้จักปล่อยรู้จักวางอารมณ์ที่มาปั่นทอนทำร้ายตัวเอง
ถ้ารักตัวเองก็ต้องเห็นความจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนจิตใจของตนแม้ว่าจะยากลำบาก แต่ก็ไม่เลิก เพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แม้จะไม่ถูกใจนัก แต่มันก็สิ่งถูกต้อง เราก็ต้องเพียรพยายามจนประสบผลคือได้รับ ความสุขความสงบเย็น อันนี้คือการรักตัวเองอย่างถูกต้อง
รักตัวเอง ต้องเริ่มต้นจากการรู้จักตัวเอง พร้อมที่จะมาฝึกเพื่อให้เกิดสติ เพื่อให้เกิดปัญญา เพื่อให้รู้จักตัวเอง
เราจะรู้จักใจของเราได้อย่างไร? ก็รู้ด้วยสติ
การปฏิบัติธรรม คือ การเจริญสติ แต่จะเจริญสติได้ต้องกลับมาดูใจของเราอยู่เรื่อยๆ นี่แหละคือการคืนสู่เหย้า คืนสู่บ้านที่แท้จริงของเรา จึงเป็นเรื่องน่ายินดี
กลับมาดูใจของเรา หมั่นพาใจให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวไม่กระเจิดกระเจิงออกไปนอกตัว นี่คือ 'การคืนสู่เหย้า'
ตอนที่ ๒ พอใจสิ่งที่มี ยินดีสิ่งที่ได้
จริงๆ แล้วจะสุขหรือทุกข์ไม่ได้อยู่ที่สิ่งแวดล้อมภายนอก แต่อยู่ที่ใจของเรา
ความสุขไม่ได้อยู่ที่ว่าเราเสพอะไรอยู่ แพงหรือถูกไม่สำคัญ แต่อยู่ที่ว่าใจเราขณะนั้นเป็นอย่างไร
เราจะไม่มีความสุขเลย ตราบใดที่ใจของเราวางไม่ถูก เราก็จะทุกข์ได้ง่ายๆ
มีคนเคยถามนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดให้เลือกระหว่าง
1) คุณได้โบนัส 100,000$ แต่เพื่อนได้ 200,000$ หรือ
2) คุณได้โบนัส 50,000$ แต่เพื่อนได้ 25,000$ คุณจะเลือกข้อไหน
ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่เลือกข้อสอง ทำไมถึงเลือกข้อนี้ ทั้งๆ ที่ได้โบนัสน้อยกว่าข้อแรก ก็เพราะได้มากกว่าคนอื่นนั้นเอง
การเปรียบเทียบกับคนอื่น ทำให้เราทุกข์ได้ง่าย และมักทำให้เราเลือกทำบางอย่างที่ดูไม่สมเหตุสมผล เช่น เลือก 50,000$ แทนที่จะเลือก 100,000$
ถ้าเราหัดชื่นชมยินดีกับเขาบ้าง เราก็จะไม่ทุกข์ แต่ที่เราทุกข์เพราะเราคิดจะแข่งขันหรือเปรียบเทียบกับคนอื่นในทุกเรื่อง
การเปรียบเทียบทำใหเราไม่พอใจสิ่งที่มีอยู่แล้ว ตรงกันข้ามถ้าคนเราพอใจสิ่งที่มีก็จะมีความสุขมาก
ถ้าคนเราพอใจสิ่งที่มี ความสุขก็เกิดขึ้นได้ง่ายมาก
ทำไมเราต้องค่อยให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งจากเราไปเสียก่อนเราถึงจะเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ทำไมเราไม่เห็นคุณค่าเมื่อสิ่งนั้นยังอยู่กับเราในขณะนี้ สิ่งที่เรามีอยู่ในขณะนี้ล้วนมีค่ามีประโยชน์ทั้งนั้น แต่เราอาจจะมองข้ามไป
การที่เราไม่สามารถยอมรับความเป็นจริงได้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของความทุกข์
ความทุกข์ของคนเราเกิดจากที่ใจของเราไม่ยอมรับความจริง
ถ้าเรายอมรับความจริงไม่ได้ว่ามันจากเราไปแล้ว เราจะทุกข์ไม่เลิก ความเศร้าโศกเสียใจ คือ อาการที่แสดงว่าเราไม่ยอมปล่อยวางอดีตและไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
การยึดติดอดีต อาลัยอดีต ทำให้เรายอมรับความจริงไม่ได้ ถ้าความจริงที่เกิดขึ้นนั้นตรงข้ามกับอดีต
คนเราถึงแม้จะล้ม แต่ถ้าเรายอมรับความจริงได้ก็จะไม่ทุกข์มาก มองในแง่ดีมันทำให้เราได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ และมีบทเรียนมากขึ้น ความล้มเหลวหรืออุปสรรค ถ้าเรารู้จักมองแง่บวกมันจะกลายเป็นของดี
คนเราถ้ารู้จักมองแง่ดี เจอปัญหาอะไรก็รับมือ
สติช่วยให้เราตั้งหลักได้ ยิ่งรู้จักปล่อยวาง กลับมาอยู่กับปัจจุบันไม่อาลัยอดีตหรือกังวลกับอนาคต ก็จะเกิดปัญญา สามารถพลิกจากร้ายกลายเป็นดี จากเดิมที่จมอยู่ในความมืดมนก็กลับมาเห็นแสงสว่าง
ตอนที่ ๓ สติรักษาใจ
สติแปลว่าไม่ลืม สัมปชัญญะแปลว่าไม่หลง - สติคือความระลึกได้ สัมปชัญญะคือความรู้ตัว
คนเราทุกข์เพราะความหลงลืม คือ ไม่มีสติ ไม่มีสัปชัญญะ
สติทำให้เราอยู่กับปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หลงไปจมอยู่กับอดีตหรืออนาคต หรือมัวเทียบเคียงกับคนอื่น
สัมมาสติ คือความระลึกได้ในเรื่องกาย ใจ หรือเรื่องตัวเอง
สติทำให้เราเห็นความเครียด เห็นความปวด เห็นความโกรธ
เคยมีคนถามหลวงปู่ดูลย์ ท่านเป็นศิษย์รุ่นแรกๆ ของหลวงปู่มั่นท่านมรณภาพไปนานแล้ว ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ คนลือกันว่าท่านเป็นพระอรหันต์
คราวหนึ่งมีคนไปถามหลวงปู่ดูลย์ว่า "หลวงปู่มีโกรษไหม" ท่านบอกว่า "มีแต่ไม่เอา"
การเจริญสติ คือการเปิดใจยอมให้ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ แต่เกิดขึ้นแล้วรู้ทัน ไม่หลงจมเข้าไปกับมัน ถ้าหลงเข้าไปก็ให้รู้ตัวไวๆ ระลึกได้เมื่อไรใจก็จะถอนออกมา จากเดิมที่เป็นผู้โกรษ ผู้เครียด ก็กลายเป็นเห็นความโกรษ เห็นความเครียดแทน
ตอนที่ ๔ วางใจให้เป็น
พระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างของผู้ที่สามารถในการพัฒนาจิตจนเรียกว่าทะลุเพดาน คือข้ามพ้นความเป็นมนุษญ์ไปเลย
สติของเราตอนนี้อาจจะเป็นแค่เมล็ดหรือต้นกล้า แต่ถ้าเราอบรมบ่มเพาะไม่หยุดก็จะเจริญงอกงาม
ถ้าเจริญสติดี กายกับใจอยู่ด้วยกัน กายอยู่ไหนใจอยู่นั่น
ใจอยู่กับเนื้อกับตัว คือ มีสติ
ตอนที่ ๕ ปล่อยวางตัวตน
ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราเผลอไปยึดติดหรือไปแบกเอาไว้
นอกจากอดีตกับอนาคต เรายังเอาเรื่องที่เห็นอยู่ต่อหน้าต่อตาไปปรุงให้กลายเป็นเรื่องร้าย
การปรุงแต่งยังรวมถึงการให้ค่าว่า อย่างนี้ดี อย่างนี้เลว
คำพูดหรือเหตุการณ์ต่างๆ ก็เช่นกัน มันทำอะไรเราไม่ได้ ถ้าเราไม่ไปยึดมัน
สติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าสติทำให้เรารู้ตัวและไม่ลืมตัว ช่วยให้เราปล่อยวางได้
ถ้าเรามีสติ ใจก็หลุดจากอารมณ์ หายหลง หันมาทำสิ่งที่ถูกต้อง รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรถูก อะไรผิด
สว่างคือเกิดปัญญาแล้วปล่อยวางได้ ปล่อยวางความยึดติด ถือมั่นในตัวกูของกู นี้เป็นเรื่องที่ชาวพุทธเราควรจะเข้าใจ ถึงแม้จะเป็นเรื่องยาก แต่ว่ามันช่วยให้เราพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง
ให้อยู่กับปัจจุบัน อย่างไปอยู่กับจุดหมายปลายทางมาก มันเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เป็นอนาคตที่ไม่ควรยึดติด
ตอนที่ ๖ อยู่สบาย ตายสงบ
มีคนไข้จำนวนมากที่ทุรนทุราย แต่พอมีคนมีคนฟังหรือเอาใจใส่ ก็รู้สึกดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้ยา
ถ้าคนเราใจไม่สงบ มีความวิตกกังวล มีความหวาดกลัว หรือมีความน้อยเนื้อต่ำใจ ก็ทำให้กายทุกข์หรือปวดเพิ่มขึ้น
จิตใจเป็นเรื่องสำคัญมาก เวลาใครป่วย เรามักสนใจแต่เรื่องร่างกาย จึงพึ่งพาเทคโนโลยีนานาชนิด ทั้งเครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจ ยากระตุ้นความดัน ยาระงับปวดสารพัด แต่สิ่งที่มองข้ามไปก็คือการเยียวยาจิตใจ
มรณสติ คือ การระลึกว่าสักวันหนึ่งเราจะต้องตาย
ถ้าเรายังมีความกังวลอยู่ ยากมากที่จะตายสงบได้ บางคนถึงกับขัดขืน ไม่ยอมตาย พยายามต่อสู้กับความตายเพราะยังห่วงลูกอยู่
การปล่อยวางเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากจะทำดีแล้ว เราต้องรู้จักปล่อยวางด้วย
ถ้าเราพิจารณาและระลึกถึงความตายอยู่เสมอใจหนึ่งอาจจะกลัวอาจจะวิตก แต่ว่าความกลัวก็มีข้อดี คือทำให้เราขวนขวายทำความเพียรทำความดี ฝึกใจให้ปล่อยวาง และพยายามทำหน้าที่ของตัวให้ดี รวมทั้งทำสิ่งที่พึ่งทำกับคนอื่นให้ครบถ้วนหรือเสร็จสิ้น ถ้าไม่มีอะไรค้างคาใจทำเสร็จสิ้น เราก็พร้อมไป หรือพร้อมรับการจากไปของคนรักได้เสมอ
"เมื่อใดที่เรารู้จักตัวเองจริงๆ เราจึงจะเป็นมิตรกับตัวเองได้ เมื่อนั้นเราจึงจะรักษาตัวเองอย่างแท้จริง ยิ่งรักตัวเองมากเท่าไร ก็ยิ่งตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาใจ เพื่อป้องกันไม่ให้ความลืมตัวและอารมณ์อกุศลทั้งมวลมาย่ำยีบีทา ไม่มีอะไรที่จะคุ้มครองใจได้ดีเท่ากับธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่งใจที่มีธรรม เป็นรากฐานจะมีความมั่นคงเข้มแข็ง กระทั่งภัยใดๆ ก็มิอาจทำให้หวั่นไหวคลอนแคลนได้"
พระไพศาล วิสาโล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น