ครูคนหนึ่งตั้งคำถามกับเด็กว่า..
“ถ้ามีเงินอยู่ 10 บาท ซื้อของ 3 บาท จะได้รับเงินทอนเท่าไร”เด็กส่วนใหญ่ตอบว่า “7 บาท”..
แต่มีเด็ก 2 คนที่ตอบไม่เหมือนกับคนอื่นคนหนึ่งตอบว่า “2 บาท” อีกคนหนึ่งตอบว่า “ไม่ต้องทอน”
ครูถามเด็กคนแรกว่าทำไมถึงได้เงินทอน 2 บาท คำตอบที่ได้ก็คือ..ภาพในใจของเขาสำหรับเงิน 10 บาท คือ เหรียญห้า 2 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท เขาก็ให้เหรียญห้า 1 เหรียญ ดังนั้น "จึงได้เงินทอน 2 บาท"
ครูถามเด็กคนที่สองว่าทำไมไม่เหลือเงินทอนเลย คำตอบก็คือ..เด็กคนนี้คิดว่าในกระเป๋ามีเหรียญบาท 10 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท เขาก็ส่งเหรียญบาทให้ 3 เหรียญ เพราะฉะนั้น คนขาย "จึงไม่ต้องทอนเงินให้เขา"
ปล.โชคดีที่เป็นการถาม-ตอบ ในห้องเรียนลองนึกดูสิครับว่า!!
ถ้าโจทย์นี้ออกเป็นข้อสอบที่มีคำตอบเป็น ก-ข-ค-ง เด็ก 2 คนนี้ก็คงไม่ได้คะแนนจากคำตอบที่ผิดเพี้ยนจากคนส่วนใหญ่ครับ คำตอบบางคำตอบเราอาจจะคิดว่าผิด
ผมคิดว่าถ้าเราค้นหาเหตุผลในคำตอบนั้น มันก็อาจจถูกก็ได้นะครับ
ถ้าเป็นผม ก็คงจะตอบว่าทอน 7 บาท..
ตอบลบฮืม... ดีัจังครับ
ตอบลบการคิดที่แยบย่นนี้ ถ้าเด็กมีการคิดเชิงเหตุผล การมองเห็นภาพของคำตอบก็จะงอกงามตามมาด้วย
ตอบลบ