จิตตปัญญาศึกษา เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงแบบมีลักษณะพิเศษคือ มุ่งเน้นพัฒนาด้านในและการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวเองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เกิดปัญญาที่เห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งและเกิดความรัก ความเมตตา ที่อยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทำให้เกิดสำนึกที่ดีงาม และตระหนักถึงภาระหน้าที่ของตนที่มีผลต่อมวลมนุษย์และสรรพสิ่งในธรรมชาติ โดยผ่านกระวิธีปฏิบัติแนวจิตปัญญา ในรูปแบบต่างๆ (ธนา นิลชัยโกวิทย์. 2551 : 142)
ตั้งอยู่บนปรัชญาพื้นฐาน 2 ประการ คือ..
1. ความเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์(Humanistic Value) คือ ทัศนะที่เชื่อว่า มนุษย์มีศักยภาพที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องมีความจริง ความดี และความงามอยู่ในตนเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์พืชที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโต เมื่อมีเงื่อนไขต่างๆ พร้อมเมล็ดพันธุ์นั้นๆ ก็จะสามารถเจริญเติบโตได้การจัดกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาจึงมิใช่การสอน แต่เป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดการเติบโตขึ้นจากภายใน
2. กระบวนการทัศน์องค์รวม(Holistic Paradigm) คือ ทัศนะที่มองเห็นธรรมชาติของสรรพสิ่งคือการเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้ปฏิบัติต่อสรรพสิ่งอย่างไม่แยกส่วนจากชีวิต ด้วยทัศนะที่มองเห็นว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสรรพสิ่งและสรรพสิ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ จึงไม่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง (ประเวช วะสี.2547 : 144) ทัศนะนี้เน้นความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างการเปลี่ยนแปลงตนเองและเปลี่ยนแปลงโลก
หลักจิตปัญญา 7 หรือเรียกในชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า 7C’S ได้แก่...
1.การพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ(Contemplation)
2.ความรักความเมตา(Compassion)
3.การเชื่อมโยงสัมพันธ์(Connectedness)
4.การเผชิญความจริง(Confrontations Reality)
5.ความต่อเนื่อง(Continuity)
6.ความมุ้งมั่น(Commitment)
7.ชุมชนแห่งการเรียนรู้(Community)
เพิ่มเติมให้นะครับ
ตอบลบการประชุมเชิงวิชาการ เรื่อง หัวใจของจิตตปัญญาศึกษา1
อาจารย์วิศิษฐ์ วังวิญญู2
อาจารย์ณัฐ ฬส วังวิญญู3
การจัดการศึกษาที่ผ่านมาเป็นกระบวนการสำคัญในการหล่อ หลอมคนให้มีคุณภาพ แต่สภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทันกับสภาพเหตุการณ์ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง รวมทั้งวิกฤติทางธรรมชาติ ล้วนทำให้เกิดภาวะตึงเครียดได้ง่ายกับบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม ทุกคนต่างมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขและความสำเร็จ การได้มาหรือพบกับสิ่งเหล่านี้ นักจิตวิทยาและนักวิชาการ พบว่าผู้ที่จะพบกับความสุขหรือประสบความสำเร็จได้ทั้งในหน้าที่การงาน ส่วนตัว หรือครอบครัวได้จะต้องมีเชาวน์อย่างน้อย 6 ด้าน ที่เรียก 6 Qs (Six Quotients) ได้แก่ ความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ความอดทน (AQ) คุณธรรม จริยธรรม (MQ) ด้านสุขภาพ (HQ) ด้านจิตวิญญาณ (SQ) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดสะสมจากภายในตน แต่ปัญหาใหญ่ของโลกในยุคปัจจุบัน คนกำลังสนใจสิ่งที่อยู่นอกตัวหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม ละทิ้งสิ่งที่เป็นนามธรรมไป คุณค่าของความเป็นมนุษย์จึงถูกลดทอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นแบบแยก ส่วน
การศึกษาที่เน้นการมองนอกตัวและขาดความเชื่อมโยงทำให้มนุษย์ ลืมที่จะพัฒนาคุณภาพด้านในของตัวเอง สนใจแต่สิ่งภายนอก เช่น การมุ่งสร้างผลประโยชน์ กำไร ยึดแนวคิดบริโภคนิยม ระบบคุณค่าต่างๆ ในสังคมถูกบิดเบือนไป การเปรียบเทียบแข่งขันชิงดีชิงเด่นกลายเป็นค่านิยมที่ได้รับการส่งเสริมแทน การเกื้อกูลและโอบอ้อมอารีต่อกัน ส่งผลให้โลกขาดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ขาดความสุขที่แท้จริง เกิดความแปลกแยกระหว่างคนในสังคมกับสิ่งแวดล้อม
ใน ภาวะที่สังคมโลกอยู่ในวิกฤตการณ์เช่นนี้ การเรียนรู้แบบใหม่ที่มุ่งการพัฒนาด้านในตน การวางพื้นฐานจิตใจและกระบวนทัศน์ใหม่ที่เป็นองค์รวมอย่างแท้จริงและเน้นการ ส่งเสริมศักยภาพของมนุษย์ให้เข้าถึงความจริง ความงาม ความดี ที่เรียกว่า จิตตปัญญาศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องการแสวงหาแนวความคิดใหม่หรือแนวความหมายของชีวิตในแนวใหม่ ทั้งในเชิงปรัชญาและการศึกษา การพัฒนาตัวตนด้านใน ซึ่งต้องพยายามรับรู้มากกว่าความคิดใช้ความรู้สึกรับรู้ด้วย
ร่างกายของ เรา เป็นความสุขที่เกิดจากปัญญา ความตระหนักรู้และความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณ