5 มิ.ย. 2557

จิตศึกษา ม.1 >> : พิธีชา + ชีวิตสัมพันธ์ + อ่านหสือ + โยคะ

พิธีชา
   ทุกๆ สัปดาห์พี่ๆ มัธยมจะมีกิจกรรมพิธีชาอย่างน้อยชั้นละ 1 ครั้ง ให้นักเรียนเรียนรู้การอยู่กับตนเอง ใคร่ครวญ - เป็นผู้บริการผู้อื่น..


เป้าหมายกิจกรรมพิธีชา..
- การดำเนินชีวิตอย่างมีสติ อยู่กับปัจจุบัน นอบน้อม เชื่อมโยง การได้ชื่นชมความงาม
- เข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง..

ชีวิตสัมพันธ์
ครูให้โจทย์นักเรียนทุกคนว่า "ในชีวิตประจำวันของเรา เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสิ่งสิ่งใดบ้าง? ที่อยู่แวดล้อมตัวเรา"
- นักเรียนทุกคนรับกระดาษA4 เขียนเชื่อมโยงชีวิตของแต่ละคนเกี่ยวข้อมสัมพันธ์กับสิ่งสิ่งใด

ถอดบทเรียนจากกิจกรรมนี้(AAR)
-ครูจะได้เห็นในมุมมองของเด็กๆ แต่ละคน การเห็นสิ่งรายล้อมของความคิดที่เขาถ่ายทอดออกมา
-ครูก็จะซึมซับความเชื่อมโยงของฐานคิดของลูกศิษย์คนนั้น ก่อนที่จะตัดสินบางอย่างกับเขา เราก็รู้ภูมิหลังของฐานคิดของเด็กๆ
-เด็กได้อิสระในการถ่ายทอดความคิด
-มุมมอง ทัศนคติ ที่เด็กๆ แต่ละคนมองสังคม

*ครูผู้มีวุฒิภาวะจะไม่ตัดสิน ชี้ถูก-ผิดแก่ลูกศิษย์(ด้วยอารมณ์/ความรู้สึก) แต่ครูเพียงจะเป็นผู้ชี้ทางที่ถูก-ผิด ให้เด็กๆ เป็นคนตัดสินใจสู่แต่ละทางที่ตัดสินใจเลือก..

อ่านหนังสือ
ห้องสมุดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ทุกระดับชั้นจะมีสมุดที่ครูซื้อเตรียมมาไว้ให้แต่ละชั้น และยังมีหนังสือที่เด็กๆอ่านแล้วรู้สึกประทับใจ ซาบซึ่ง สนใจจะบริจาคให้กับชั้นนั้น เด็กๆ จะเขียนเล่าถึงความประทับใจหนังสือเล่มนี้ ติดไว้ในเล่มใต้หน้าปก เพือ่ให้เพื่อนๆที่ยืมกลับไปอ่านได้เห็นว่าใครมอบให้ อ่านแล้วเกิดความประทับใจอย่างไร


*เด็กๆ จะหาเวลามาอ่านหนังสือในช่วงที่ว่าง ช่วงเช้า - เที่ยง - เย็น ตามความสะดวก
หรือบางชั่วโมงกิจกรรมจิตศึกษา ครูอาจจะยกตัวอย่างหนังสือที่ครูอ่านแล้วชอบมาสร้างแรงให้เด็กๆฟังก่อนจะพานักเรียนอ่านประมาณ 20 นาที..
แล้วใช้คำถามสุ่มนักเรียนสัก 2-5 คน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียนวิชาต่างๆ ในช่วงเช้า..

เป้าหมายกิจกรรมจิตศึกษา ม.1
- เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดในด้านจิตวิญญาณ ความฉลาดด้านอารมณ์ ให้เห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง การน้อมนำสิ่งที่ดีงามเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก
- การเตรียมความพร้อมของนักเรียน ให้อยู่ในภาวะคลื่นสมองต่ำ และมีความพร้อมในการเรียน

โยคะ เพื่อสุขภาพ
โยคะ (อังกฤษ: yoga) มิใช่เป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง แต่เป็นการฝึกเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ เป็นการเตรียมกายใจให้พร้อมเพื่อเสริมสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ 


* ในการฝึกโยคะผู้ฝึกโยคะทุกคนต้องยึดถือและปฏิบัติโดยเคร่งครัดเพื่อให้สามารถปรับความสมดุลภายในร่างกายและจิตใจที่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น