17 พ.ย. 2553

ครูใหญ่ประชุมร่วมกับผู้ปกครอง ป.6...

เวลา 15:50 น. ของวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2553
 ประชุม ณ ห้องประถมศึกษาปีที่ 6

   
     ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เริ่มทยอยมาเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้เรื่อยๆ ตามเวลาที่ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นัดหมายกับผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ 27 ท่าน จากผู้ปกครองทั้งหมด 30 ท่าน โดยมีคุณครูที่เข้าร่วมประชุมกับผู้ปกครอง ดังนี้ครับ..
1. นายวิเชียร  ไชยบัง(ครูใหญ่)
2. นางสาวแสงจันทร์  กะลา(ครูแสง)
3. นางสาวพรรณี  แซ่ซือ(ครูณี)
4. นายราชิต  สุพร(ครูป้อม)

     ครูใหญ่ท่านได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทยของเราในยุคปัจจุบันนี้ให้ผู้ปกครองทุกท่านได้รับรู้อย่างเป็นกันเอง(ภาษาอีสาน)
ครูใหญ่ : "การสอบเป็นการสอบวัดเฉพาะตัวความรู้เท่านั้น การสอบไม่สามารถวัดความดีของเด็กเราได้ ผมรู้จักนักเรียนทุกคนในชั้น ป.6 เป็นอย่างดี เด็กๆ ทุกคนล้วนมีความดีงามในตัวของแต่ล่ะคนแตกต่างกันออกไป การสอบไม่สามารถวัดความฉลาดทางด้านอารมณ์และการสอบก็ไม่สามารถวัดความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณของนักเรียนของเราได้ ซึ่งนักเรียนของเรามีกันอยู่ทุกคน"

      ครูใหญ่ท่านฝาก 2 เรื่องหลักๆ ให้ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกๆ คนให้เข้าใจในแนวทางเดียวกัน ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ปกครองที่มาประชุมในวันนี้ ในการที่เราจะมองเห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของลูกๆ ทุกคน ซึ่งนักเรียนทุกคนต่างมีความดีงามในตัวเอง และเรื่องที่คุณครูใหญ่ท่านฝากผู้ปกครองไว้ 2 เรื่อง คือ..
   1. อย่าตีค่าลูกตัวเองต่ำ : "การที่นักเรียนไปสอบแล้วอาจจะมีได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็ให้ถือว่าเป็นเรื่องปรกติเพราะการสอบเขาวัดกันเฉพาะความรู้ ซึ่งการสอบวัดความดีของนักเรียนของเราไม่ได้ เด็กๆ ทุกคนเขามีคุณค่าด้านอื่นๆ ที่ดีกว่าการสอบวัด"
   2. โรงเรียนจะเรามีระบบการติดตามเด็กๆ นักเรียนของเราที่เรียนจบจากที่นี้ 3 ปี 

     แม่พี่บี ป.6 บอกว่าลูกอยู่ที่บ้านไม่อยากอ่านหนังสือเลยทุกวันนี้ เอาแต่เล่นอย่างเดียว..
ครูใหญ่ : "ผมก็ไม่ได้อ่านหนังสือทุกวัน พี่บีเป็นเด็กที่มีทักษะด้านการเขียนงาน ผมได้อ่านงานเขียนของพี่บีในบันทึกความสุข"

     ปัญหาที่โรงเรียนเราต้องสู้อยู่ตอนนี้ก็คือ..
ครูใหญ่ : "ทุกคนถูกผลของการศึกษาทำลาย เราไม่ได้ทิ้งเด็กแม้แต่คนเดียว เรามองเห็นคุณค่าความดีงามของเด็กทุกคน"

     ผมชอบประโยคหนึ่งตอนท้ายที่คุณครูใหญ่พูดก่อนจะเสร็จการประชุมวันนี้..
"ไม่ใช่เราทิ้งลูกหลาน แต่มันเป็นวิถีเช่นนั้น"

ปิดการประชุม 16:23 น.

2 ความคิดเห็น:

  1. การศึกษากับปัญญา..
    สำหรับน้องใหม่ที่รอดชีวิตจากการรับน้องแล้ว ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยจะมีค่าหรือไม่อยู่ที่ตัวคุณเอง

    ไม่ว่าแต่ละคนจะเข้ามาเรียนด้วยจุดประสงค์ใด (ปริญญาบัตร ความสำเร็จในชีวิต ฯลฯ) วิธีใด (การท่องจำ การหาประสบการณ์จริง ฯลฯ) อย่าลืมว่ามหาวิทยาลัยกับปัญญาเป็นคนละเรื่องกัน ผมขอให้ท่านเหล่านี้พูดแทน...

    อเล็ก บอร์น (นักเขียน) : "เป็นไปได้ที่จะบรรจุข้อมูลล้านชิ้นเข้าไปในหัว และยังไร้การศึกษาโดยสิ้นเชิง"

    อนาโตลี ฟรานส์ (นักเขียนรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 1921) : "การศึกษามิใช่คุณจำได้เท่าไร หรือคุณรู้มากแค่ไหน แต่อยู่ที่ว่าคุณสามารถแยกแยะข้อแตกต่างระหว่างอะไรที่คุณรู้กับอะไรที่คุณ ไม่รู้"

    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ 1921) : "ความรู้ไม่ใช่ปัญญา"

    บี. เอฟ. สกินเนอร์ (นักจิตวิทยา นักปรัชญา) : "การศึกษาเป็นสิ่งที่เหลือรอดมาเมื่อได้ลืมสิ่งที่เรียนรู้มาหมดแล้ว"

    จี. เอ็ม. เทรเวลยาน (นักประวัติศาสตร์) : "การศึกษาได้สร้างคนจำนวนมากที่สามารถอ่านออก แต่ไม่สามารถแยกออกว่าอะไรสมควรอ่าน"

    เฮเลน เคลเลอร์ (นักกิจกรรมเพื่อคนตาบอด) : "มหาวิทยาลัยมิใช่สถานที่ที่ไปหาความคิดใหม่ๆ "

    มัลคอล์ม ฟอร์บส์ (นักธุรกิจ) : "จุดประสงค์ของการศึกษาคือ การแทนที่ความคิดที่ว่างเปล่าด้วยความคิดที่เปิดกว้าง"

    มาร์ก ทเวน (นักเขียน) : "ผมไม่เคยยอมให้การเรียนในโรงเรียนมายุ่งกับการศึกษาของผมเลย"

    แมรี เพ็ตติโบน พูล (นักเขียน) : "การพูดตามสิ่งที่คนอื่นพูดต้องใช้การศึกษา การท้าทายสิ่งที่คนอื่นพูดต้องใช้สมอง"

    ใช่ชีวิตที่เหลืออยู๋ในรั้วมหาวิทยาลัยจะมีค่าหรือไม่อยู่ที่ตัวคุณเอง

    วินทร์ เลียววาริณ ..
    http://www.winbookclub.com

    ตอบลบ