8 พ.ย. 2553

Mind Mapping ก่อนเรียนคณิตศาสตร์...

     "เปิดเทอมวันแรก"

     ครูและลูกศิษย์ได้พบหน้ากันทุกคนต่างมีความสุขกับการเปิดเรียน นักเรียนทุกคนต่างเกิดอาการตื่นเต้นที่จะได้ลุ้นว่าปีการศึกษานี้จะได้ครูคนใดมาเป็นครูประจำชั้นของตัวเอง
     กิจกรรมการเรียนการสอนก็เช่นเดียวกัน ครูที่สอนแต่ละวิชาต้องเตรียมตัวสอนคาบแรกกันทุกคนของปีการศึกษาใหม่ ผมก็เช่นกันได้เริ่มสอนนักเรียนชั้น ป.4 เป็นคาบแรกก็เกิดความรู้สึกตื่นเต้นเพราะว่าเป็นชั้นที่เลื่อนชั้นขึ้นมาจากช่วงชั้นที่ 1 แต่นักเรียนชั้น ป.5 และชั้น ป.6 เป็นชั้นที่สอนอยู่แล้วเริ่มรู้สึกคุ้นเคยสนิทกันทุกคน
     คาบแรกของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2553 ผมให้นักเรียนชั้น ป.4 , ป.5 , ป.6 ทำ Mind Mapping ก่อนเรียนทุกคน ให้นักเรียนเขียนบอกว่าเคยเรียนผ่านเรื่องอะไรมาบ้างแล้ว มีพื้นฐานของความเข้าใจมากน้อยสักเพียงใด เขียนบอกเรื่องที่ชอบในเรื่องที่เคยเรียนผ่านมาว่าชอบเพราะอะไรและเขียนบอกว่าเรื่องไหนที่คิดว่ายังไม่เข้าใจเท่าที่ควร(ยาก)

ตัวอย่างชิ้นงาน Mind Mapping ก่อนเรียนคณิตศาสตร์
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ประจำปีการศึกษา 2553


ชิ้นงานของตัวแทนพี่ๆ ป.4 
   เนื้อหาของ Mind Mapping อาจจะดูน้อยแต่ระหว่างที่ share กันกับเพื่อนๆ ผมก็ใช้คำถามตรวจเช็คความเข้าใจของนักเรียนทุกคนและเสริมในส่วนที่นักเรียนแต่ละคนสงสัยให้เข้าใจในแนวทางเดียวกัน นักเรียนชั้น ป.4 เปิดเทอมมาคุณครูประจำชั้นยังไม่ให้ใช้ปากกาเลยเขียนด้วยคินสอภาพอาจจะเลือนลางนะครับ..


ชิ้นงานของตัวแทนพี่ๆ ป.5
   เนื้อหาของ Mind Mapping ดูมีความหลากหลายในเรื่องที่เคยเรียนผ่านมาแล้ว สามารถอธิบายวิธีการหาคำตอบจากโจทย์ปัญหาที่เรียนเมื่อครั้งอยู่ชั้น ป.4 ระดับชั้นนี้ปีที่แล้วผมได้สอนเพลงคณิตศาสตร์สอดแทรกในกิจกรรมการเรียนการสออนควบคู่ไปด้วย ก็เป็นกิจกรรมที่ดีผ่อนคล้ายให้นักเรียนไม่รู้สึกเบื่อหนายในเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์มากนัก..


 ชิ้นงานของตัวแทนพี่ๆ ป.6
   เนื้อหา Mind Mapping จะมีเรื่องพื้นที่เป็นหลักเพราะเป็นเนื้อที่เรียนอยู่ชั้น ป.5 เรื่องเรื่องนี้ค่อนข้างจะเยอะมาก เพราะเป็นเรียนที่สนุกมากครับและการหาพื้นที่นักเรียนยังได้นำไปประยุกต์ในการใช้แก้ปัญหาในวิถีชีวิตของนักเรียนแต่ละคนได้อีกด้วย..

     เนื้อหาของการเขียนบอกความเข้าใจ ความรู้ที่ได้รับจากปีที่แล้วสื่อออกมาผ่าน Mind Mapping เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่นักเรียนจะได้รู้ตัวเองว่าเขารู้เรื่องอะไรอยู่แล้วบ้างและควรให้คุณครูส่งเสริมเรื่องไหนบ้างกับเขา ส่วนครูผู้สอนก็จะได้รับรู้ว่าลูกศิษย์แต่ละคนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องใดบ้าง โดยสังเกตุจากการทำชิ้นงานชิ้นนี้ จากการสอบถามความเข้าใจระหว่างครูกับลูกศิษย์จากงานชิ้นนี้ได้เป็นอย่างดีครับ...

5 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับอาจารย์ราชิต ขอขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์ดีๆ นับว่าเป็นแบบอย่างที่ดี ขอให้อาจาย์มีความสุขกับงานนะครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ11 พฤศจิกายน, 2553 21:36

    มีคนมาสอนการทำ mind mapping เด็กโรงเรียนนี้หรือเปล่าค่ะ

    ตอบลบ
  3. ครูที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา สอนนักเรียนเองครับ
    ไม่ได้มีวิทยากรมาจากที่ไหน เราเรียนรู้จากสิ่งที่เรามี สิ่งที่เราทำครับผม

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ30 พฤศจิกายน, 2553 23:24

    เป็นการเริ่มสอนด้วยความรู้สึกดี ๆ ทั้งสองฝ่าย

    ตอบลบ
  5. สะท้อนความเข้าใจของผู้เรียนจากชิ้นงานนี้ครับ

    ตอบลบ