6 มี.ค. 2555

คน(ไม่)ธรรมดา - ธนิษฐา แดนศิลป์

เราต่างมาพร้อมกับพรวิเศษ ที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน นั่นกระมัง
ที่เราไม่ต้องรอคอยผู้วิเศษหรือซุปเปอร์ฮีโร่

หลายชีวิตในหนังสือเล่มนี้สะท้อนให้เห็นว่า..
คุณค่าและความสุขของชีวิตไม่ได้อยู่ที่หน้าที่การงานใหญ่โต
มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย
แต่การค้นพบความต้องการอันแท้จริงของชีวิตต่างหากคือ 'ความสุข' 
เพราะเมื่อค้นพบ เขาก็พบคุณค่าของตน
และความหมายใหม่แห่งชีวิตและหน้าที่การงาน

ธนิษฐา แดนสิลป์
๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

ผมอ่านเรื่องราวเพียง 3 คน จากหนังสือเล่มนี้ได้แง่คิดและได้เห็นมุมมองจากบทเรียนของชีวิตของคนทั้ง 3 ท่านนี้อย่างซาบซึ้งมากครับ

โจน จันได - อยู่อย่างโจน
 "ชีวิตไม่น่ายุ่งยากขนาดนี้ 
ในเมื่อสัตว์ฉลาดที่สุดในโลกทำไมถึงต้องทำงานมากกว่าสัตว์อื่น 
ผมเห็นนกบินเก็บหญ้าสองวันทำรังได้แล้ว 
แต่ทำไมคนใช้เวลาสามสิบปี 
บางทีตลอดชีวิตยังไม่มีสิทธิ์มีบ้านเลย"


ครูนอกกะลากับห้วงเวลาแห่งการข้ามภูเขาชีวิต - วิเชียร ไชยบัง
 "ผมมองสิ่งที่ไม่รู้เหมือนภูเขา
ที่ต้องปีนข้ามไป 
ความรู้สึกอยากพิชิตมัน
ไม่ได้มาจากความทะยานอยากจะเอาชนะใคร 
แต่มาจากฉันทะข้างในที่อยากเอาชนะความไม่รู้ของตัวเอง"


อนันต์ ศรีเรือง - คน เรา เขา และจักรยาน
 "ตั้งใจไปซื้อจักรยานแบบมีเกียร์มาขี่ 
ตอนนั้นสิบปีที่แล้วไปถึงร้านจักรยานปรากฏว่าคันละสองหมื่นห้า 
สองคันห้าหมื่น ไม่ไหว 
เพื่อนบอกแพงเกินไป 
เลยได้รองเท้าผ้าใบคู่ละสองร้อยยี่สิบบาทมาแทน!"

.............................................

" อยากจะพูดถึงเรืองที่ไม่เกี่ยวกับหนังสือ 'คน(ไม่)ธรรมดา' เล่มนี้โดยตรง แต่เกี่ยวเนื่องและคิดว่าเป็นเป้าหมายของผู้สัมภาษณ์ที่เรียบเรียงเรื่องนี้มาเผยแพร่ให้ท่านผู้อ่าน นั่นคือ คำว่า จิตวิญญาณนั้น ในที่นี้มีความหมายอย่างไร---ตอบได้ดังนี้
    หนึ่ง คำว่าจิตวญญาณ หรือที่ผมใช้ว่าธรรมจิต (แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า spirituality) ที่ทุกวันนี้เราใช้กันเกร่อ หรือเข้าใจกันแม้ในกลุ่มจิตวิวัฒน์นำมาใช้นั้น คงจะมีความหมายเดียวกับจิตวิญญาณ ความจริงนั่นเป็นคำที่ทางตะวันตกนำมาใช้โดยเฉพาะนักจิตวิทยาและนักศาสนศาสตร์ เราเพียงยืนมาใช้โดยแปลคำภาษาอังกฤษนั้นว่า จิตวิญญาณ โดยมิใด้คำนึงถึงคำแปลในภาษาไทยตามที่มีไว้ในปทานุกรมในปัจจุบันมากนัก เพราะในปทานุกรมแปลภาษาอินเดียโบราณเป็นภาษาไทยทั้งสองคำว่า จิต ซึ่งเหมือนกัน ดังนั้นคำว่าจิตวิญญาณ หากจะแปลกับตีความหมายต่างกัน อย่าลือว่าภาษาบาลีก็ใช้คำว่าวิญญาณ ที่หมายถึงความจริงแท้ที่มีเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งคือปรมัตหรืออันติมะก็ได้
    สอง สภาวะจิตวิญญาณนั้น เป็นสภาวะของจิตเช่นเดียวกันกับสภาวะจิตเหนือสำนึก(super conscious mind) ที่มีความหมายเดียวกัน ซึ่งทางวิชาการตะวันตกใช้กัน ก็ไม่ใช่ศาสนาเลยแม้แต่น้อยทั้งยังมาก่อนจะมีศาสนาด้วย แท้จริงแล้ว คำว่า จิตวิญญาณ โดยความหมายนั้น มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์โบราณคดีว่า มีมาตั้งแต่มนุษย์ยังเป็นโครมายอง หรือมีก่อนหน้านั้นไปเสียอีก แต่ก็มาสัมพันธ์คาบเกี่ยวกันในตอนหลัง
     สาม คำว่าจิตวิญญาณ(spirituality) เมื่อมีหลักฐานว่ามีมาก่อนศาสนานัก จึงไม่เกี่ยวกับศาสนาใดเป็นการเฉพาะ แต่ผมคิดว่า ศาสนาทุกศาสนา มีเป้าหมายที่จิตวิญญาณ เพราะฉะนั้นศาสนากับจิตวิญญาณจึงเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยศาสนาจะเป็นประดุจเรือหรือพาหนะที่นำจิตวิญญาณสู่เป้าหมายที่จริงแล้ว ผมเชื่อว่า จิตวิญญาณคือเป้าหมายของมนุษย์ทุกคนในโลกด้วยซ้ำ ดั่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในทำนองว่า สุดท้ายแล้ว สัตว์โลกทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์ทุกคนก็จะได้ตัรสรู้ หรือบรรลุสู่นิพพาน"

คำนิยม
ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น