มุมมองสะท้านรากฝังลึก
เมื่อฉันยังเป็นเด็ก
ฉันถามแม่ว่า
โตขึ้นฉันจะเป็นเช่นไร
จะสวย จะร่ำรวยไหม
แม่ตอบว่าQue sera, sera
อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด
อนาคตคือสิ่งที่มองไม่เห็น
Que sera, seraอะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด
เมื่อฉันยังเป็นเด็ก
ฉันถามแม่ว่า
โตขึ้นฉันจะเป็นเช่นไร
จะหล่อ จะร่ำรวยไหม
แม่ตอบว่าQue sera, sera
อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด
อนาคตคือสิ่งที่มองไม่เห็น
Que sera, sera
ทุกชีวิตมีคุณค่า เติมเต็มทุกชีวิตแรกเกิดให้มีคุณค่าทัดเทียม ไม่ว่าอนาคตของการคลอดจะออกมาเป็นอย่างไร จะสมบูรณ์ จะอัจฉริยะ หรือ จะด้อยโอกาสก็ตาม เป็นการตอกย้ำ The value added of living
การตั้งคำถามให้ได้ฉุกคิดถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงและอาจไม่แน่นอน
บวกกับการสะท้อนทัศนคติชีวิตที่แตกต่างให้ดีที่สุดด้วยวิธีการและเนื้อหาที่เรียบ ง่ายที่สุด
เรื่องราวเริ่มต้นที่งานแสดงดนตรีของโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งนำเสนอผ่าน เด็กอายุประมาณ 5 ขวบ จำนวน 30 คน ทั้งชายและหญิงที่กำลังตั้งใจร้องเพลง Que Sera Sera ต่อหน้าพ่อแม่ของพวกเขา
เนื้อหาของเพลงเป็นการตั้งคำถามอันบริสุทธิ์ของเด็กที่มีต่อคุณแม่ ซึ่งไม่ว่าคำถามจะถูกถามว่าอะไร คำตอบที่ได้รับคือ “อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด อนาคตคือสิ่งที่มองไม่เห็น อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด” ภาพจะค่อย ๆ ถูกเฉลยมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงลักษณะของเด็กแต่ละคนที่สมบูรณ์และพิการแต่แววตาใสบริสุทธิ์ ควบคู่ไปกับคุณแม่ที่บ้างก็มีสีหน้าและแววตาที่ลุ้นลูก ประทับใจลูก หรือแม้แต่เป็นห่วงลูก เรื่องราวได้ดำเนินไปสู่ความนึกคิด การตั้งคำถามกับความจริงของชีวิตบนโลกใบนี้
ภาพตัดสลับไปรับกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 5-6 เดือนท่านหนึ่ง กำลังใช้มือกุมท้อง ข้อความ “ชีวิตเกิดมาแตกต่างแต่ดูแลให้ดีที่สุดได้ “จงมองให้เห็นคุณค่าของทุกชีวิต”
เพียงแต่เรามุุ่งหวังที่จะสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อวิถีการเรียนรู้ โอกาสที่เราท่านทั้งหลายร่วมกันสร้าง
"ชีวิตเกิดมาแตกต่าง แต่ดูแลให้ดีได้"
จาก Que sera, sera สู่ หนังสั้น "เหมือนฝันร้ายที่หลอกหลอน"
เสมือนฝันร้ายที่หลอกหลอน
: คมทวน คันธนู
เรื่อง ราวระหว่างเพื่อนสองคน ใช้ชีวิตด้วยกันมาตั้งแต่สมัยเรียน หากแต่นิสัยสองคนต่างกันอย่างสิ้นเชิง คนหนึ่งจริงจังกับชีวิต แต่อีกคนขี้เกียจตัวเป็นขน และ “เฉื่อย” สมชื่อ เพื่อนผู้จริงจังกับชีวิตคาดหวังว่า ชีวิตของ เฉื่อย จะดีขึ้นหากได้เข้าใจทฤษฎีการเมือง การต่อสู้เพื่อความเสมอภาค เขาสรรหาหนังสือ ถ้อยคำ ทฤษฎีต่าง ๆ มาเล่าสู่เพื่อนฟัง แต่ เฉื่อย ยังมีนิสัยเฉื่อยชา วันยังค่ำ อย่าว่าแต่อ่านหนังสือเลย ห้องหอที่เขาหลับนอนยังรกรุงรัง แม้จะเปลี่ยนชื่อให้เป็น “คล่องศักดิ์” แต่ความเฉื่อยชายังมีอยู่ แม้จะแต่งงานมีเมียไปแล้ว นิสัยของเฉื่อยยังคงเหมือนเมื่อตอนเรียนมัธยม จนเป็นโรคตายไปเสียเฉย ๆ กระทั่ง เพื่อนผู้จริงจังกับชีวิตมาพบความจริงว่า แท้ที่จริงชีวิตมันก็เป็นอย่างนี้นี่เอง ก็เมื่อเขามีเมียที่ขี้เกียจเหมือนเฉื่อย และเมียเขาคนนี้ ก็คือเมียของเฉื่อยที่ฝากไว้ก่อนตายรากที่หยั่งลึกในตัวตนของชีวิต สองความต่างที่ทำให้เราได้เรียนรู้
We cannot direct the wind, but we can adjust the sails.
เราไม่สามารถกำหนดทิศทางลมได้เอง แต่เราสามารถปรับใบเรือได้
Bertha Calloway
ครอบครัวหนึ่งในชนบทมีฐานะยากจนข้นแค้นมาก
ตอบลบวันหนึ่งผู้เป็นแม่ส่งลูกชายเข้ากรุงโดยทางรถไฟ สมัยนั้นเด็กอายุต่ำกว่าสิบสองขวบขึ้นรถไฟโดยเสียเงินเพียงครึ่งราคา ในวันที่แม่พาเด็กขึ้นรถไฟ เด็กน้อยอายุเกินสิบสองขวบมาได้เพียงวันเดียว ทว่านางซื้อตั๋วเต็มราคาให้เด็กทั้งที่เงินมีจำกัด ผู้เป็นแม่พูดกับลูกชายว่า..
“ลูกเอ๋ย นี่คือตั๋วรถไฟกับความจริง เก็บมันใส่กระเป๋าเถิด ไม่มีใครรู้หรอกว่าลูกอายุเกินสิบสองขวบมาหนึ่งวัน มีแต่ลูกเท่านั้นที่รู้ เสียเงินเพราะความสัตย์ดีกว่าได้เงินไม่กี่บาทเพราะหลอกลวงเขา...”