ผมได้อ่านบันทึกของหมอวิจารย์ แล้วรู้สึกว่าอาจจะเป็นประโยชน์แก่ครู..
ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เกิดขึ้นเองในตัวเด็กเมื่อจัดการเรียนรู้แบบ active learning ให้เด็กลงมือทำ ตามด้วยการคิดไตร่ตรอง(reflection)
ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องทำหน้าที่จัดการการเรียนรู้ของศิษย์ มากกว่าทำหน้าที่สอนอย่างในอดีตความรู้ที่นักเรียนต้องเรียนอยู่ใน อินเทอร์เน็ตไม่ใช่อยู่ในหัวครู หรือในตำราเล่มใดเล่มหนึ่ง อีกต่อไป
กล่าวอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่า ความรู้ด้านเนื้อหาวิชาไม่มีความสำคัญในการทำหน้าที่ครูเนื้อความรู้สำคัญยิ่งต่อครูแต่ความเอาใจใส่ศิษย์สำคัญยิ่งกว่าเอาใจใส่กระบวนการเรียนรู้ของศิษย์ที่ศิษย์พัฒนาการเรียนรู้ขึ้นภายในตนเองเป็นสุดยอดการทำหน้าที่ของครู
ครูต้องทำงานร่วมกับ “ภาคีนักการศึกษา” (co-educator) ที่หลากหลาย (ตามที่ระบุใหนบันทึกที่แล้ว) จากนอกโรงเรียน มาช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์เพื่อให้ศิษย์ได้เรียนรู้แบบลงมือทำ (active learning) เป็นหลัก
ต่อไปนี้เป็นทักษะของครูในศตวรรษที่ ๒๑ ที่หนังสือเล่มนี้เสนอ
ความเข้าใจว่า การเรียนรู้แบบโครงงานที่จริงจัง จะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจระดับลึก ที่นักเรียนจดจำไปนาน
ความสามารถจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน ให้เกิดการเรียนรู้/ทำงาน แบบร่วมมือกันเป็นกลุ่มมากกว่าต่างคนต่างเรียน/ทำงาน
ความรู้ความเข้าใจว่า เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมการเรียนรู้อย่างไรโดยครูไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องเทคโนโลยีทั้งหมด
ความสามารถในการทำงาน เป็น “ทีมจัดการเรียนรู้” กับผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ กับเพื่อนครู และกับพ่อแม่ ทั้งโดยการพบหน้ากัน และโดยความร่วมมือผ่านช่องทาง ออนไลน์
ริเริ่มการหาทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อสร้างความมีชีวิตชีวาในห้องเรียนเช่น ทรัพยากรการเรียนรู้ ออนไลน์สถานที่เรียนรู้ในพื้นที่ (เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ บริษัท โรงละคร/ภาพยนตร์ มหาวิทยาลัย ป่าสงวนแห่งชาติ ฯลฯ)
ริเริ่มการพัฒนาตนเอง และเพื่อนครู (Professional Development) พัฒนาเป็นชุมชน การเรียนรู้ของครู (PLC – Proefessional Learning Community) โดยมีความยืดหยุ่นต่อปัจจัยต่างๆ ในโรงเรียน และในเขตพื้นที่การศึกษา
ความสามารถในการแสวงหาความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากศิษย์ ในการพัฒนา Technology-Based Learning ให้แก่ศิษย์
เข้าใจว่า การเชื่อมโยงปัจจัยด้าน สังคม-อารมณ์ มีความสำคัญต่อการเรียนรู้เนื้อหาวิชา ของศิษย์
มีไฟในการจัดการเรียนรู้แก่เด็กและวัยรุ่น ในสภาพความสัมพันธ์ที่เอาใจใส่เมตตากรุณา
หนังสือเล่มนี้เสนอคุณวุฒิของผู้จะมาเป็นครู
""" หมอวิจารย์ตีความจากการอ่านหนังสือ Education Nation : Six Leading Edges of Innovation in Our Schools เขียนโดย Milton Chen
...........................................................................
ดูเพื่อเรียนรู้ อาจจะได้นำไปใช้ในบางเหตุการของ "ครู" นะครับ
ความสามารถจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน ให้เกิดการเรียนรู้/ทำงาน แบบร่วมมือกันเป็นกลุ่มมากกว่าต่างคนต่างเรียน/ทำงาน
ความรู้ความเข้าใจว่า เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมการเรียนรู้อย่างไรโดยครูไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องเทคโนโลยีทั้งหมด
ความสามารถในการทำงาน เป็น “ทีมจัดการเรียนรู้” กับผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ กับเพื่อนครู และกับพ่อแม่ ทั้งโดยการพบหน้ากัน และโดยความร่วมมือผ่านช่องทาง ออนไลน์
ริเริ่มการหาทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อสร้างความมีชีวิตชีวาในห้องเรียนเช่น ทรัพยากรการเรียนรู้ ออนไลน์สถานที่เรียนรู้ในพื้นที่ (เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ บริษัท โรงละคร/ภาพยนตร์ มหาวิทยาลัย ป่าสงวนแห่งชาติ ฯลฯ)
ริเริ่มการพัฒนาตนเอง และเพื่อนครู (Professional Development) พัฒนาเป็นชุมชน การเรียนรู้ของครู (PLC – Proefessional Learning Community) โดยมีความยืดหยุ่นต่อปัจจัยต่างๆ ในโรงเรียน และในเขตพื้นที่การศึกษา
ความสามารถในการแสวงหาความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากศิษย์ ในการพัฒนา Technology-Based Learning ให้แก่ศิษย์
เข้าใจว่า การเชื่อมโยงปัจจัยด้าน สังคม-อารมณ์ มีความสำคัญต่อการเรียนรู้เนื้อหาวิชา ของศิษย์
มีไฟในการจัดการเรียนรู้แก่เด็กและวัยรุ่น ในสภาพความสัมพันธ์ที่เอาใจใส่เมตตากรุณา
หนังสือเล่มนี้เสนอคุณวุฒิของผู้จะมาเป็นครู
""" หมอวิจารย์ตีความจากการอ่านหนังสือ Education Nation : Six Leading Edges of Innovation in Our Schools เขียนโดย Milton Chen
...........................................................................
ดูเพื่อเรียนรู้ อาจจะได้นำไปใช้ในบางเหตุการของ "ครู" นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น