5 ต.ค. 2552

ทฤษฎีการเรียนรู้

mixthepix_iii_mixthepix_i_tools_copy.jpgทฤษฎีการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส

เชื่อว่าแนวคิดนี้ จะพัฒนาให้คนสมบูรณ์ โดยเน้นด้านร่างกาย จิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึก นั่นคือเด็กจะต้องมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงสวยงาม ด้วยการส่งเสริมให้ออกกำลังกาย รวมถึงการพัฒนาด้านอารมณ์ และสติปัญญาควบคู่ไปด้วย เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายความเป็นคนที่สมบูรณ์ กิจกรรมของนีโอฮิวแมนนิสจะต้องสอดคล้องกับหลัก4 ข้อคือ คลื่นสมองต่ำ การประสานของเซลล์สมอง ภาพพจน์ต่อตนเอง และการให้ความรัก

red_atom_copy.jpg

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวอลดอร์ฟ

เน้นการศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ไม่ใช่ให้มนุษย์ยึดตนเอง แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ ปรัชญาเน้นความสำคัญของการสร้างความสมดุลใน 3 วิถีทาง คือ กาย ใจและสติปัญญา (HAND-HEART-HEAD) ของเด็กที่แตกต่างกันตามวัย ดังนั้นการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงยึดหลักการทำซ้ำ เด็กควรได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนการกระทำนั้นซึมลึกลงไปในกายและจิตจนเป็นนิสัย

blockdevice_copy.jpg

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่

จุดเด่นของมอนเตสซอรี่คือ การให้เด็กเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ อุปกรณ์แต่ละชิ้นมีจุดมุ่งหมายการใช้เฉพาะ

ทุกชิ้นผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเด็กชอบ สนใจ และเหมาะกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็ก ครอบคลุมหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กวัย 3-6 ปีที่มอนเตสซอรี่กำหนดไว้ทั้ง 3กลุ่มหลักคือ การจัดการศึกษาทางด้านทักษะกลไก การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส และ การเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์

pack_office_3d_v2_copy.jpg

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบไฮสโคป

คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญ ในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำหมายถึงการเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทำกับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั้งสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบลงมือกระทำได้แก่ การเลือกและการตัดสินใจ สื่อ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ภาษาจากเด็ก และการสนับสนุนจากผู้ใหญ่

msn_messenger_28_copy.jpg

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเรกจิโอ เอมีเลีย

เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนามาจากความเชื่อที่ว่าการเรียนการสอนนั้นไม่ใช่การถ่ายโอนข้อมูลความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจ และบทบาทของครูจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจได้อย่างเต็มศักยภาพของเด็ก การปฏิบัติในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย คือ วิธีการมองเด็ก โรงเรียน ครูและเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน

rings_copy.jpg

การสอนภาษาโดยองค์รวม (Whole Language Approach)

เกิดจากแนวความคิดของนักการศึกษาและนักภาษาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่ชี้ให้เห็นความสำคัญของการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาการคิดและภาษาของเด็กในบริบททางสังคมวัฒนธรรม การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ตอบสนองธรรมชาติ และเหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย หลักการเหล่านี้เมื่อนำมาเป็นแนวคิดในการปรับเปลี่ยนการสอนภาษา จะทำให้เด็กมีความสนใจเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ภาษาได้ดีขึ้นเพราะสิ่งที่เรียนมีความหมายและไม่เกิดความรู้สึกว่าการเรียนภาษาเป็นเรื่องยากลำบาก

illustratorsz_copy.jpg

การเรียนการสอนแบบโครงการ (The Project Approach)

คือ การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ จุดเด่นของโครงการคือความพยายามที่จะค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง ไม่ว่าคำถามนั้นจะมาจากเด็กหรือจากครู หรือจากครูร่วมกับเด็กก็ตาม จุดประสงค์ของโครงการคือการเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่อง มากกว่าการเสาะแสวงหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคำถามที่ครูเป็นผู้ถาม งานโครงการจะไม่แยกเป็นรายวิชา แต่จะบูรณาการทุกวิชาเข้าด้วยกัน

send_copy.jpg

MATAL โปรแกรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล

เป็นโปรแกรมที่จัดการเรียนการสอนให้เด็กเป็นศูนย์กลางมุ่งให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัว เกิดความรู้สึกที่เชื่อมโยงตนเองกับสังคมสิ่งแวดล้อมต่างๆ โปรแกรมนี้จัดขึ้นอย่างมีเป้าหมายเชิงพฤติกรรมและทัศนคติซึ่งก่อให้เกิดการเรียนการสอนในเชิงสร้างสรรค์ โปรแกรมนี้ช่วยให้การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยกลายเป็นเรื่องง่ายและส่งเสริมการเรียนเรื่องที่ซับซ้อนได้มากขึ้น

encarta62272_copy.jpg

หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

ประเทศไทยเรายังไม่มี ทฤษฎีหรือหลักการในการพัฒนาเด็ก ที่พัฒนาขึ้นจากฐานข้อมูลที่มาจากเด็กไทย และบริบททางสังคมและ วัฒนธรรมไทย ดังนั้นคณะกรรมการวิจัย จึงได้พยายามศึกษาและผสมผสานความรู้ตามหลักสากลกับภูมิปัญญา วิถีชีวิตและระบบคุณค่าของสังคมไทยเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ได้หลักการและรูปแบบในการพัฒนาเด็กไทยให้มีคุณภาพ โดยปัจจุบันคณะผู้วิจัยกำลังดำเนินการต่อเนื่องเป็นโครงการที่ 7 เพื่อติดตามผลการใช้รูปแบบ การพัฒนา เด็กปฐมวัย ตามวิถีชีวิตไทยต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น