13 ต.ค. 2552

ความรุนแรงของพายุ


พายุกิสนาที่เพิ่งผ่านไปเมื่อช่วงวันที่ 28 กันยายน -1 ตุลาคม 2552 นั้น สร้างความเสียหายให้กับประเทศฟิลิปปินส์อย่างมากมาย ดังภาพที่เห็นนี้

หลัง จากไต้ฝุ่นกิสนาที่มีความเร็วลมถึง 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้พัดถล่มพื้นที่ทางตอนกลางของฟิลิปปินส์ และเวียดนามไปแล้วซึ่งสร้างความสูญเสียต่อทั้งชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนทั้งสองประเทศเป็นจำนวนมากด้วยความเร็วของกระแสลมและ ปริมาตรของน้ำฝนจำนวนมหาศาลที่ตกลงมา รวมไปถึงทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันขึ้นในหลายพื้นที่ทางตอนบนและพื้นที่แถบ ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในบริเวณที่แนวพายุกิสนาได้พัดผ่านไปแล้ว นั้น ก็ยังคงมีพายุที่พัฒนาตัวเองขึ้นจนมีความแรงในระดับไต้ฝุ่นอีกถึงสองลูกที่ มีทิศทางมายังบริเวณอ่าวตังเกี๋ยและอาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยได้ หากเกิดการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวเนื่องจากกระแสลมประจำฤดูในช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน 2552 นี้
จากการเฝ้าติดตามการก่อตัวและการพัฒนารวมไปถึงการเคลื่อนตัวของพายุ Parma และ พายุ Melor ในช่วงที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ พายุ Parma ซึ่งขณะนี้ลดความรุนแรงลงเป็นพายุโซนร้อนแล้วและมีความเร็วลมที่ จุดศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยมีทิศทางอยู่ในบริเวณใกล้กับเกาะไหหลำและเกาะไต้หวัน อาจจะทวีกำลังแรงขึ้นกลับเป็นพายุไต้ฝุ่น Parma ขึ้นอีกครั้งเนื่องจากอุณหภูมิของน้ำทะเลในบริเวณนั้นมีความเหมาะสม (อุณหภูมิของน้ำทะเลที่จะกลายเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีของพายุไต้ฝุ่นจะอยู่ ที่ประมาณ 26 องศาเซลเซียส) โดยมีจุดศูนย์กลางปกคลุมในทะเลระหว่างเกาะไต้หวันและเกาะลูซอนของประเทศฟิ ลิปินส์และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่เพียงแต่ว่าพายุไต้ฝุ่น Parma ลูกนี้จะเปลี่ยนทิศทางไปทางไหน? ตอนนี้เท่าที่ลองวิเคราะห์ภาพถ่ายทิศทางการเคลื่อนตัวของไต้ฝุ่น Parma และไต้ฝุ่น Melor จากดาวเทียมตรวจอากาศจะมี 2 ทิศทางที่อาจมีความเป็นไปได้คือ
1. พายุโซนร้อน Parma จะเคลื่อนที่ตามพายุไต้ฝุ่น Melor ที่มีกำลังแรงมากกว่าโดยพายุไต้ฝุ่น Melor จะดูดเอามวลของพายุโซนร้อน Parma และเคลื่อนที่ไปที่ประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากขณะนี้ร่องความกดอากาศสูงที่จะ เป็นตัวดันให้พายุเบี่ยงเบนทิศทางลงมาด้านล่างซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อประเทศ ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกับไต้ฝุ่นกิสนายังคงมีกำลังไม่แรงมากนัก เนื่องจากอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว ร่องความกดอากาศสูงที่จะเป็นตัวดันเอาทิศทางของไต้ฝุ่นให้เคลื่อนตัวไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงใต้จึงยังคงมีกำลังอ่อนอยู่
2. พายุโซนร้อน Parma จะขาดจากการดูดกลืนมวลของพายุไต้ฝุ่น Melor เนื่องจากพายุไต้ฝุ่น Melor ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่กว่าและมีการเคลื่อนตัวค่อนข้างเร็วซึ่งอาจทำให้มันอยู่ ห่างจากพายุ Parma มากเกินไปจนทำให้พายุโซนร้อน Parma ขาดจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่น Melor จึงเป็นเหตุให้พายุโซนร้อน Parma เคลื่อนที่ลงมาที่ทะเลจีนใต้โดยอาจมีทิศทางที่คล้ายคลึงกับไต้ฝุ่นกิสนาก็ อาจเป็นได้ ซึ่งจากเหตุผลทั้ง 2 ข้อที่กล่าวมาแล้วเหตุผลข้อที่ 2 น่าจะมีเปอร์เซ็นต์มากกว่าข้อที่ 1 แต่อย่างไรก็ตามในช่วง 2 วันนี้พายุโซนร้อน Parma จะไม่เคลื่อนที่ไปไหนโดยจะมีศูนย์กลางปกคลุมในทะเลระหว่างเกาะไหหลำ เกาะไต้หวันและเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปินส์หรือบริเวณใกล้เคียงกันนี้
พายุไต้ฝุ่นทั้ง 2 ลูกนี้อยู่ในบริเวณที่มีความใกล้เคียงกันทั้งสภาวะของบรรยากาศ อุณหภูมิโดยรอบของฐานพายุและระดับของอุณหภูมิน้ำทะเล แต่พายุไต้ฝุ่น Melor ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางและขนาดที่ใหญ่กว่าพายุโซนร้อน Parma จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็น Super Typhoon ( มีความเร็วลมรอบจุดศูนย์กลางตั้งแต่ 135kts ขึ้นไปหรือประมาณ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) และพายุไต้ฝุ่น Melor อยู่ที่ลัดติจูดค่อนข้างสูงหรืออยู่ค่อนข้างไปทางเหนือจะมีแนวโน้มเคลื่อน ที่ไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่บริเวณทางตอนใต้ของเกาะญี่ปุ่น ส่วนการที่พายุไต้ฝุ่น Melor จะมีการถ่ายเทพลังงานกันกับพายุโซนร้อน Parma นั้นก็อาจเกิดขึ้นได้ตามปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ฟูจิวาร่าเอ็กเฟ็คที่ทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานของพายุทั้งสองลูกนี้ ซึ่งพายุไต้ฝุ่น Melor อาจจะดึงให้พายุโซนร้อน Parma เคลื่อนตัวขึ้นไปทางทิศเหนือตามไปด้วย ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พายุโซนร้อน Parma ลดความเร็วลมลงจากไต้ฝุ่นระดับที่สามจนในขณะนี้กลายเป็นพายุโซนร้อนที่มี ความเร็วลมประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและแทบจะไม่เคลื่อนตัวเลยเกิดจากความกดอากาศสูงหรือมวล อากาศเย็นในบริเวณทะเลจีนใต้ทำให้ Parma ยังคงมีกำลังของลมรวมไปถึงทิศทางการเคลื่อนตัวที่ไม่แน่นอน แต่ถ้าหากว่ามวลอากาศเย็นในบริเวณที่พายุโซนร้อน Parma เคลื่อนตัวอยู่อ่อนกำลังลงก็มีความเป็นไปได้ว่ามันอาจกลายสภาพกลับมาเป็น ไต้ฝุ่นที่มีกำลังไม่แตกต่างไปจากไต้ฝุ่นกิสนามากนักและอาจกลับมาส่งผลกระทบ ถึงประเทศไทยได้เช่นกัน
ย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดชุมพรกับเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งร้าย แรงที่สุดที่ไต้ฝุ่นได้กระทำต่อพื้นที่ในบริเวณนั้นกันครับพายุไต้ฝุ่นเกย์ (อังกฤษ: Typhoon Gay)ถือเป็นพายุไต้ฝุ่นลูกแรกที่พัดเข้าสู่ประเทศไทย(ไม่นับพายุโซนร้อนแฮ เรียตที่พัดถล่มแหลมตะลุมพุก)โดยเริ่มก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นในอ่าว ไทยตอนล่างในวันที่ 1พฤศจิกายน พ.ศ. 2532จากนั้นก็เคลื่อนตัวขึ้นเหนือและมีกำลังรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและ พายุไต้ฝุ่นตามลำดับ โดยใช้เวลาในการพัฒนาตัวเองเพียงแค่ 3 วัน วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2532 เวลา 08.30 น.พายุไต้ฝุ่นเกย์เคลื่อนเข้าสู่ชายหาดบริเวณภาคใต้ตอนบนด้วยความเร็วลมถึง 118กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเข้าถล่มอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ บางสะพานน้อยและอำเภอบางสะพาน ก่อนขึ้นฝั่งที่อำเภอท่าแซะ และปะทิวจังหวัดชุมพรซึ่งทำให้เกิดคลื่นพายุซัดฝั่งที่อำเภอบางสะพานน้อย บางสะพาน ท่าแซะและ ปะทิว พายุไต้ฝุ่นเกย์เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็วผ่านประเทศพม่า ก่อนจะพัดออกสู่ทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียและอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน พอถึงวันที่ 6 พฤศจิกายนก็ทวีกำลังขึ้นใหม่อีกครั้งเนื่องจากอุณหภูมิของน้ำทะเลในมหาสมุทร อินเดียมีความเหมาะสมโดยอยู่ที่ประมาณ 26 องศาเซลเซียส แล้วพัดถล่มหมู่เกาะอันดามันและเคลื่อนขึ้นสู่ชายฝั่งของประเทศอินเดียในวัน ที่ 8 พฤศจิกายนด้วยความรุนแรงสูงสุดที่ระดับ 5 (สูงกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)และสลายตัวไปในวันที่ 10 พฤศจิกายน
การเฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศรวมไปถึงการพยากรณ์และคาดการณ์ การเคลื่อนตัวของพายุในฤดูกาลนี้มีความจำเป็นมากเนื่องจากสภาวะการณ์ที่เกิด ขึ้นจากสาเหตุของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆตามมา อีกมาก ความเร็วลมของพายุที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมาก ขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิตและพื้นที่อยู่อาศัยในบริเวณ ที่ประสบภัยพิบัตจากพายุ
หากเกิดภัยพิบัติร้ายแรงขึ้นมาในประเทศไทยจริงๆ อดสงสัยไม่ได้ว่าเราคนไทยจะร่วมแรงร่วมใจกัน โดยไม่แบ่งสีแบ่งฝ่าย ช่วยเหลือประคับประคองกันจนผ่านวิกฤติไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่?

ข้อมูลบางส่วนจาก ไทยรัฐ

4 ความคิดเห็น:

  1. อยู่บ้านเรานี้ปลอดภัยสุดๆๆ แล้วค่ะ

    คนไทยต้องรักกัน...
    รักกันไว้เถิด...
    เราเกิดชาติเดียวกัน....

    ตอบลบ
  2. น่ากลัวแต่ก็ต้องเตรียมตัวแต่เนิ่นๆค่ะ

    ตอบลบ
  3. วันนี้...ตอนนี้...ขณะนี้...ที่เรามีชีวิตอยู่
    อยากทำอะไรก็ทำ..หากสิ่งนั้นไม่ทำตัวเองและคนอื่นเดือดร้อน
    อยากบอกรักใครก็บอก..หากมันทำให้เรารู้สึกดี
    เพราะไม่รู้ว่าวินาทีต่อไป เราจะมีโอกาสได้ทำหรือพูดในสิ่งเหล่านี้หรือไม่?

    "ทุกอย่างในโลกนี้...ล้วนไม่เที่ยง" ใช่ไหมคะพี่แสง

    ตอบลบ